หัวข้อ   “ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  สำรวจพบนักท่องเที่ยวต่างชาติยกให้กรุงเทพฯ เป็นเมือง
น่าเที่ยวมากที่สุดในบรรดา 10 เมืองที่เข้าประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 พร้อมยกพระบรมมหาราชวังและ
วัดพระศรีรัตนศาสดารามให้เป็นที่สุดแห่งสถานที่ท่องเที่ยวประทับใจ  โดยให้คะแนนความพึงพอใจด้านอาหารและเครื่องดื่ม
สูงที่สุด ขณะที่ด้านคุณภาพอากาศมีคะแนนต่ำที่สุด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ (5 อันดับแรก) คือ

 
ร้อยละ
อันดับที่ 1 อาหารไทย
20.4
อันดับที่ 2 โบราณสถานและโบราณวัตถุ
19.7
อันดับที่ 3 อัธยาศัยไมตรีของคนไทย
16.8
อันดับที่ 4 วัฒนธรรมประเพณีและศิลปะพื้นบ้าน
15.8
อันดับที่ 5 แหล่งช้อปปิ้ง
15.1

                 ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนว่าสิ่งที่ดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพฯมากที่สุด คือ อาหารไทย
ดังนั้นหากกรุงเทพมหานครจะดำเนินโครงการ เมืองแห่งการสร้างสรรค์ (Creative City) ควรเน้นจุดขายในเรื่องอาหาร
การกินเป็นหลัก
 
 
             2. สถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ที่ชาวต่างชาติประทับใจมากที่สุด (5 อันดับแรก)
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้นักท่องเที่ยวระบุเอง)


 
ร้อยละ
1. พระบรมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
39.4
2. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
11.5
3. แหล่งช้อปปิ้ง ย่านประตูน้ำและปทุมวัน
11.0
4. ตลาดนัดสวนจตุจักร
10.7
5. ถนนข้าวสาร
6.5
 
 
             3. คะแนนความพึงพอใจต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.33
                 (จากคะแนน เต็ม 10 คะแนน) โดยความพึงพอใจในอาหารและเครื่องดื่มมีคะแนนสูงที่สุด
                 ขณะที่ความพึงพอใจในคุณภาพอากาศมีคะแนนต่ำที่สุด ดังนี้


 
คะแนน
อาหารและเครื่องดื่ม
8.56
ความคุ้มค่าเงิน
8.41
อัธยาศัยไมตรีของคนไทย
8.37
สถานที่ท่องเที่ยว
8.14
ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
7.67
ระบบขนส่งสาธารณะ
7.18
ข้อมูลด้านการเดินทางท่องเที่ยว
7.14
บริการจากมัคคุเทศก์
7.11
ความสะอาด
6.05
คุณภาพอากาศ
4.62
เฉลี่ยรวม
7.33
 
 
             4. ความรู้สึกต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนเดินทางมากับ
                 เมื่อได้มาเที่ยวแล้ว พบว่า

 
ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้
48.9
พอๆ กับที่คาดหวังไว้
45.4
แย่กว่าที่คาดหวังไว้
5.7
 
 
             5. เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยวถึงความต้องการจะกลับมาเที่ยวกรุงเทพฯ อีกครั้ง พบว่า

 
ร้อยละ
จะกลับมาอีก
77.7
จะไม่กลับมาอีก
3.0
ยังไม่แน่ใจ
19.3
 
 
             6. การยินดีที่จะแนะนำและบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวกรุงเทพฯ พบว่า

 
ร้อยละ
จะแนะนำ
91.9
จะไม่แนะนำ
1.5
ไม่แน่ใจ
6.6
 
 
             7. อันดับเมืองที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด ในความเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมา
                 ท่องเที่ยวกรุงเทพฯ (เปรียบเทียบเฉพาะในกลุ่ม 10 เมืองที่เข้าประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่
                 แห่งเอเชีย 21 ได้แก่กรุงเดลี กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรุงมะนิลา กรุงโซล
                 กรุงโตเกียว กรุงไทเป สิงคโปร์ และกรุงเทพมหานคร จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)


 
คะแนน
อันดับที่ 1 กรุงเทพฯ ประเทศไทย
7.19
อันดับที่ 2 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
3.12
อันดับที่ 3 สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
2.45
อันดับที่ 4 กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
1.65
อันดับที่ 5 กรุงเดลี ประเทศอินเดีย
1.49
 
 
             8. ความเชื่อมั่นต่อการรับมือปัญหาโรคระบาดต่างๆ โดยเฉพาะ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ของกรุงเทพฯ

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
63.7
ไม่เชื่อมั่น
36.3
 
 
             9. สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นมีผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวประเทศไทย
                 หรือไม่

 
ร้อยละ
มีผลมาก
19.3
มีผลน้อย
80.7
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ที่มาและวัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยที่สำคัญเมืองหนึ่งในทวีปเอเชีย มีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นที่รู้จัก
ของชาวต่างชาติมากมาย และเนื่องด้วยกรุงเทพฯ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม เครือข่ายเมืองใหญ่แห่ง
เอเชีย 21
(The Asian Network of Major Cities 21 หรือ ANMC21) ครั้งที่ 8 ในวันที่ 31 ต.ค. - 4 พ.ย. นี้
โดยประกอบด้วยเมืองสมาชิก 10 เมือง คือ กรุงเดลี กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรุงมะนิลา กรุงโซล
กรุงโตเกียว ไทเป สิงคโปร์ และกรุงเทพมหานคร เพื่อหารือร่วมกันใน 2 ประเด็นหลักคือ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
และการป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009  ดังนั้น ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนิน
การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ
ในประเด็นต่อไปนี้
                           1. ข้อมูลพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ
                           2. ทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่อการมาเที่ยวกรุงเทพฯ
                           3. ระดับความพึงพอใจต่อการมาเที่ยวกรุงเทพฯ ในด้านต่างๆ
                           4. สถานการณ์ทางการเมืองต่อการตัดสินใจมาเที่ยวประเทศไทย
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป บริเวณแหล่งท่องเที่ยว
ที่ชาวต่างชาตินิยมไป 6 แห่ง ได้แก่ 1) ถนนข้าวสาร 2) ถนนสีลม 3) ประตูน้ำ - พระพรหม - แยกราชดำริ 4) ตลาดนัด
จตุจักร - สวนจตุจักร 5) วัดพระแก้ว - วัดโพธิ์ 6) สถานีรถไฟหัวลำโพง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 474 คน เป็นเพศชายร้อยละ
58.3 และเพศหญิงร้อยละ 41.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 พฤศจิกายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
276
58.3
             หญิง
198
41.7
รวม
474
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 24 ปี
93
19.7
             25 – 34 ปี
180
37.8
             35 – 44 ปี
87
18.4
             45 – 54 ปี
62
13.1
             55 – 64 ปี
31
6.6
             65 ปีขึ้นไป
21
4.4
รวม
474
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
79
16.7
             ปริญญาตรี
202
42.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
193
40.7
รวม
474
100.0
จำนวนครั้งที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย:
 
 
             1 ครั้ง
220
46.4
             2 – 3 ครั้ง
117
24.7
             มากกว่า 3 ครั้ง
137
28.9
รวม
474
100.0
ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาจากทวีป:
 
 
             ทวีปยุโรป
298
62.8
             ทวีปอเมริกา
63
13.3
             ทวีปโอเชียเนีย
54
11.4
             ทวีปเอเชีย
53
11.2
             ทวีปแอฟริกา
6
1.3
รวม
474
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776