หัวข้อ คนกรุงกับเทศกาลลอยกระทง
                  เนื่องจากวันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2551 นี้ เป็นวันลอยกระทง ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ชาวไทยให้ความสำคัญและ
ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งนี้เพื่อขอขมาและขอพรจากพระแม่คงคา ตลอดจนเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
โดยในปีนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการรณรงค์ เรื่อง “ 1 ครอบครัว 1 กระทง / 1 คู่ 1กระทง ”
เพื่อลดปริมาณขยะในแม่น้ำลำคลอง ดังนั้นศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “
คนกรุงกับเทศกาลลอยกระทง” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 859 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.3 และเพศหญิงร้อยละ 52.7 เมื่อวันที่ 8-10 พฤศจิกายน
2551 สรุปผลได้ ดังนี้
 
             1. ความตั้งใจไปร่วมงานลอยกระทง ในวันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2551

 
ร้อยละ
ไป
โดยให้เหตุผลว่า
เป็นประเพณีที่ 1ปี มีครั้งเดียว และเคยไปลอย
ทุกปี ตลอดจนได้ไปทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
และได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
50.4
ไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า
ติดธุระ รถติด ไม่ชอบคนเยอะ กลัวพลุ/ประทัด
เป็นเทศกาลของวัยรุ่น
21.2
ยังไม่ได้ตัดสินใจ
28.4
 
             2. ความตั้งใจปฏิบัติตามโครงการรณรงค์เรื่อง “1 ครอบครัว 1 กระทง / 1คู่ 1 กระทง” ของ
                 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 
ร้อยละ
จะปฏิบัติตาม
เหตุผลที่ปฏิบัติตามเนื่องจาก
เป็นการประหยัดเงิน ช่วยลด
ปริมาณขยะ ลดการใช้วัสดุ อีกทั้ง
ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์
ในครอบครัวให้มีความอบอุ่น
ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
85.6
จะไม่ปฏิบัติตาม
เหตุผลที่ไม่ปฏิบัติตามเนื่องจาก
อยากขอพรคนเดียว เป็นความเชื่อ
ของแต่ละคน เป็นครอบครัวใหญ่
และต้องการอุดหนุนแม่ค้าขาย
กระทง
14.4
 
             3. ชนิดของกระทงที่คนกรุงเทพฯ จะเลือกนำไปลอยในวันลอยกระทง คือ

 
ร้อยละ
กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
70.0
กระทงขนมปัง
27.6
กระทงที่ทำจากโฟม
0.7
อื่นๆ
1.7
 

             4. เรื่องที่วิตกกังวลเกี่ยวกับการไปเที่ยวงานลอยกระทงในปีนี้ จากคะแนนเต็ม 5 พบว่า
                 คนกรุงเทพกังวลเรื่องการฉกชิงวิ่งราวและถูกล้วงกระเป๋ามากที่สุด ตามด้วยปัญหาจาก
                 คนดื่มสุรา เมา และทะเลาะวิวาท ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 
คะแนน
เรื่องฉกชิงวิ่งราว/ล้วงกระเป๋า
3.90
เรื่องปัญหาจากคนดื่มสุรา/เมา/ทะเลาะวิวาท
3.84
เรื่องปริมาณขยะและความล่าช้าในการเก็บกระทง
3.48
เรื่องอันตรายและบาดเจ็บจากพลุและดอกไม้ไฟ
3.38
เรื่องอุบัติเหตุทางน้ำ
3.02
เรื่องอุบัติเหตุจากการเดินทาง
2.90
เรื่องการเกิดเพลิงไหม้
2.90
 

             5. จากสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คนกรุงเทพฯ มีความเชื่อมั่น
                 ต่อการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตำรวจในคืนวันลอยกระทง ดังนี้

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก
5.7
ค่อนข้างเชื่อมั่น
43.7
ไม่ค่อยเชื่อมั่น
41.7
ไม่เชื่อมั่นเลย
8.9
 

             6. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ ตั้งใจจะอธิษฐานขอพรจากพระแม่คงคาในคืนวันลอยกระทงปีนี้
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) พบว่า

 
ร้อยละ
เป็นคำอธิษฐานขอพรเพื่อตนเอง
ได้แก่
- ขอให้ตนเองและครอบครัวมีความสุข
  สุขภาพแข็งแรง
ร้อยละ 25.1
  - ขอขมาพระแม่คงคา
ร้อยละ 14.5
  - ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในการงาน
ร้อยละ 5.2
  - ขอให้โชคดี เจอแต่สิ่งที่ดี
ร้อยละ 4.1
  - ขอให้ร่ำรวย มีโชคลาภ
ร้อยละ 4.0
  - ขอให้เรียนเก่งๆ ได้คะแนนดี เกรดดี
ร้อยละ 2.2
  - อื่นๆ เช่น ขอให้เจอคู่ครอง ขอให้สิ่ง
  ไม่ดีลอยไปกับกระทง ขอให้
  สมปรารถนาดังที่ตั้งใจไว้ในทุกเรื่อง
  ฯลฯ
ร้อยละ 2.0
57.1
เป็นคำอธิษฐานที่ขอพรเพื่อประเทศชาติส่วนรวม
ได้แก่
- ขอให้บ้านเมืองสงบสุข
ร้อยละ 19.2
  - ขอให้คนในชาติยุติความขัดแย้ง  ให้รัก
  และสามัคคีกัน
ร้อยละ 8.1
  - ขอให้เศรษฐกิจดีขึ้น  ราคาสินค้าลดลง
ร้อยละ 2.4
  - ขอให้มีน้ำสะอาดใช้อุดมสมบูรณ์
  ตลอดไป
ร้อยละ 1.3
  - อื่น ๆ เช่น ขอให้ทุกคนช่วยกันรักษา
  น้ำ ให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ขอให้น้ำที่ท่วม
  ในจังหวัดต่างๆ ลดลง
ร้อยละ 5.5
36.5
ไม่อธิษฐานขอพรใดๆ
6.4
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนคนกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้
                         1. ความตั้งใจในการไปร่วมงานลอยกระทง
                         2. ความตั้งใจปฏิบัติตามโครงการรณรงค์เรื่อง “1 ครอบครัว 1 กระทง / 1คู่ 1 กระทง” ของกระทรวง
                             ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                         3. การเลือกชนิดกระทงที่จะนำไปลอยในวันลอยกระทง
                         4. เรื่องที่วิตกกังวลเกี่ยวกับการไปเที่ยวงานลอยกระทงในปีนี้

                         5. ความเชื่อมั่นในการรักษาความสงบของเจ้าหน้าที่ตำรวจในคืนวันลอยกระทง
                         6. สิ่งที่ตั้งใจจะอธิษฐานขอพรจากพระแม่คงคา

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จำนวน
23 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ พระนคร ป้อมปราบ ปทุมวัน
บางรัก สาทร บางคอแหลม ดุสิต บางซื่อ พญาไท คลองเตย ดินแดง ประเวศ บางเขน บึงกุ่ม บางพลัด ราษฎร์บูรณะ
สวนหลวง ทุ่งครุ สะพานสูง หลักสี่ ดอนเมือง ลาดกระบัง และตลิ่งชัน จากนั้นสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 859 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.3 และเพศหญิง ร้อยละ 52.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 8-10 พฤศจิกายน 2551
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 พฤศจิกายน 2551
 
สรุปผลการสำรวจ: ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
406
47.3
             หญิง
453
52.7
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
262
30.5
             26 - 35 ปี
235
27.3
             36 - 45 ปี
205
23.9
             46 ปีขึ้นไป
157
18.3
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
346
40.3
             ปริญญาตรี
452
52.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
61
7.1
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
57
6.6
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
248
28.9
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
181
21.1
             รับจ้างทั่วไป
103
12.0
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
70
8.1
             นิสิต/นักศึกษา
169
19.7
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน
31
3.6
รวม
859
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776