หัวข้อ   “ประชาชนรู้สึกอย่างไรกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจาก 30 จังหวัด
ทั่วทุกภาคของประเทศ พบว่า หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นลง ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อ
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี 5 คนที่ถูกอภิปราย ดังนี้

                       1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี                      ได้คะแนนไว้วางใจร้อยละ   71.7
                       2. นายกรณ์ จาติกวณิช รมว. กระทรวงการคลัง               ได้คะแนนไว้วางใจร้อยละ   71.0
                       3. นายโสภณ ซารัมย์ รมว.กระทรวงคมนาคม                  ได้คะแนนไว้วางใจร้อยละ   54.4
                       4. นายกษิต ภิรมย์ รมว. กระทรวงการต่างประเทศ            ได้คะแนนไว้วางใจร้อยละ   53.6
                       5. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง      ได้คะแนนไว้วางใจร้อยละ   52.8
                       6. นายชวรัตน์  ชาญวีรกุล  รมว.กระทรวงมหาดไทย         ได้คะแนนไว้วางใจร้อยละ   50.0

                 ประชาชนร้อยละ 43.5 ระบุว่าต้องการให้รัฐบาลชุดเดิมบริหารประเทศต่อไป  ขณะที่ร้อยละ 28.4 ต้องการ
ให้ยุบสภา   และร้อยละ 17.6 ต้องการให้มีการปรับ ครม.

                 สำหรับการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้าน 5.43 คะแนน
ฝ่ายรัฐบาล 6.51 คะแนน  และประธานสภาฯ 6.55 คะแนน  จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน    โดยร้อยละ 46.2 ระบุว่า
เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า   ร้อยละ 18.1  เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า   ร้อยละ 23.3
เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่ายพอๆ กัน    และร้อยละ 12.4 ไม่เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่ายพอๆ กัน

                 สำหรับผู้อภิปรายฝ่ายรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
(ร้อยละ 82.4)  ส่วนผู้อภิปรายของฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดคือ ร.ต.อ. เฉลิม  อยู่บำรุง (ร้อยละ  78.8)

                 อย่างไรก็ตาม หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นยังคงมีประเด็นที่ประชาชนค้างคาใจมากที่สุดถึงร้อยละ 66.8 คือ
เรื่องการสลายการชุมนุมที่ยังหาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้  เช่น กรณีของคนชุดดำ คนที่ยิงปืนเข้าไปในวัดปทุมฯ และการเผา
ห้างสรรพสินค้า

                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. การรับชม /รับฟัง หรือติดตามข่าวการประชุมสภาฯ เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
                 และรัฐมนตรีอีก 5 คนในวันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า

 
ร้อยละ
มีผู้ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง
8.8
ติดตามการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ
60.3
ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ
31.0
 
 
             2. หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรี และ
                 รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายทั้ง 6 คน โดยเรียงลำดับรัฐมนตรีที่ประชาชนให้ความไว้วางใจจาก
                 มากไปน้อย ดังนี้


 
ไว้วางใจ
(ร้อยละ)
ไม่ไว้วางใจ
(ร้อยละ)
1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี
71.7
28.3
2. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
71.0
29.0
3. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
54.4
45.6
4. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
53.6
46.4
5. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
52.8
47.2
6. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
50.0
50.0
 
 
             3. สิ่งที่ประชาชนต้องการให้เกิดขึ้นภายหลังจากการอภิปรายครั้งนี้ คือ

 
ร้อยละ
ให้รัฐบาลชุดเดิมบริหารประเทศต่อไป
43.5
ยุบสภา
28.4
ปรับคณะรัฐมนตรี
17.6
ให้นายกรัฐมนตรี ลาออก
3.8
ให้พรรคฝ่ายค้านมาเป็นรัฐบาล
1.4
อื่นๆ เช่น ให้มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
5.3
 
 
             4. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และประธานสภาฯ
                 ในการอภิปราย ครั้งนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า


 
คะแนน
ให้คะแนนการทำหน้าที่ซักฟอกของฝ่ายค้าน
5.43
ให้คะแนนการทำหน้าที่ชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปรายของฝ่ายรัฐบาล
6.51
ให้คะแนนการทำหน้าที่ของประธานสภาฯ
6.55
 
 
             5. เมื่อเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาล
                 และฝ่ายค้าน พบว่า


 
ร้อยละ
เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า
46.2
เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า
18.1
เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่ายพอๆ กัน
23.3
ไม่เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่ายพอๆ กัน
12.4
 
 
             6. ผู้อภิปรายฝ่ายรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบการอภิปรายมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุชื่อเอง)


 
ร้อยละ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
82.4
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.กระทรวงการคลัง
7.7
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง
6.7
 
 
             7. ผู้อภิปรายฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบการอภิปรายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุชื่อเอง)


 
ร้อยละ
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง
78.8
นายจตุพร พรหมพันธุ์
15.0
นายสุนัย จุลพงศธร
2.8
 
 
             8. ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการอภิปราย ฯ ครั้งนี้ คือ

 
ร้อยละ
ได้ประโยชน์มาก
52.9
ได้ประโยชน์ปานกลาง
37.2
ได้ประโยชน์น้อย
9.9
 
 
             9. ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประเด็นในการอภิปรายที่ประชาชนยังค้างคาใจอยู่
                 3 อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
อันดับ 1 เรื่องการสลายการชุมนุมที่ยังหาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้
            ( กรณี เช่น คนชุดดำ คนที่ยิงปืนเข้าไปในวัดปทุมฯ การเผาห้าง
              สรรพสินค้า ฯลฯ )
66.8
อันดับ 2 เรื่องการทุจริตในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
8.0
อันดับ 3 เรื่องการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนของญาติและพวกพ้อง
           ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นคู่สัญญากับรัฐ ส่งผล
           ให้รัฐต้องสูญเสีย เงินงบประมาณเกินกว่าความเป็นจริง
6.7
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ  เกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรี อีก 5 ท่าน เพื่อสะท้อนให้สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์
ต่อประเทศชาติส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
และ จังหวัดต่างๆ ในแต่ละภาคทั่วประเทศ จำนวน 30 จังหวัด  ได้แก่ กรุงเทพมหานคร  พระนครศรีอยุธยา  จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา  ระยอง  ราชบุรี  สุพรรณบุรี  นครปฐม  นครสวรรค์  ลำปาง  เชียงใหม่  เชียงราย  พะเยา  แม่ฮ่องสอน
อุตรดิตถ์   กำแพงเพชร  เพชรบูรณ์  ขอนแก่น  ชัยภูมิ  สุรินทร์  กาฬสินธุ์  อุบลราชธานี  มหาสารคาม  หนองคาย
นครศรีธรรมราช  ภูเก็ต   ตรัง  สงขลา  สุราษฎร์ธานี  และระนอง  ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling)  และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น
1,434 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.2 และเพศหญิงร้อยละ 45.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)  และสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  โดยเครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)
และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form)  และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 2 มิถุนายน 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 3 มิถุนายน 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
776
54.2
             หญิง
658
45.8
รวม
1,434
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
304
21.2
             26 – 35 ปี
371
25.8
             36 – 45 ปี
378
26.4
             46 ปีขึ้นไป
381
26.5
รวม
1,434
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
756
52.9
             ปริญญาตรี
605
42.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
73
4.9
รวม
1,434
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
434
30.2
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
202
14.1
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
318
22.2
             รับจ้างทั่วไป
154
10.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
84
5.9
             อื่นๆ อาทิ เกษตรกรรม อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ เป็นต้น
242
16.9
รวม
1,434
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776