หัวข้อ ความเห็นของประชาชนต่อการกระทำและการแสดงออกของกลุ่มต่างๆ
                  จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
โดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการและแสดงออกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแนวทางที่แตกต่างกันออกไป   ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อการกระทำและการแสดงออก
ของกลุ่มต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาหาทางออกของวิกฤตการณ์ความขัดแย้งร่วมกันอย่างเหมาะสม สอดคล้อง
กับความต้องการของประชาชน โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกกลุ่มอาชีพที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
จำนวนทั้งสิ้น 1,180 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.2 และเพศหญิง ร้อยละ 53.8   เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
สรุปผลได้ ดังนี้
 
             1. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการกระทำและการแสดงออกของฝ่ายต่าง ๆ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 
เหมาะสม
(ร้อยละ)
ไม่เหมาะสม
(ร้อยละ)
ไม่มีความเห็น
(ร้อยละ)
การกระทำและการแสดงออกของกลุ่ม
พันธมิตรฯ
11.2
69.3
19.5
การกระทำและการแสดงออกของกลุ่ม
แนวร่วมนปช.
18.6
48.8
32.6
การกระทำและการแสดงออกของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
17.2
48.7
34.1
การกระทำและการแสดงออกของรัฐบาล
22.2
46.4
31.4
การกระทำและการแสดงออกของพรรค
ประชาธิปัตย์
23.7
37.7
38.6
การกระทำและการแสดงออกของตำรวจ
37.3
35.6
27.1
การกระทำและการแสดงออกของสื่อมวลชน
40.9
32.2
26.9
การกระทำและการแสดงออกของประธาน
รัฐสภา
21.6
29.0
49.4
การกระทำและการแสดงออกของทหาร
42.6
26.7
30.7

                     โดยให้เหตุผลของการกระทำที่ ไม่เหมาะสม ของฝ่ายต่างๆ ดังนี้ (เป็นคำถามปลายเปิด
              ให้ผู้ตอบระบุเอง)
 
ร้อยละ
การกระทำและแสดงออกของกลุ่มพันธมิตรฯ
โดยให้เหตุผลว่า
ก่อให้เกิดความวุ่นวาย รุนแรงเกินเหตุ
สร้างความเดือดร้อน เกิดการบาดเจ็บ
และเสียชีวิต ไม่เคารพกฎหมาย
ยึดสถานที่สำคัญทำให้เกิดความเสียหาย
แก่ส่วนรวม
69.3
การกระทำและแสดงออกของกลุ่มแนวร่วม นปช.
โดยให้เหตุผลว่า
ไม่ควรออกมาประกาศสงคราม
ก่อเหตุปะทะ ปลุกระดม ทำให้เกิดเหตุ
ความรุนแรงมากขึ้น และทำเพื่อปกป้อง
ผลประโยชน์ของพวกพ้องโดยไม่คิดถึง
ประเทศชาติส่วนรวม
48.8
การกระทำและแสดงออกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
โดยให้เหตุผลว่า
ไม่ยอมรับความผิดแล้วกลับมาสู้คดีตาม
กระบวนการของกฎหมาย ยุยงปลุกกระแส
ความขัดแย้ง  ไม่หยุดให้ข่าว หรือให้
สัมภาษณ์ในทางเสียหายแก่ประเทศ
ไม่ยอมวางมือทางการเมือง
48.7
การกระทำและแสดงออกของรัฐบาล
โดยให้เหตุผลว่า
ละเลยและวางเฉยไม่จริงจังในการ
แก้ปัญหา ไม่รับผิดชอบต่อเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้น เป็นต้นเหตุของความรุนแรง
ยึดผลประโยชน์และรักษา ผลประโยชน์
ของตน ควรลาออกเพื่อให้บ้านเมืองสงบ
46.4
การกระทำและแสดงออกของพรรคประชาธิปัตย์
โดยให้เหตุผลว่า
ไม่เป็นกลาง เอนเอียงเข้าข้างพันธมิตร
อยากเป็นรัฐบาล ไม่กล้าแสดงออก
ให้ชัดเจน ไม่มีบทบาท ไม่ช่วยแก้ปัญหา
อย่างจริงจัง
37.7
การกระทำและแสดงออกของตำรวจ
โดยให้เหตุผลว่า
ทำการเกินกว่าเหตุ ใช้ความรุนแรง
ทำตามคำสั่งรัฐบาลมากเกินไป
35.6
การกระทำและแสดงออกของสื่อมวลชน
โดยให้เหตุผลว่า
เสนอข่าวไม่เป็นกลาง  เสนอข่าวให้เกิด
การทะเลาะแตกแยก เสนอข่าวไม่ครบถ้วน
32.2
การกระทำและแสดงออกของประธานรัฐสภา
(นายชัย ชิดชอบ)
โดยให้เหตุผลว่า
ไม่เป็นกลาง ควบคุมการประชุมไม่ได้ใช้
คำพูดไม่เหมาะสม
29.0
การกระทำและแสดงออกของทหาร
โดยให้เหตุผลว่า
ไม่เด็ดขาด เพิกเฉย ไม่ดำเนินการใดๆ
เพื่อป้องกันเหตุรุนแรง เช่น เข้าไปตรึง
กำลังในสนามบินเพื่อป้องกันการบุกยึด
และตรวจค้นอาวุธของผู้ชุมนุม เป็นต้น
26.7
 
             2. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถานการณ์ในประเทศในขณะนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า

 
คะแนน
ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการใช้ชีวิต
4.31
ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางกฎหมาย
3.58
ความเชื่อมั่นในความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ
3.50
ความเชื่อมั่นในความสามารถรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก
3.24
ความเชื่อมั่นในความสามารถยุติปัญหาความขัดแย้งได้ด้วยสันติวิธี
3.17
ความเชื่อมั่นศรัทธาในระบบการเมืองไทย
2.82
 
             3. ทางออกที่เหมาะสมมากที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้

 
ร้อยละ
ให้แต่ละฝ่ายส่งผู้แทนมาเจรจากัน
39.2
ยุบสภา
24.3
ใช้กำลังตำรวจ ทหารเข้าสลายการชุมนุม
16.1
จัดตั้งรัฐบาลประชาภิวัฒน์
12.3
ทหารทำรัฐประหาร
7.2
ปล่อยให้กลุ่มผู้ชุมนุมดำเนินกิจกรรมต่อไป
0.9
 
             4. ผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้

 
ร้อยละ
ได้รับผลกระทบ
โดยผลกระทบที่ได้รับ คือ
- การจราจรติดขัด เดินทางไม่สะดวก
  - โรงเรียนบุตรหลานต้องหยุด
  การเรียนการสอน
  - ลูกค้ายกเลิกการสั่งซื้อสินค้า
  ยอดขายตก รายได้ตก กลัวตกงาน
  - เกิดความเครียด
  - เกิดความแตกแยกในครอบครัว
  และกลุ่มเพื่อน ฯลฯ
  - ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศไทย
  เสียหาย ฯลฯ
72.2
ไม่ได้รับผลกระทบ
27.8
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
                         1. ความคิดเห็นต่อการกระทำและการแสดงออกของฝ่ายต่างๆ ในเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
                         2. ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ภายในประเทศ
                         3. ทางออกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                         4. ผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากร
เป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,180 คน   เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.2 และเพศหญิง
ร้อยละ 53.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 27 พฤศจิกายน 2551
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 พฤศจิกายน 2551
 
สรุปผลการสำรวจ: ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
545
46.2
             หญิง
635
53.8
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
372
31.5
             26 - 35 ปี
433
36.7
             36 - 45 ปี
230
19.5
             46 ปีขึ้นไป
145
12.3
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
455
38.5
             ปริญญาตรี
622
52.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
103
8.7
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
58
4.9
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
357
30.3
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
310
26.3
             รับจ้างทั่วไป
200
16.9
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
25
2.1
             นิสิต นักศึกษา
182
15.5
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน
48
4.0
รวม
1,180
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776