|
หัวข้อ : "สำนึกเรื่องการประหยัดของเยาวชนไทยในยุคน้ำมันแพง" |
|
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ :. |
|
เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในประเด็นต่อไปนี้
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยต่อวัน
2. สภาพปัญหาด้านการเงินของครอบครัวและผลกระทบที่มีต่อเยาวชน
3. ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเอง
4. สาเหตุของพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในหมู่เยาวชนไทย
5. บุคคลในอาชีพที่เยาวชนเห็นว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยมากที่สุด
6. สำนึกเกี่ยวกับการช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินของครอบครัว
7. วิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่จะกระตุ้นให้เยาวชนไทยใช้จ่ายอย่างประหยัด
|
|
ระเบียบวิธีการสำรวจ : |
|
การสุ่มตัวอย่าง |
|
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเยาวชนอายุ 15-22 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1 ,223 คน เป็นชายร้อยละ 43.2 และหญิง
ร้อยละ 56.8 กลุ่มตัวอย่างกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและ ปวช.ร้อยละ 30.5 ระดับ ปวส.และอนุปริญญาร้อยละ 4.9 ระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 57.2 และไม่ได้ศึกษาแล้วร้อยละ 7.4 |
|
ความคลาดเคลื่อน
(Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% |
|
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
: .
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ |
|
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
: 5 - 12 พฤษภาคม 2549 |
|
วันที่เผยแพร่ข้อมูล
: . 17 พฤษภาคม 2549 |
|
สำรวจโดย
: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500
ต่อ 1776 |
|
ผลการสำรวจ : |
|
1.
เมื่อถามถึงค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยต่อวันพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.9 มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยวันละ 101-200 บาท ขณะที่
ร้อยละ 4.0 มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวเกินวันละ 500 บาท |
|
2.
เมื่อถามถึงปัญหาด้านการเงินของครอบครัวในช่วงระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา เยาวชนร้อยละ 46.8 ระบุว่าครอบครัวประสบปัญหาด้าน
การเงิน
โดยปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบมาถึงตัวเยาวชนคือทำให้ถูกว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น (ร้อยละ 23.6) ได้รับเงินค่าใช้จ่าย
ส่วนตัวลดลง
(ร้อยละ12.8) เกิดปัญหาหนี้สินส่วนตัว (ร้อยละ10.1) ต้องลดเลิกกิจกรรมในครอบครัว เช่นกินข้าวนอกบ้าน และท่องเที่ยวลง
(ร้อยละ8.4)
พ่อแม่มีเวลาให้น้อยลงเพราะต้องทำงานมากขึ้น (ร้อยละ 5.1) พ่อแม่ทะเลาะกันเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน (ร้อยละ4.1) ต้องปรับแผน
การเรียนและหาที่เรียนใหม่ (ร้อยละ3.8) และอื่นๆ อาทิ ต้องขึ้นรถประจำทางแทนรถส่วนตัว (ร้อยละ1.9) ในขณะที่เยาวชนร้อยละ 53.2
ระบุว่าครอบครัวไม่ประสบปัญหาด้านการเงิน |
|
3. สำหรับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองในช่วงที่ผ่านมา เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.6 เห็นว่าตนเองใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
เกินไป
โดยค่าใช้จ่ายที่เห็นว่าฟุ่มเฟือยมากที่สุดคือค่าอาหารและเครื่องดื่ม (ร้อยละ 31.6) รองลงมาคือค่าเที่ยวเตร่สังสรรค์ (ร้อยละ 26.3)
ค่าแต่งตัว
(ร้อยละ 26.1) ค่าโทรศัพท์ (ร้อยละ 25.3) ค่าเล่นเกมส์ (ร้อยละ 22.6) และอื่นๆ อาทิ ค่าบุหรี่ สุรา และค่าแต่งรถ (ร้อยละ 1.9)
ในขณะที่ร้อยละ 32.4 เห็นว่าที่ผ่านมาตนเองไม่ได้ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย |
|
4. เมื่อถามถึงสาเหตุของการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เยาวชนร้อยละ 47.6 ระบุว่าเกิดจากการไม่รู้จักหักห้ามใจตัวเอง รองลงมาร้อยละ 32.5
ต้องการการยอมรับจากเพื่อนและสังคมรอบข้าง ร้อยละ 29.7 ระบุว่าเกิดจากอิทธิพลของสื่อและการโฆษณา ร้อยละ 27.0 ระบุว่าเกิดจากการ
ไม่รู้ถึงความยากลำบากในการหาเงิน ร้อยละ 14.6 ระบุว่าเกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ตามใจลูกมากเกินไป และระบุว่าเกิดจากสาเหตุอื่น
อาทิไม่รู้จักวางแผนการใช้เงิน ร้อยละ 0.6 |
|
5.
บุคคลในอาชีพที่เยาวชนเห็นว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยที่สุดอันดับแรกได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ร้อยละ 46.6
รองลงมาได้แก่ นักร้อง นักแสดง ร้อยละ 43.7 นักการเมือง ร้อยละ 6.0 นักธุรกิจ ร้อยละ 2.8 ข้าราชการ ร้อยละ 0.9 และอื่นๆ ร้อยละ 0.2
|
|
6.
เมื่อถามว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินของครอบครัวบ้างหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 บอกว่าอยากทำ
แต่ยังไม่รู้จะทำอะไรดี ขณะที่ร้อยละ 28.0 ได้ลงมือทำแล้วคือทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน และพยายามใช้จ่ายอย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น
ส่วนอีกร้อยละ 11.5 ยังไม่ได้คิดจะทำ
|
|
7.
ส่วนวิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดในการกระตุ้นให้เยาวชนไทยใช้จ่ายอย่างประหยัดคือการฝึกให้เยาวชนทำงานหาเงินเองจะได้รู้
ค่าของเงิน ร้อยละ 55.0 ฝึกให้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเอง ร้อยละ 16.8 ให้ความรู้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจ
พอเพียง ร้อยละ 11.0 พ่อแม่ต้องไม่ตามใจลูกมากเกินไป ร้อยละ 9.3 ผู้ใหญ่ในสังคมต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง ร้อยละ 7.1 และอื่นๆ
อาทิ ให้หน่วยงานต่างๆ รับเยาวชนเข้าทำงานในช่วงปิดเทอมให้มากขึ้น และใช้การโฆษณาชักจูงใจให้ประหยัด ร้อยละ 0.7 |
|
|
|
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล |
|
|
|
|
|
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
|
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
เพศ : |
ชาย |
528 |
43.2 |
หญิง |
695 |
56.8 |
การศึกษา : |
มัธยมศึกษาและ ปวช. |
373 |
30.5 |
อนุปริญญาและ ปวส. |
60 |
4.9 |
ปริญญาตรี |
699 |
57.2 |
ไม่ได้ศึกษาแล้ว |
91 |
7.4 |
รวม |
1,223 |
100.0 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 2: ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยต่อวัน
|
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
น้อยกว่า 100 บาท |
223 |
18.2 |
101 - 200 บาท |
672 |
54.9 |
201 - 300 บาท |
188 |
15.4 |
301 - 400 บาท |
50 |
4.1 |
401 - 500 บาท |
41 |
3.4 |
มากกว่า 500 บาท |
49 |
4.0 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 3: การประสบปัญหาด้านการเงินของครอบครัวในช่วงระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
|
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
ประสบ โดยปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตัวเยาวชนคือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
-
ถูกว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการประหยัดมากขึ้น ร้อยละ 23.6
- ได้รับเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวลดลง ร้อยละ 12.8
- เกิดปัญหาหนี้สินส่วนตัว ร้อยละ 10.1
- ต้องลด/เลิกกิจกรรมในครบอครัว เช่นกินข้าวนอกบ้าน ร้อยละ 8.4
- พ่อแม่มีเวลาให้น้อยลงเพราะต้องทำงานมากขึ้น ร้อยละ 5.1
- พ่อแม่ทะเลาะถกเถียงกันเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน ร้อยละ 4.1
- ต้องปรับแผนการเรียนหรือหาที่เรียนใหม่ ร้อยละ 3.8
- อื่น ๆ อาทิต้องขึ้นรถประจำทางแทนรถส่วนตัว ร้อยละ 1.9 |
572 |
46.8 |
ไม่ประสบ |
651 |
53.2 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองในช่วงที่ผ่านมา
|
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
ฟุ่มเฟือยเกินไป โดยค่าใช้จ่ายที่คิดว่าตนเองฟุ่มเฟือยเกินไป ได้แก่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
- ค่าอาหารและค่าเครื่องดื่ม ร้อยละ 31.6
- ค่าเที่ยวเตร่สังสรรค์ ร้อยละ 26.3
- ค่าแต่งตัว ร้อยละ 26.1
- ค่าโทรศัพท์ ร้อยละ 25.3
- ค่าเล่นเกมส์ ร้อยละ 22.6
- อื่น ๆ อาทิค่าบุหรี่ สุรา และแต่งรถ ร้อยละ 1.9 |
827 |
67.6 |
ไม่ฟุ่มเฟือย |
396 |
32.4 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 5: สาเหตุของพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในหมู่เยาวชนไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
|
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
การไม่รู้จักหักห้ามใจตัวเอง |
582 |
47.6 |
ต้องการการยอมรับจากเพื่อนและสังคมรอบข้าง |
398 |
32.5 |
อิทธิพลจากสื่อและการโฆษณา |
363 |
29.7 |
การไม่รู้ถึงความยากลำบากในการหาเงิน |
330 |
27.0 |
การเลี้ยงดูของพ่อแม่ |
179 |
14.6 |
อื่น ๆ อาทิ ไม่รู้จักวางแผนการใช้เงิน |
7 |
0.6 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 6: บุคคลในอาชีพที่เยาวชนเห็นว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยที่สุด
|
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
นักเรียน นิสิต นักศึกษา |
568 |
46.4 |
นักร้อง นักแสดง |
535 |
43.7 |
นักการเมือง |
73 |
6.0 |
นักธุรกิจ |
34 |
2.8 |
ข้าราชการ |
11 |
0.9 |
อื่น ๆ |
2 |
0.2 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 7: ที่ผ่านมาได้ทำอะไรเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินของครอบครัวบ้างหรือไม่
|
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
ยังไม่ได้คิดจะทำ |
141 |
11.5 |
อยากทำแต่ไม่รู้จะทำอะไรดี |
740 |
60.5 |
ทำ ได้แก่ ทำงานหารายได้พิเศษ และค่าใช้จ่ายอย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น |
342 |
28.0 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 8: วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการกระตุ้นให้เยาวชนไทยใช้จ่ายอย่างประหยัด
|
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
ฝึกเยาวชนให้ทำงานหาเงินเองจะได้รู้ค่าของเงิน |
673 |
55.0 |
ฝึกให้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเอง |
205 |
16.8 |
ให้ความรู้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง |
135 |
11.0 |
พ่อแม่ต้องไม่ตามใจลูกมากเกินไป |
114 |
9.3 |
ผู้ใหญ่ในสังคมต้องปฎิบัติตนเป็นแบบอย่าง |
87 |
7.1 |
อื่น ๆ อาทิ ให้หน่วยงานต่าง ๆ รับเยาวชนทำงานช่วงปิดเทอมให้มากขึ้น และใช้
การโฆษณาชักจูงใจให้ประหยัด เป็นต้น |
9 |
0.7 |
|
|
|
|
สามารถทำการ
Vote ได้วันละ 1 ครั้ง |
Connect to DB
Download
document file : ( ) |
|
|
โทร. 0-2350-3500 ต่อ
1776
|
|