หัวข้อ เยาวชนคิดอย่างไรกับการเมืองไทยในปัจจุบัน
                  จากเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ดำเนินติดต่อกันมา
หลายเดือน โดยมีทั้งกลุ่มผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว ทั้งนี้ ได้มีนักเรียน นิสิต นักศึกษาบางส่วนที่
ให้ความสนใจและเข้าร่วมแสดงความเห็นทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เช่นมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตย หรือ Young PAD (Young People's Alliance for Democracy) เพื่อออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง
ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออนาคตการเมืองไทยและวิถีการเรียนของเยาวชน
เหล่านี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “
เยาวชนคิดอย่างไร
กับการเมืองไทยในปัจจุบัน
”  โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 15-25 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 917 คน
เมื่อวันที่ 13-14 กันยายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความสนใจต่อเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
สนใจมาก
21.8
สนใจค่อนข้างมาก
48.9
ไม่ค่อยสนใจ
25.6
ไม่สนใจเลย
3.7
 
             2. ความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

 
ร้อยละ
เป็นห่วงมาก
32.0
เป็นห่วงค่อนข้างมาก
48.7
ไม่ค่อยเป็นห่วง
16.8
ไม่เป็นห่วงเลย
2.5
 
             3. ความเห็นต่อการเข้าร่วมชุมนุมและเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
                 ในขณะนี้ พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า
- เยาวชนคือกำลังสำคัญของชาติ ควรมี
  ส่วนร่วมรับผิดชอบต่อบ้านเมือง
  - เป็นสิทธิอันชอบธรรมตามระบอบ
  ประชาธิปไตย
  - เพื่อเป็นการสะท้อนมุมมองของเยาวชน
  ให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้รับรู้
  - และ เยาวชนเป็นพลังบริสุทธิ์ ฯลฯ

46.3
ไม่เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า
- เป็นเรื่องล่อแหลมและอันตรายเกินไป
  - อาจตกเป็นเครื่องมือของคนบางกลุ่ม
  โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  - ควรเอาเวลามาเรียนหนังสือดีกว่า
  - เสียภาพลักษณ์นิสิตนักศึกษา
  - และ ทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมากขึ้น ฯลฯ
51.6
ไม่มีความเห็น
2.1
 

             4. จากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ทางออกที่เหมาะสมที่สุดในความเห็นของเยาวชน คือ

 
ร้อยละ
ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
43.1
ให้พันธมิตรฯ ยุติการชุมนุม
24.6
จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
14.8
ทำรัฐประหาร
3.6
ให้ 5 พรรคร่วมรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป
4.5
อื่นๆ เช่น ให้นายกรัฐมนตรีลาออก
9.4
 

             5. สิ่งที่อยากฝากถึงเพื่อนๆ นักเรียน/นิสิต/นักศึกษาที่ไปร่วมชุมนุม คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ไม่ควรเข้าไปร่วมการชุมนุม ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่
38.7
ขอให้เข้มแข็งอดทนสู้ต่อไป จะเป็นกำลังใจให้
33.7
ให้ใจเย็น ชุมนุมอย่างสงบ ใช้สติ อย่าใช้ความรุนแรง
23.8
อื่นๆ เช่น เป็นสิทธิในการแสดงความเห็น ไม่ควรใช้คำหยาบคาย
อย่ากระทำการใดที่ทำให้สถาบันเสียชื่อเสียง ฯลฯ
3.8
 

             6. สิ่งที่อยากฝากถึง 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ควรรับฟังความเห็นของประชาชน และคำนึงถึงประโยชน์
ส่วนรวมเป็นหลัก
35.9
เป็นกำลังใจให้รัฐบาลอดทน สู้ และบริหารประเทศต่อไป
13.9
หานายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มีความเหมาะสม
12.8
ให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส หยุดคอร์รัปชั่นโกงกิน
9.9
ให้เสียสละยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
9.2
ให้ใช้ความประนีประนอม อย่าใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาด
4.2
ให้ใช้วิธีการทางกฎหมายมาดำเนินการเพื่อยุติปัญหา
1.9
อื่นๆ เช่น อย่างสร้างประเด็นปัญหาเพิ่ม อย่ายึดติดกับอำนาจ
อย่าปิดกั้นการแสดงความคิดของนักศึกษา ฯลฯ
12.2
 

             7. สิ่งที่อยากฝากถึงฝ่ายพันธมิตรฯ คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ให้ยุติการชุมนุม
35.1
ทำถูกต้องแล้ว ขอให้สู้ต่อไป จะเป็นกำลังใจให้
20.0
ขอให้ชุมนุมอย่างสงบภายใต้กฎหมาย อย่าใช้ความรุนแรง
และสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่ส่วนร่วม
18.4
ขอให้ถอยคนละก้าว หันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ปัญหาบ้านเมือง
โดยใช้เหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์
13.3
อย่าตั้งข้อเรียกร้องสูงเกินไป อย่ายึดความเห็นของตนเอง
จนไม่ฟังคนอื่น
6.5
เห็นด้วยกับอุดมการณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ไม่เห็นด้วยกับ
วิธีการที่ใช้ น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ในการเรียกร้องโดยไม่สร้าง
ความเดือดร้อนให้กับส่วนรวม
3.0
อื่นๆ เช่น อย่าใช้ถ้อยคำรุนแรงหยาบคาย ให้แกนนำเข้ามอบตัว
ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ฯลฯ
3.7
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
                         1. ความสนใจต่อเหตุการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
                         2. ความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
                         3. ความเห็นต่อการเข้าร่วมชุมนุมและเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักเรียน/นิสิต/นักศึกษาในขณะนี้
                         4. ทางออกที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน
                         5. สิ่งที่อยากฝากถึงนักเรียน/นิสิต/นักศึกษาที่ไปร่วมชุมนุม
                         6. สิ่งที่อยากฝากถึง 5 พรรคร่วมรัฐบาล

                         7. สิ่งที่อยากฝากถึงฝ่ายพันธมิตรฯ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน
24 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ คลองสาน จตุจักร จอมทอง
ดอนเมือง บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางเขน บางแค บางนา บางพลัด บางรัก ปทุมวัน พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี
ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง สายไหม หลักสี่ และห้วยขวาง จากนั้นสุ่มถนน และประชากร
เป้าหมายอายุ 15-25 ปี ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 917 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.7 และเพศหญิง ร้อยละ 51.3
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มี
โครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check ListNominal) และ คำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 13 - 14 กันยายน 2551
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 กันยายน 2551
 
สรุปผลการสำรวจ: ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
447
48.7
             หญิง
470
51.3
อายุ:
 
 
             15 - 18 ปี
327
35.7
             19 - 22 ปี
345
37.6
             23 - 25 ปี
245
26.7
การศึกษา:
 
 
             มัธยมศึกษา
260
28.4
             ปวช.
79
8.6
             ปวส./อนุปริญญา
74
8.1
             ปริญญาตรี
504
54.9
รวม
917
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776