Connect to DB
  หัวข้อ : "อนาคตการเมืองไทยภายใต้สถานการณ์เรื่องการยุบพรรค"
 

กรุงเทพโพลล์ : คนกรุงเทพฯ ไม่เชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองจริง คาดเลือกตั้งครั้งหน้าคะแนนโนโหวตยังคงสูงลิ่ว

 

             ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจเรื่องอนาคตการเมืองไทยภายใต้สถานการณ์เรื่องการยุบพรรค
โดยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าจะมีการตัดสินให้ยุบพรรคการเมือง ทั้ง 5 พรรคจริง และเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงเกมการเมือง โดยผู้ที่
ระบุว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่ลงคะแนนเลือกใครเลยมีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าผู้ที่ระบุว่าจะเลือกพรรคไทยรักไทย และพรรคอื่น ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่
ยังคงต้องการให้นายกฯ คนต่อไปมาจากการเลือกตั้งก็ตาม
             การสำรวจดังกล่าวเก็บข้อมูลจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 30 เขตจาก 50 เขต เมื่อวันที่
30 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2549 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,419 คน เป็นชายร้อยละ 51.7 และหญิงร้อยละ 48.3 จากนั้นจึงเลือกสัมภาษณ์เจาะลึก
เฉพาะผู้ที่ระบุว่าติดตามข่าว เรื่องการยุบพรรคการเมือง โดยผลสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 43.2 ไม่แน่ใจว่ากระบวนการพิจารณายุบพรรค
การเมืองโปร่งใสหรือไม่ ขณะที่ร้อยละ 35.5 เชื่อว่าไม่โปร่งใส มีเพียงร้อยละ 21.3 ที่เชื่อว่าโปร่งใส โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าสุดท้ายจะมีคำตัดสินว่า
ไม่ต้องยุบพรรคการเมือง โดยเชื่อว่าจะไม่ยุบพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 59.8 และไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 57.2 นอกจากนี้ ร้อยละ 63.6
ยังเห็นว่าประเด็นเรื่อง การยุบพรรคที่เกิดขึ้นเป็นเกมการเมือง มีเพียงร้อยละ 15.3 ที่ไม่เชื่อว่าเป็นเกมการเมือง และร้อยละ 21.1 ไม่แน่ใจ
             สำหรับความเชื่อมั่นว่าการยุบพรรคการเมืองจะสามารถยุติปัญหาวิกฤตทางการเมืองได้หรือไม่นั้น ประชาชนร้อยละ 71.7 ไม่เชื่อว่า
การยุบพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรคจะยุติปัญหาการเมืองได้ มีเพียงร้อยละ 11.6 ที่เชื่อว่าจะยุติปัญหาได้ และร้อยละ 16.7 ไม่แน่ใจ
             ส่วนความเชื่อมั่นต่อการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ร้อยละ 41.1 ไม่แน่ใจว่าจะมีการเลือกตั้ง ในวันดังกล่าวได้จริงหรือไม่ ขณะที่
ร้อยละ 30.5 เชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งในวันดังกล่าว และร้อยละ 28.4 ไม่เชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งในวันดังกล่าว
             ทั้งนี้ เมื่อถามว่าหากไม่มีการยุบพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรค ในการเลือกตั้งครั้งหน้าจะเลือกพรรคใด พบว่า คะแนนไม่เลือกพรรคใดเลย
หรือโนโหวตสูงที่สุดคือร้อยละ 38.8 ร องลงมาเลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 31.8 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 19.5 เลือกพรรคชาติไทย
ร้อยละ 5.3 และเลือกพรรคอื่นร้อยละ 4.6
             สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 83.7 ยังอยากได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง มีเพียง
ร้อยละ 13.9 ที่อยากได้นายกรัฐมนตรีจากการแต่งตั้ง และร้อยละ 2.4 ไม่แสดงความเห็น
            ส่วนประเด็นเรื่องการกลับมาจัดรายการ “ นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน” ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นั้น ร้อยละ 42.7 เห็นว่าเป็นการ
ไม่เหมาะสมโดยให้เหตุผลว่าเป็นการพูดเอาประโยชน์ใส่ตัวเพื่อหวังคะแนนนิยม ผิดมารยาททางการเมือง เอาเปรียบพรรคอื่นที่ไม่มีโอกาสได้พูด
และบ้านเมืองกำลังมีปัญหายิ่งนายกฯ ออกมาพูดปัญหาจะยิ่งบานปลาย ขณะที่ร้อยละ 37.2 เห็นว่าเหมาะสมโดยให้เหตุผลว่าเป็นการให้ข้อมูล
ข่าวสารกับประชาชน เป็นการทำงานตามหน้าที่ของนายกฯ เป็นสิ่งที่เคยทำอยู่แล้วไม่น่าจะเสียหายอะไร และชอบนายกฯ ทักษิณ ส่วนอีกร้อยละ 20.1
ไม่แสดงความเห็น

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ในการสำรวจ :.
 

            เพื่อทราบข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของไทยหลังมีข่าวเรื่องการยุบพรรค
การเมือง โดยมีประเด็นคำถามดังต่อไปนี้
                  1. ความสนใจติดตามข่าวเรื่องการยุบพรรคการเมือง
                  2. ความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของกระบวนการพิจารณายุบพรรคการเมือง
                  3. การคาดการณ์เกี่ยวกับผลการตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยเปรียบเทียบกับผลการตัดสินให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
                  4. ความเชื่อมั่นว่าการยุบพรรคการเมืองจะช่วยแก้วิกฤตทางการเมืองของชาติที่ดำเนินอยู่
                  5. พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหากไม่มีการยุบพรรคการเมือง
                  6. การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
                  7. ความเหมาะสมต่อการที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับมาจัดรายการ นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
              การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 30 เขตจาก 50 เขต
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,419 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.7 เพศหญิงร้อยละ 48.3 จากนั้นจึงเลือกสัมภาษณ์เจาะลึกเฉพาะผู้ที่ติดตามข่าว
เรื่องการยุบพรรคการเมือง จำนวน 1,310 คน
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน    5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : . การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :   30  มิถุนายน  - 3  กรกฎาคม 2549
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 4   กรกฎาคม  2549
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
   

ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์

   
 
 จำนวน
ร้อยละ
เพศ :
            ชาย
734
51.7
            หญิง
685
48.3
อายุ :
            18 – 25 ปี
416
29.3
            26 – 35 ปี
423
29.8
            36 – 45 ปี
295
20.8
            45 ปีขึ้นไป
285
20.0
การศึกษา :
             ต่ำกว่าปริญญาตรี 616 43.4
             ปริญญาตรี 701 49.4
             สูงกว่าปริญญาตรี 102 7.2
อาชีพ :
             ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 189 13.3
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 325 22.9
             รับจ้างทั่วไป 142 10.0
             พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชน 382 26.9
             พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 92 6.5
             นิสิต นักศึกษา 254 17.9
             อื่น ๆ 35 2.5
รวม 1,419 100.0
     
 

ตารางที่ 2: การติดตามข่าวเรื่องการยุบพรรคการเมือง

   
  จำนวน ร้อยละ

ติดตาม

1,310
92.3
ไม่ได้ติดตาม(จบการสัมภาษณ์)
109
7.7
     
 

ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อความโปร่งใสในกระบวนการพิจารณายุบพรรคการเมือง 5 พรรค

   
  จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่าโปร่งใส
279
21.3
เชื่อว่าไม่โปร่งใส
465
35.5

ไม่แน่ใจ

566
43.2
     
 

ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่าการยุบพรรคการเมือง 5 พรรคเป็นเกมการเมือง

   
  จำนวน ร้อยละ

เชื่อว่าเป็นเกมการเมือง

834
63.6
ไม่เชื่อว่าเป็นเกมการเมือง
200
15.3
ไม่แน่ใจ
276
21.1
     
 

ตารางที่ 5: การคาดการณ์ผลการตัดสินให้ยุบพรรคการเมืองเปรียบเทียบระหว่างการให้ยุบพรรคไทยรักไทย
                และการให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์

   
  พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ายุบ
208
15.9
204
15.6

เชื่อว่าไม่ยุบ

784
59.8
750
57.2
ไม่แน่ใจ
318
24.3
356
27.2
     
 

ตารางที่ 6: ความเชื่อมั่นว่าการยุบพรรคการเมือง 5 พรรคจะสามารถยุติปัญหาวิกฤตทางการเมืองได้

   
  จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่าจะยุติปัญหาการเมืองได้
152
11.6

ไม่เชื่อว่าจะยุติปัญหาการเมืองได้

939
71.7
ไม่แน่ใจ
219
16.7
     
 

ตารางที่ 7: ความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 ตามกำหนดเดิม

   
  จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม
400
30.5

ไม่เชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม

372
28.4
ไม่แน่ใจ
539
41.1
     
 

ตารางที่ 8: พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหากไม่มีการยุบพรรคการเมือง 5 พรรค

   
  จำนวน ร้อยละ
เลือกพรรคไทยรักไทย
417
31.8
เลือกพรรคประชาธิปัตย์
255
19.5
เลือกพรรคชาติไทย
69
5.3
เลือกพรรคอื่น
60
4.6

ไม่เลือกพรรคใดเลย

509
38.8
     
 

ตารางที่ 9 : อยากได้นายกรัฐมนตรีคนต่อไปมาจากการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้ง

   
  จำนวน ร้อยละ

มาจากการเลือกตั้ง

1,097
83.7
มาจากการแต่งตั้ง
182
13.9
ไม่แสดงความเห็น
31
2.4
     
 

ตารางที่ 10: ความคิดเห็นต่อการที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับมาจัดรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน

   
  จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม
      เพราะ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
                     - เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน
                     - เป็นการทำงานตามหน้าที่
                     - เป็นสิ่งที่เคยทำอยู่แล้วไม่น่าจะเสียหายอะไร
                     - ชอบนายกฯ ทักษิณ
                     - ฯลฯ
487
37.2

ไม่เหมาะสม
      เพราะ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
                     - เป็นการพูดเอาประโยชน์ใส่ตัวเพื่อหวังคะแนนนิยม
                     - ผิดมารยาททางการเมืองเพราะเป็นเพียงนายกฯ รักษาการ
                     - เอาเปรียบพรรคอื่นที่ไม่มีโอกาสได้พูด
                     - บ้านเมืองกำลังมีปัญหา ยิ่งนายกฯ ออกมาพูดปัญหาจะยิ่งบานปลาย
                     - ฯลฯ

560
42.7
ไม่มีความเห็น
263
20.1
 
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( อนาคตการเมืองไทยภายใต้สถานการณ์เรื่องการยุบพรรค )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776