หัวข้อ ดัชนีความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น
                  วัยรุ่น เป็นวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ส่งผลให้คนวัยนี้เกิดภาวะสับสนและต้องการ
ดูแลอย่างใกล้ชิดจากสังคมและบุคคลรอบข้าง อันจะช่วยให้พวกเขาสามารถก้าวผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญและมีอนาคต
ที่มั่นคง  แต่จากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ในปัจจุบันทำให้หลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงว่า
สถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิต รวมถึงการหล่อหลอมแบบแผนทางความรู้สึกนึกคิด
และแบบแผนของการกระทำอันเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตในอนาคตของวัยรุ่น  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง  “ดัชนีความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น
โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,144 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1
และเพศหญิงร้อยละ 50.9   เมื่อวันที่ 25 มีนาคม - 6 เมษายน ที่ผ่านมา   สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น มีคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 6.51 คะแนน
                 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่า

 
คะแนนความเชื่อมั่น
(จากคะแนนเต็ม 10)
ความเชื่อมั่นในความรักความอบอุ่นที่ได้รับจากครอบครัว
8.00
ความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอนของศาสนา
7.47
ความเชื่อมั่นในคุณค่าและความสามารถของตัวเอง
7.20
ความเชื่อมั่นในความสมบูรณ์แข็งแรงของสุขภาพร่างกายโดยรวม
6.98
ความเชื่อมั่นในคุณภาพการศึกษาที่ได้รับ
6.89
ความเชื่อมั่นในความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว
6.82
ความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตตามค่านิยมและความเชื่อแบบไทยๆ
6.39
ความเชื่อมั่นในความมีน้ำใจช่วยเหลือกันของคนในสังคม
6.28
ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับอาชีพการงานในอนาคต
6.27
ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของชีวิต
6.26
ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายของไทย
5.68
ความเชื่อมั่นในคุณภาพของสิ่งแวดล้อมรอบตัว
5.44
ความเชื่อมั่นในระบบการเมืองไทย
4.89
 
             2. เรื่องที่เห็นว่าควรมีการปรับปรุงแก้ไขมากที่สุดเพื่อทำให้วัยรุ่นของไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                 (5 อันดับแรก) ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ควรปรับปรุงระบบการศึกษา วิธีการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย
และเท่าเทียมกัน
26.6
สร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่วัยรุ่น ในเรื่องกิริยามารยาท การแต่งกาย
และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
10.0
ให้คนในสังคมไทยมีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และมีน้ำใจให้แก่กัน
9.9
ปฏิรูปการเมือง ให้นักการเมืองเป็นตัวอย่างที่ดี
6.9
ให้พ่อแม่เอาใจใส่ ดูแล ให้ความอบอุ่นแก่ครอบครัว
6.8
แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุน การสร้างงาน สร้างอาชีพ
6.4
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของวัยรุ่น อายุ 15 – 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้
                     1.ประเมินความเชื่อมั่นในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต
                     2. เรื่องที่เห็นว่าควรมีการปรับปรุงแก้ไขมากที่สุดเพื่อทำให้วัยรุ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 15 – 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน
จำนวน 29 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา บางกะปิ บางกอกน้อย บางแค บางนา บางพลัด
บางขน บางคอแหลม บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วัฒนา สวนหลวง สาทร หนองแขม และหนองจอก จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่
จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,144 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน  ซึ่งประยุกต์มาจากข้อคำถามดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์   ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)   และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 25 มีนาคม - 6 เมษายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 เมษายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
562
49.1
             หญิง
582
50.9
รวม
1,144
100.0
อายุ:
 
 
             15 - 17 ปี
378
33.0
             18 - 20 ปี
670
32.3
             21 - 24 ปี
396
34.7
รวม
1,144
100.0
การศึกษา:
 
 
             มัธยมศึกษา / ปวช.
464
40.6
             ปวส. / อนุปริญญา
79
6.9
             ปริญญาตรี
487
42.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
15
1.3
             ไม่ได้ศึกษาแล้ว
99
8.7
รวม
1,144
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776