Connect to DB
  หัวข้อ : "แนวโน้มการเมืองไทยภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้มีการเลือกตั้งใหม่"
  วัตถุประสงค์ในการสำรวจ :.
 

             เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ในประเด็นต่อไปนี้
               1. ควรมีผู้รับผิดชอบต่อการเลือกตั้ง 2 เมษายน ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นผลให้ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
หรือไม่ และถ้ามีใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ
               2. ความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่
               3. ความต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่
               4. พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไป
               5. หัวหน้าพรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
               6. ภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ทำ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                 การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,538 คน
เป็นชายร้อยละ 49.9 และหญิงร้อยละ 50.1
               กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 34.8   อายุ 26-35 ปีร้อยละ 31.9   อายุ 36-45 ปีร้อยละ 23.4   และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 9.9
               กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 46.8   ปริญญาตรีร้อยละ 49.2   และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.0
               กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.5   ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 20.7   รับจ้างทั่วไปร้อยละ
10.5    พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 30.3   พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 1.6   นิสิตนักศึกษาร้อยละ 15.2   และอื่นๆ ร้อยละ 4.2
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน    5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : . การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :   9 พฤษภาคม 2549
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 10 พฤษภาคม   2549
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  
  ผลการสำรวจ :
 
             1. เมื่อถามว่าใครคือผู้ที่ควรรับผิดชอบหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา
ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่   ร้อยละ 43.6 เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรต้องรับผิดชอบ   รองลงมา
ร้อยละ 15.2 เห็นว่าพรรคฝ่ายค้านควรรับผิดชอบ   ร้อยละ 13.9 เห็นว่าพรรคไทยรักไทยควรรับผิดชอบ   ร้อยละ 9.1 เห็นว่าแกนนำกลุ่มพันธมิตร
เพื่อประชาธิปไตย ควรรับผิดชอบ   ร้อยละ 5.1 ระบุอื่นๆ อาทิคนไทยทุกคน และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ร้อยละ 13.1 ระบุว่าไม่มีใคร
ต้องรับผิดชอบ
 
             2. สำหรับความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้น ร้อยละ 81.5 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 44.9 จะลง
คะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคใดพรรคหนึ่ง   ร้อยละ 11.8 จะไม่เลือกผู้สมัครจากพรรคใดเลย   และร้อยละ 24.8 ยังไม่แน่ใจว่าจะลงคะแนนเลือก
ผู้สมัครหรือไม่   ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง   และร้อยละ 11.1 ยังไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่
 
             3. เมื่อถามว่าต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่หรือไม่ ร้อยละ 51.4 ไม่ต้องการ
ขณะที่ร้อยละ 48.6 ต้องการ
 
             4. สำหรับพรรคการเมืองที่ต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไปนั้น อันดับแรกได้แก่ พรรคไทยรักไทย ร้อยละ 41.0   รองลงมาคือพรรค
ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 12.7   พรรคชาติไทย ร้อยละ 2.1   พรรคอื่นๆ อาทิ พรรคมหาชน พรรคประชากรไทยฯ ร้อยละ 4.6   และร้อยละ 39.6 ต้องการรัฐบาลผสมจากหลายพรรค
 
             5. ส่วนหัวหน้าพรรคการเมืองที่ต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ปรากฎว่า อันดับแรกได้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 45.1
รองลงมาคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 13.5   นายบรรหาร ศิลปอาชา ร้อยละ 2.0   อื่นๆ ร้อยละ 2.4    ขณะที่ร้อยละ 37.0 ระบุว่าไม่มี
หัวหน้าพรรคการเมืองในปัจจุบันคนใดที่เหมาะสมเลย
 
             6. ในส่วนของภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ทำคือ การแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและราคาสินค้า ร้อยละ 58.3
รองลงมาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ/ปฏิรูปการเมือง ร้อยละ 19.9   ปฏิรูประบบการศึกษา ร้อยละ 7.5   การแก้ปัญหาการจราจร ร้อยละ 4.9
แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 3.9   เดินหน้าโครงการเม็กกะโปรเจ็ก ร้อยละ 1.8   ปรับแนวนโยบายเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า
(เอฟทีเอ)  ร้อยละ 1.7    และอื่นๆ ร้อยละ 2.0
   
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
   

ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์

   
 
 จำนวน
ร้อยละ
เพศ :
            ชาย
768
49.9
            หญิง
770
50.1
อายุ :
            18 – 25 ปี
537
34.8
            26 – 35 ปี
490
31.9
            36 – 45 ปี
359
23.4
            46 ปีขึ้นไป
152
9.9
การศึกษา :
             ต่ำกว่าปริญญาตรี 720 46.8
             ปริญญาตรี 756 49.2
             สูงกว่าปริญญาตรี 62 4.0
อาชีพ :
             ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 270 17.5
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 318 20.7
             รับจ้างทั่วไป 162 10.5
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 466 30.3
             พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 24 1.6
             นิสิตนักศึกษา 234 15.2
             อื่น ๆ 64 4.2
รวม 1,538 100.0
     
 

ตารางที่ 2: ผู้ที่ควรแสดงความรับผิดชอบหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               เมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่

   
  จำนวน ร้อยละ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

670
43.6
พรรคฝ่ายค้าน
234
15.2
รัฐบาลพรรคไทยรักไท
214
13.9
แกนนำกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย
140
9.1
อื่น ๆ อาทิ ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง
78
5.1
ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ
202
13.1
     
   

ตารางที่ 3: ความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่

   
  จำนวน ร้อยละ

ไป โดย
        -
จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคใดพรรคหนึ่ง               (ร้อยละ 44.9)
        - จะไม่เลือกผู้สมัครคนใดเลย                                               (ร้อยละ 11.8)
        - ยังไม่แน่ใจว่าจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครหรือไม่                   (ร้อยละ 24.8)

1,254
81.5
ไม่ไป
114
7.4
ยังไม่แน่ใจว่าจะไปใช้สิทธิหรือไม่
170
11.1
     
   

ตารางที่ 4: ความต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่

   
  จำนวน ร้อยละ
ต้องการ
747
48.6

ไม่ต้องการ

791
51.4
     
   

ตารางที่ 5: พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไป

   
  จำนวน ร้อยละ

พรรคไทยรักไทย

630
41.0
พรรคประชาธิปัตย์
196
12.7
พรรคชาติไทย
32
2.1
พรรคอื่น
71
4.6
ต้องการรัฐบาลผสมจากหลายพรรค
609
39.6
     
   

ตารางที่ 6: หัวหน้าพรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

   
  จำนวน ร้อยละ

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

694
45.1
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
208
13.5
นายบรรหาร ศิลปะอาชา
30
2.0
อื่น ๆ
37
2.4
ไม่มีหัวหน้าพรรคคนใดที่เหมาะสมเลย
569
37.0
   

ตารางที่ 7: ภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ทำ

   
  จำนวน ร้อยละ

แก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและราคาสินค้า

896
58.3
แก้ไขรัฐธรรมนูญ / ปฏิรูปการเมือง
306
19.9
ปฏิรูประบบการศึกษาไทย
116
7.5
แก้ปัญหาจราจร
76
4.9
แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
39
3.9
เดินหน้าโครงการเมกกะโปรเจ็ก
28
1.8
ปรับแนวนโยบายเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า (เอฟทีเอ)
26
1.7
อื่น ๆ
31
2.0
     
     
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( แนวโน้มการเมืองไทยภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้มีการเลือกตั้งใหม่ )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776