Connect to DB
  หัวข้อ : "คุณภาพชีวิตของสาวโรงงาน"
  เหตุผลและที่มาของการสำรวจ :.
              ด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงานแห่งชาติ อันเป็นโอกาสสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจะได้หันมา
ใส่ใจถึงคุณค่าของผู้ใช้แรงงาน กลุ่มคนผู้ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงจำนวนไม่น้อยที่กระจายอยู่ตามโรงงานต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้
มักตกเป็นผู้เสียเปรียบและด้อยโอกาสในหลายๆ ด้าน นับตั้งแต่ด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ รายได้ รวมถึงการใช้ชีวิต
อย่างมีคุณภาพทัดเทียมบุคคลในอาชีพอื่น ในโอกาสดังกล่าวศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงได้ดำเนินการสำรวจ ข้อมูลเกี่ยวกับ
คุณภาพชีวิต ของสาวโรงงานในปัจจุบันขึ้นเพื่อเป็นช่องทางสะท้อนภาพเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก ปัญหา และความต้องการ
ของสาวโรงงานให้ผู้เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวตของสาวโรงงานให้มีคุณภาพ
ทัดเทียมบุคคลในอาชีพอื่นต่อไป
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :.
 

            เพื่อทราบความคิดเห็นของสาวโรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับ
               1. ความพึงพอใจต่องานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
               2. อาชีพที่อยากทำมากที่สุด
               3. ปัญหาสำคัญที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน
               4. ภาระหนี้สินและสาเหตุที่ก่อให้เกิดหนี้
               5. ความพึงพอใจต่อรัฐบาลในการดูแลแก้ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานไทย
               6. ข้อเรียกร้องที่สาวโรงงานฝากถึงรัฐบาล

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                 การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างสาวโรงงานที่ทำงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,082 คน
               กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 4.0 มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 39.8 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 34.9 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี
ร้อยละ 15.9 มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี และร้อยละ 5.4 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
               สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 10.3 มีการศึกษาต่ำกว่าประถม 6 ร้อยละ 29.8 ประถม 6 ร้อยละ 28.5
มัธยมต้น ร้อยละ 24.9 มัธยมปลาย/ปวช. ร้อยละ 4.1 ปวส./อนุปริญญา และร้อยละ 2.4 ปริญญาตรี
               ส่วนสถานภาพสมรสของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 48.3 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 41.6 สมรส ร้อยละ 7.8 หย่าร้าง/ แยกกันอยู่
และร้อยละ 2.3 หม้าย
               สำหรับภูมิลำเนาเดิมของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.2 มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ร้อยละ 20.7 มาจากภาคกลาง
ร้อยละ 7.1 มาจากภาคตะวันออก ร้อยละ 13.3 มาจากภาคเหนือ ร้อยละ 44.5 มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 3.2 มาจากภาคใต้
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : .การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
                                        ในเรื่อง "คุณภาพชีวิตของสาวโรงงาน"
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : . 22 - 25 เมษายน 2548
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 29 เมษายน 2548
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
  ผลการสำรวจ :
 
             1. เมื่อสอบถามถึงความพอใจต่องานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ คือร้อยละ 59.7 ค่อนข้างพอใจ
ร้อยละ 17.8 พอใจมาก ขณะที่ร้อยละ 20.2 ไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 2.3 ไม่พอใจเลย
                 อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าอาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นอาชีพที่อยากทำมากที่สุดหรือไม่ พบว่ามีเพียงร้อยละ
18.7 ที่ตอบว่าอาชีพสาวโรงงานเป็นอาชีพที่อยากทำมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 81.3 ตอบว่าไม่ใช่ โดยในจำนวนนี้ระบุว่า
อาชีพที่อยากทำมากที่สุดได้แก่ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 44.5) รองลงมาคือช่างเสริมสวย/ช่างตัดเสื้อ (ร้อยละ 17.7)
พนักงานบริษัท (ร้อยละ 13.4) ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 11.0) ดารา/นักร้อง (ร้อยละ 6.7) เกษตรกร (ร้อยละ 3.1)
พนักงานร้านอาหาร/ห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 2.2) และอื่นๆ อีกร้อยละ 1.4
               2. เมื่อถามว่าอยากกลับไปทำงานใช้ชีวิตยังภูมิลำเนาเดิมหรือไม่ พบว่า สาวโรงงานถึงร้อยละ 65.7
อยากกลับไปทำงานใช้ชีวิตยังภูมิลำเนาเดิม
ในขณะที่ ร้อยละ 34.3 ไม่อยากกลับ
              3. สำหรับปัญหาหนักที่สุดที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 42.1)
ร องลงมาคือ ขาดสวัสดิการที่ดี (ร้อยละ 13.4) มีภาระต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัว (ร้อยละ 7.1) งานหนักเกินไป (ร้อยละ 6.5)
ปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 4.2) ปัญหาเรื่องการเดินทาง (ร้อยละ 3.7) ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (ร้อยละ 3.2) ถูกเอาเปรียบ
ค่าแรง (ร้อยละ 3.0) และปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน (ร้อยละ 1.8) ขณะที่อีกร้อยละ 15.0 ระบุว่าไม่มีปัญหาหนักใจใดๆ
 
             4. เมื่อถามถึงประเด็นเกี่ยวกับหนี้สิน พบว่ามีสาวโรงงานเพียงร้อยละ 38.0 ที่ไม่มีภาระด้านหนี้สิน ขณะที่ส่วนใหญ่
คือร้อยละ 62.0 มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน
โดยในจำนวนนี้เป็นหนี้สินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในครอบครัว
(ร้อยละ 43.5) ค่าผ่อนบ้าน/ผ่อนรถ (ร้อยละ 19.6) ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเล่าเรียน (ร้อยละ 17.7) ปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 6.0)
การลงทุนที่ผิดพลาด (ร้อยละ 4.9) ค่าเสื้อผ้าเครื่องสำอางค์ (ร้อยละ 4.2) และหนี้สินจากการพนัน/อบายมุข (ร้อยละ 4.1)
 
             5. สำหรับความพึงพอใจต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการดูแลแก้ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้
แรงงานไทย พบว่า ร้อยละ 57.4 ค่อนข้างพอใจ
ร้อยละ 20.6 พอใจมาก ขณะที่ ร้อยละ 19.2 ไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 2.8
ไม่พอใจเลย
 
             6. ข้อเรียกร้องที่อยากฝากถึงรัฐบาล อันดับแรก ขอให้เพิ่มค่าแรง (ร้อยละ35.6) รองลงมาให้ปรับปรุง
สวัสดิการ (ร้อยละ 21.0) ปรับปรุงระบบประกันสังคม (ร้อยละ 9.2) ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงงาน
(ร้อยละ 8.1) จัดหางานให้กับผู้ว่างงาน (ร้อยละ 7.7) เปิดโอกาสด้านการศึกษาต่อให้มากขึ้น (ร้อยละ 7.4) ดูแลเรื่องวันหยุด
ประจำปีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ5.6) แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย (ร้อยละ 3.4) และให้
จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในโรงงานทุกแห่ง (ร้อยละ 2.0)
 
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
 
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
 จำนวน
ร้อยละ
อายุ :
            อายุต่ำกว่า 18 ปี
43
4.0
            18 - 25 ป
431
39.8
            26 - 35 ปี
378
34.9
            36 - 45 ปี
172
15.9
            46 ปีขึ้นไป
58
5.4
การศึกษา :
            ต่ำกว่าประถม 6
111
10.3
            ประถม 6
322
29.8
            มัธยมต้น
308
28.5
            มัธยมปลาย / ปวช.
269
24.9
            ปวส. / อนุปริญญา
44
4.1
            ปริญญาตรี
28
2.4
สถานภาพสมรส :
            โสด
523
48.3
            สมรส
450
41.6
            หย่าร้าง / แยกกันอยู่
84
7.8
            หม้าย
25
2.3
ภูมิลำเนาเดิม :
            กทม./ปริมณฑล
121
11.2
            ภาคกลาง
224
20.7
            ภาคตะวันออก
77
7.1
            ภาคเหนือ
144
13.3
            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
481
44.5
            ภาคใต้
35
3.2
   
   
ตารางที่ 2: ความพึงพอใจต่องานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
   
 
 จำนวน
ร้อยละ
พอใจมาก
193
17.8
ค่อนข้างพอใจ
646
59.7
ไม่ค่อยพอใจ
219
20.2
ไม่พอใจเลย
24
2.3
     
   
ตารางที่ 3: อาชีพที่ทำในปัจจุบันเป็นอาชีพที่อยากทำมากที่สุดใช่หรือไม่
   
   จำนวน ร้อยละ
ใช่ 202 18.7
ไม่ใช่
880
81.3
       อาชีพที่อยากทำมากที่สุดได้แก่
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
392
44.5
             ช่างเสริมสวย/ช่างตัดเสื้อ 156 17.7
             พนักงานบริษัท 118 13.4
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 97 11.0
             ดารา/นักร้อง 59 6.7
             เกษตรกร 27 3.1
             พนักงานร้านอาหาร/ห้างสรรพสินค้า 19 2.2
             อื่น ๆ 12 1.4
     
   
ตารางที่ 4: อยากกลับไปทำงานหรือใช้ชีวิตยังภูมิลำเนาเดิมหรือไม่
   
   จำนวน ร้อยละ
อยาก
711
65.7
ไม่อยาก 371 34.3
     
   
ตารางที่5: ปัญหาหนักที่สุดที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน
   
   จำนวน ร้อยละ
รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย
456
42.1
ขาดสวัสดิการที่ดี 145 13.4
มีภาระต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัว 77 7.1
งานหนักเกินไป 70 6.5
ปัญหาสุขภาพ 45 4.2
ปัญหาการเดินทาง 40 3.7
ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 35 3.2
ถูกเอาเปรียบค่าแรง 32 3.0
ปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน 20 1.8
ไม่มีปัญหา 162 15.0
     
   
ตารางที่ 6: ภาระหนี้สินในปัจจุบัน
   
   จำนวน ร้อยละ
ไม่มีหนี้สิน 411 38.0
มีหนี้สิน 671 62.0
        โดยเป็นหนี้สินเกิดจาก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
             ค่าใช้จ่ายในครอบครัว 369 43.5
             ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ 167 19.6
             ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเล่าเรียน 150 17.7
             ปัญหาสุขภาพ 51 6.0
             การลงทุนที่ผิดพลาด 41 4.9
             ค่าเสื้อผ้า/เครื่องสำอางค์ 36 4.2
             การพนัน/อบายมุข 35 4.1
     
   
ตารางที่ 7: ความพึงพอใจต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน เกี่ยวกับการดูแลแก้ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน
   
   จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 223 20.6
ค่อนข้างพอใจ 621 57.4
ไม่ค่อยพอใจ 208 19.2
ไม่พอใจเลย 30 2.8
     
   
ตารางที่ 8: ข้อเรียกร้องที่อยากฝากถึงรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
   
   จำนวน ร้อยละ
ให้เพิ่มค่าแรง 725 35.6
ปรับปรุงสวัสดิการ 429 21.0
ปรับปรุงระบบประกันสังคม 186 9.2
ปรับปรุงเรื่องสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงงาน 166 8.1
จัดหางานให้กับผู้ว่างงาน 156 7.7
เปิดโอกาสด้านการศึกษาต่อ 151 7.4
ดูแลเรื่องวันหยุดประจำปีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 114 5.6
แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย 69 3.4
จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในโรงงานทุกแห่ง 40 2.0
     
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( คุณภาพชีวิตของสาวโรงงาน )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776