หัวข้อ การทำบุญของคนไทยในสภาวะปัจจุบัน  
                    ด้วยวันที่ 17 และ 18 กรกฎาคมนี้ เป็นวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ที่พุทธศาสนิกชนควรให้
ความสำคัญและร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว เช่น เวียนเทียน ทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ถวายผ้าอาบน้ำฝน
และถวายเทียนพรรษา รวมถึงการงดเว้นอบายมุขต่างๆ ในช่วงเข้าพรรษาเพื่อเป็นการสร้างบุญกุศล ก่อให้เกิด
ความสุขความสงบในจิตใจ แต่จากสถานการณ์บ้านเมืองและภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน อาจทำให้การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
เกิดการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามเหตุการณ์แวดล้อม
                 เพื่อเป็นการสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเกี่ยวกับการทำบุญ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “
การทำบุญของคนไทยในสภาวะปัจจุบัน
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 808 คน เมื่อวันที่ 12-14 กรกฎาคม
พ.ศ. 2551 สรุปผลได้ดังนี้
 
     
 

             1. จากการสอบถามถึงวิธีการทำบุญทำทานของประชาชนในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า

 
ร้อยละ
ตักบาตร
32.8
ไหว้พระตามวัดต่าง ๆ
20.5
บริจาคเงิน/สิ่งของ บริจาคเลือด บริจาคอวัยวะ
17.9
ถวายเครื่องสังฆทาน / ถวายปัจจัย
16.4
รักษาศีล ปฏิบัติธรรม
7.7
ไม่ได้ทำบุญด้วยวิธีใดเลย
2.7
อื่นๆ เช่น ปล่อยนกปล่อยปลา ช่วยเหลือผู้อื่น
2.0

 

 
     
 

             2. สำหรับประชาชนที่ระบุว่าเคยตักบาตรในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น เมื่อสอบถาม
                 จำนวนครั้งของการตักบาตร พบว่า

 
ร้อยละ
ตักบาตรทุกวัน
9.0
ตักบาตร 1 – 3 ครั้ง
44.7
ตักบาตร 4 – 6 ครั้ง
24.2
ตักบาตรมากกว่า 6 ครั้ง
22.1

 

 
     
 

             3. จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการทำบุญตักบาตรของประชาชนหรือไม่นั้น
                 พบว่า

 
ร้อยละ
ส่งผลกระทบ

ต้องลดจำนวนครั้งและจำนวนเงินในการทำบุญลง

ร้อยละ     13.5

เลือกของใส่บาตรที่ราคาไม่แพง

ร้อยละ     11.8

ถวายปัจจัย (เงิน) ในจำนวนน้อยลง

ร้อยละ     11.0

ใส่บาตรเป็นอาหารแห้ง/บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแทนข้าว

ร้อยละ       8.1

ลดจำนวนครั้งของการตักบาตรลง

ร้อยละ       6.8

ลดปริมาณข้าวหรือของใส่บาตรให้น้อยลง

ร้อยละ       4.1

อื่น ๆ เช่นทำบุญตามวันหรือโอกาสสำคัญ ๆ เท่านั้น

ร้อยละ       1.3

56.6
ไม่ส่งผลกระทบ
43.4

 

 
     
 

             4. กิจกรรมที่ประชาชนตั้งใจจะทำในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ คือ

 
ร้อยละ
ตักบาตร
22.9
เวียนเทียน
18.9
ถวายสังฆทาน/ผ้าอาบน้ำฝน
9.9
ถวายเทียนพรรษา
9.1
รักษาศีล/ ปฏิบัติธรรม
9.1
ฟังเทศน์ฟังธรรม
8.2
พักผ่อนอยู่กับบ้าน
6.8
ปล่อยนกปล่อยปลา
6.1
ทานข้าวนอกบ้านกับครอบครัว/เพื่อนฝูง
3.7
เดินทางไปเที่ยว
3.2
อื่น ๆ เช่น บริจาคโลหิต ไหว้พระตามวัดต่างๆ
2.1

               ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าจำนวน
     ประชาชนที่ตั้งใจจะไปตักบาตรในเทศกาลเข้าพรรษา มีจำนวนลดลง ร้อยละ 24.1
     (จากเดิมคือร้อยละ 47.0)

 

 
     
 

             5. เรื่องที่ตั้งใจจะทำหรือปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการเข้าพรรษานี้
                 คือ

 
ร้อยละ
งดเหล้า งดบุหรี่ งดการพนัน
22.4
รักษาศีล นั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม
16.9
หมั่นไปทำบุญที่วัด ถวายสังฆทาน
12.8
เข้าวัดไหว้พระ ฟังธรรมให้มากขึ้น
5.8
คิดดี พูดดี
5.4
ตักบาตรทุกวันพระ
4.9
ให้เวลากับตัวเอง ครอบครัว และพ่อแม่มากขึ้น
2.8
ตั้งใจทำงาน ตั้งใจเรียนให้มากขึ้น
2.7
อื่นๆ เช่น กินมังสวิรัติ ทำความสะอาดวัด บริจาคทาน
4.7
ใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษ
21.6

 

 
     
 

             6. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำบุญตักบาตร ในช่วงสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้
                 พบว่า

 
ร้อยละ
การทำบุญตักบาตรสามารถเป็นที่พึ่งทางใจให้กับตนได้
           โดยให้เหตุผลว่า ช่วยให้สบายใจขึ้น จิตใจสงบ และไม่เครียด
78.0
การทำบุญตักบาตรเป็นที่พึ่งทางใจให้กับตนไม่ได้
           โดยให้เหตุผลว่า สถานการณ์บ้านเมืองและเศรษฐกิจส่งผลกระทบรุนแรง
                                    เกินไป แม้จะทำบุญตักบาตรแล้วก็ยังไม่ช่วยให้สบายใจขึ้น
22.0

 

 
     
 

             7. ในช่วงวันสำคัญทางศาสนานี้ ข้อปฏิบัติของศีล 5 ที่ประชาชนต้องการให้นักการเมืองไทย
                 เน้นปฏิบัติมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
ไม่ลักทรัพย์ ฉ้อโกง หรือทุจริตคอร์รัปชัน
58.0
ไม่โกหก พูดปด หลอกลวง พูดหยาบคาย
33.7
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ดื่มสุรา ของมึนเมา
4.8
ไม่ฆ่าสัตว์ หรือทำร้ายสิ่งมีชีวิตทุกประเภท
2.7
ไม่ประพฤติผิดทางชู้สาว
0.8

 

 
     
 

             8. ถ้าขอพรหรืออธิษฐานได้ สิ่งที่ประชาชนอยากจะอธิษฐานขอพร คือ

 
ร้อยละ
ขอพรในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองและครอบครัว
           เช่น ขอให้ตนและคนในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง ประสบความสำเร็จในชีวิต
55.5
ขอพรในเรื่องที่เกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมรอบตัว
           เช่น ขอให้บ้านเมืองสงบสุข เกิดความสามัคคี เศรษฐกิจฟื้นตัว นักการเมือง
                  ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
39.6
ไม่มีเรื่องใดที่จะขอพรหรืออธิษฐาน
4.9

 

 

     
 
รายละเอียดในการสำรวจ
 
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:  
                   เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
                      1. ประเภทหรือลักษณะวิธีการทำบุญในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
                      2. จำนวนครั้งของการตักบาตรในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
                      3. ผลกระทบที่มีต่อการทำบุญ ทำทาน หรือตักบาตรจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
                      4. สิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้
                      5. เรื่องที่ตั้งใจจะทำเป็นกรณีพิเศษในระยะ 3 เดือนของการเข้าพรรษานี้

                      6. การทำบุญตักบาตรกับการเป็นที่พึ่งทางใจในช่วงสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้
                      7. ศีล 5 ข้อที่อยากให้นักการเมืองไทยเน้นปฏิบัติมากที่สุด ในช่วงวันสำคัญทางศาสนานี้
                      8. พรหรือคำอธิษฐานที่อยากขอให้เกิดขึ้นหลังจากนี้
 
     
  ระเบียบวิธีการสำรวจ:  
                   การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง
จำนวน 20 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตจตุจักร
ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต บางเขน บางกะปิ บางซื่อ บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พญาไท ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี
ลาดกระบัง ลาดพร้าว สวนหลวง สาทร และหลักสี่ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 808 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.6 และเพศหญิงร้อยละ 52.4
 
     
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):  
                   ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%  
     
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:  
                   ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มี โครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด
(Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ
ประมวลผล
 
     
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:12 -14 กรกฎาคม 2551  
     
  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 16 กรกฎาคม 2551  
     
  สรุปผลการสำรวจ: ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล  
 
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
 
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
385
47.6
             หญิง
423
52.4
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
238
29.4
             26 - 35 ปี
218
27.0
             36 - 45 ปี
196
24.3
             46 ปีขึ้นไป
156
19.3
รายได้:
 
 
             น้อยกว่า 10,000 บาท
249
30.8
             10,001-15,000 บาท
256
31.7
             15,001- 20,000 บาท
123
15.3
             20,001 – 25,000 บาท
65
8.0
             25001 – 30000 บาท
51
6.3
             มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป
64
7.9
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
85
10.5
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
173
21.4
             รับจ้างทั่วไป
104
12.9
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
244
30.2
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
60
7.4
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
142
17.6
รวม
808
100.0
 
       
     
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 
 
 ผลคะแนนVote                       
 
     
 
Download PDF file:  
 
     
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
 
 
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776