หัวข้อ ภาวะการเงินของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม
                  ช่วงใกล้เปิดเทอม นับเป็นช่วงเวลาที่แทบทุกครอบครัวต่างมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่
ต้องเร่งหาเงินเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องการศึกษาของบุตร ไม่ว่าจะเป็น ค่าเทอม ค่าหนังสือ ค่าชุดนักเรียน ตลอดจน
ค่าอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ประกอบกับในปีนี้เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้หลายๆ ครอบครัวประสบปัญหาทางการเงิน
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง 
ภาวะการเงินของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม” โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล –
มัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,073 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.5 และเพศหญิงร้อยละ 52.5 เมื่อวันที่
28 -29 เมษายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ค่าใช้จ่ายในเรื่องการเรียนของบุตรในเทอมนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า

 
ร้อยละ
มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
44.2
มีค่าใช้จ่ายลดลง
31.6
มีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม
24.2
 
             2. การประสบปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม

 
ร้อยละ
ประสบปัญหา
       (โดยในจำนวนนี้ระบุว่า
              - เพิ่งจะประสบปัญหาในเทอมนี้    ร้อยละ  21.7
              - เคยประสบปัญหามาก่อนหน้านี้   ร้อยละ  31.8)
53.5
ไม่ประสบปัญหา
46.5
 
             3. สาเหตุหลักของปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม คือ  (เฉพาะผู้ที่ตอบว่า
                 ประสบปัญหา โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
รายได้ลดลง
32.0
อุปกรณ์การเรียนมีราคาแพงขึ้น
19.8
ค่าเทอมแพงขึ้น
11.6
มีจำนวนบุตรที่ต้องเข้าศึกษาเพิ่มขึ้น
7.1
ตกงาน
4.4
อื่นๆ อาทิ เศรษฐกิจไม่ดี มีรายได้เพียงคนเดียว ฯลฯ
5.1
 
             4. วิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการแก้ปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย คือ  (เฉพาะผู้ที่ตอบว่า
                 ประสบปัญหา โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ขอยืมเงินจากญาติ / เพื่อน / คนรู้จัก
18.2
นำเงินที่เก็บสะสมไว้ออกมาใช้
16.1
กู้เงินนอกระบบ
12.3
ใช้เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียนของปีที่แล้ว
11.6
หารายได้เสริมนอกจากอาชีพหลัก
11.5
จำนำทรัพย์สิน
10.6
นำของมีค่าออกมาขาย
5.4
กู้เงินจากธนาคาร
3.1
ย้ายบุตรมาเรียนโรงเรียนรัฐบาล หรือ โรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนถูกกว่า
2.5
ให้บุตรทำงานหารายได้พิเศษ
2.4
อื่นๆ อาทิ ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอื่น ให้บุตรลาออกจากโรงเรียน
และขอชำระค่าเทอมเป็นงวดๆ เป็นต้น
2.6
 
             5. สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเรียนของบุตร คือ

 
ร้อยละ
ให้ทุกคนเรียนฟรีจนจบมัธยมปลาย
49.3
จัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียนมัธยม
15.9
เพิ่มทุนการศึกษาให้มากขึ้น
15.4
ช่วยเหลือเรื่องค่าอุปกรณ์การเรียน
15.2
อื่นๆ อาทิ ควบคุมค่าใช้จ่ายของโรงเรียนเอกชน ยกเลิกค่าแป๊ะเจี๊ยะ
ให้เรียนฟรีจนจบปริญญาตรี เป็นต้น
4.2
 
             6. ความคิดเห็นต่อความคุ้มค่าระหว่างความรู้และประโยชน์จากการเรียนที่บุตรได้รับ กับค่าใช้จ่าย
                 ที่เสียไป

 
ร้อยละ
คิดว่าคุ้มค่า
62.5
คิดว่าไม่คุ้มค่า
8.9
ไม่แน่ใจ
28.6
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษาในประเด็นต่อไปนี้
                     1. เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเล่าเรียนของบุตรในเทอมนี้กับที่ผ่านมา
                     2. การประสบปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม

                     3. สาเหตุของปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม
                     4. วิธีการแก้ปัญหา
                     5. สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเรียนของบุตร
                     6. เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างความรู้และประโยชน์จากการเรียนที่บุตรได้รับกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา ที่อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก
ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 30 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย
บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางคอแหลม บางซื่อ บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท
พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง สาทร หนองจอก และหลักสี่ จากนั้น
จึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,073 คน เป็นเพศชายร้อยละ
47.5 และเพศหญิงร้อยละ 52.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 28 - 29 เมษายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 6 พฤษภาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
510
47.5
             หญิง
563
52.5
รวม
1,073
100.0
อายุ:
 
 
             ต่ำกว่า 25 ปี
102
9.5
             26 ปี – 35 ปี
303
28.2
             36 ปี – 45 ปี
464
43.2
             46 ปีขึ้นไป
204
19.1
รวม
1,073
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
724
67.5
             ปริญญาตรี
301
28.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
48
4.4
รวม
1,073
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
110
10.3
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
211
19.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
394
36.7
             รับจ้างทั่วไป
221
20.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
110
10.3
             อื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ ว่างงาน
27
2.4
รวม
1,073
100.0
ประเภทของโรงเรียนที่บุตรศึกษาอยู่:
 
 
             โรงเรียนรัฐบาล
666
62.1
             โรงเรียนเอกชน
378
35.2
             โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน
29
2.7
รวม
1,073
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776