หัวข้อ   “มุมมองเรื่องความรักและการเลือกคู่ของคนโสดยุคปัจจุบัน”
                 คนโสดยุคใหม่มองการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานไม่ใช่เรื่องแปลก สมัยนี้ใครๆ
เขาก็ทำกัน  นอกจากนี้ยังมองว่าการหย่าหรือแยกทางกันไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้าหย่าแล้วมีความสุข
ก็ควรหย่า  โดยมีเพียง 1 ใน 3 ที่ตั้งใจจะอดทนให้ถึงที่สุดโดยให้การหย่าเป็นทางเลือกสุดท้าย
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์)  เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนโสดอายุ 20 - 35 ปีในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวน 1,226 คน   เนื่องในโอกาสวันแห่งความรักปีนี้ พบว่า   คนโสดมากกว่า
ครึ่งคือร้อยละ 59.5 ระบุว่า ขณะนี้มีคู่รักหรือคนที่คบหาเป็นแฟนอยู่แล้ว  โดยในจำนวนนี้มีเพียง
ร้อยละ 29.1  หรือประมาณครึ่งหนึ่งที่ระบุว่าคนที่คบหาอยู่ในปัจจุบันใช่คนที่คิดจะแต่งงานด้วย
ขณะที่ร้อยละ 4.9 ระบุว่าไม่ใช่   และร้อยละ 25.5 ไม่แน่ใจ
 
                 ทั้งนี้คนโสดทั้งที่มีและไม่มีคู่รักต่างระบุตรงกันว่า  ความซื่อสัตย์และรักเดียว
ใจเดียว  คือคุณสมบัติสำคัญที่สุดที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจเลือกคนที่จะแต่งงานด้วย  (ร้อยละ
36.5)  รองลงมาคือ ความกระตือรือร้น ขยันทำมาหากิน (ร้อยละ 12.8)    และความมีน้ำใจ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (ร้อยละ 9.1)  ตามลำดับ
 
                 สำหรับเรื่องการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานนั้น  คนโสดถึงร้อยละ 66.9
มีทัศนคติในเชิงเห็นด้วย  โดยให้เหตุผลว่า เป็นเรื่องที่ดีจะได้เรียนรู้นิสัยใจคอกันก่อนแต่งงาน
(ร้อยละ 44.3)  และไม่ใช่เรื่องแปลกสมัยนี้ใครๆ เขาก็ทำกัน (ร้อยละ 22.6)  มีเพียงร้อยละ 33.1 ที่ไม่เห็นด้วย   โดยให้
เหตุผลว่าเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาตามมา เช่น ตั้งครรภ์ ทำแท้ง (ร้อยละ 20.3)  และขัดต่อวัฒนธรรมไทย (ร้อยละ 12.8)
   
                 ผศ. สุนิสา กล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือในจำนวนผู้ที่มีทัศนคติในเชิงเห็นด้วยกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
ก่อนแต่งงานนั้น  ร้อยละ 30.2 หรือเกือบครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง  ซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกมองว่าเสียเปรียบหากต้องเลิกรากันไป
   
                 ส่วนประเด็นเรื่องการหย่าหรือแยกทางกันหากชีวิตคู่หลังแต่งงานประสบปัญหา ร้อยละ 17.2 ระบุว่า
ยอมรับได้ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือคอขาดบาดตาย    ร้อยละ 42.5 จะคิดก่อนถ้าหย่าแล้วมีความสุขก็ควรหย่า    ร้อยละ 35.5
ตั้งใจจะอดทนให้ถึงที่สุดโดยให้การหย่าเป็นทางเลือกสุดท้าย    และร้อยละ 4.8 รับไม่ได้เลยและจะไม่มีวันยอมให้เรื่อง
ดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวเอง
 
                 ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ที่ตั้งใจจะใช้ความอดทนในการใช้ชีวิตคู่โดยให้การหย่าเป็นทางเลือกสุดท้าย
มีจำนวนน้อยกว่าผู้ที่เลือกแนวทางที่ว่าหย่าแล้วมีความสุขก็ควรหย่า  ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นแนวโน้มของปัญหา
ที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันครอบครัวไทยในอนาคต
 
                 ประเด็นสุดท้าย  เมื่อถามถึงสถานที่ฮันนีมูนที่อยากไป ส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.5 เลือกสถานที่ฮันนีมูนใน
ประเทศไทย  โดยสถานที่ที่อยากไปมากที่สุดคือ  แหลมพรหมเทพและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต  (ร้อยละ 10.8)
รองลงมาคือ  ดอยอินทนนท์และดอยสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่ (ร้อยละ 7.9)   หมู่เกาะพีพี และหมู่เกาะสิมิลันในจังหวัด
กระบี่ (ร้อยละ 7.0)   ในขณะที่ร้อยละ 42.5 เลือกไปฮันนีมูนในต่างประเทศ   โดยระบุว่าประเทศที่อยากไปมากที่สุด คือ
ญี่ปุ่น (ร้อยละ 7.3)    ฝรั่งเศส (ร้อยละ 5.2)    และเกาหลีใต้ (ร้อยละ 4.7)  ตามลำดับ
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. จำนวนคนโสดที่ระบุว่ามี คู่รัก หรือมีคนที่คบหาเป็นแฟนกันอยู่ในปัจจุบัน คือ

 
ร้อยละ
มีคู่รัก
59.5
ไม่มีคู่รัก
40.5


                  เมื่อถาม เฉพาะคนที่มีคู่รัก ว่าคนที่คบหาด้วยในปัจจุบันใช่คนที่คิดจะแต่งงานด้วยหรือไม่ พบว่า

 
ชาย
(ร้อยละ)
หญิง
(ร้อยละ)
เฉลี่ย
(ร้อยละ)
ใช่คนที่คิดจะแต่งงานด้วย
15.3
13.8
29.1
ไม่ใช่คนที่คิดจะแต่งงานด้วย
2.1
2.8
4.9
ไม่แน่ใจ
11.7
13.8
25.5
 
 
             2. คุณสมบัติสำคัญที่สุด 5 อันดับแรก ของคนที่คิดแต่งงานด้วย คือ

 
ชาย
(ร้อยละ)
หญิง
(ร้อยละ)
เฉลี่ย
(ร้อยละ)
อันดับ 1 ซื่อสัตย์ รักเดียวใจเดียว
18.4
18.1
36.5
อันดับ 2 กระตือรือร้น ขยันทำมาหากิน
4.9
7.9
12.8
อันดับ 3 มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
6.7
2.4
9.1
อันดับ 4 ดูแล เอาใจ คอยเทคแคร์
3.9
4.8
8.7
อันดับ 5 ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน
1.5
3.8
5.3


                  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่า

คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชาย
ที่ผู้หญิงจะแต่งงานด้วย
ร้อยละ
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้หญิง
ที่ผู้ชายจะแต่งงานด้วย
ร้อยละ
อันดับ 1 ซื่อสัตย์ รักเดียวใจเดียว
35.4
อันดับ1 ซื่อสัตย์ รักเดียวใจเดียว
37.6
อันดับ 2  กระตือรือร้น ขยันทำมาหากิน
15.7
อันดับ 2 มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
13.8
อันดับ 3  ดูแล เอาใจ คอยเทคแคร์
9.4
อันดับ 3 กระตือรือร้น ขยันทำมาหากิน
9.9
อันดับ 4  เป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ
8.7
อันดับ 4 ดูแล เอาใจ คอยเทคแคร์
8.1
อันดับ 5  ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
            เล่นการพนัน
7.6
อันดับ 5 ประหยัด รู้จักกิน รู้จักใช้
5.9
อื่นๆ
23.2
อื่นๆ
24.7
รวม
100.0
รวม
100.0
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน ของคนโสดในปัจจุบัน

ความคิดเห็น
ชาย
(ร้อยละ)
หญิง
(ร้อยละ)
รวม
(ร้อยละ)
เป็นเรื่องที่ดี จะได้เรียนรู้นิสัยใจคอกันก่อน
แต่งงาน
23.5
20.8
44.3
ไม่ใช่เรื่องแปลกสมัยนี้ใครๆ เขาก็ทำกัน
13.2
9.4
22.6
ไม่เห็นด้วยเพราะเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาตามมา
เช่น ตั้งครรภ์ ทำแท้ง ฯลฯ
7.7
12.6
20.3
ไม่เห็นด้วยเพราะขัดต่อวัฒนธรรมไทย
5.5
7.3
12.8
 
 
             4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการหย่า หรือแยกทางกัน หากชีวิตคู่ประสบปัญหาไม่เป็นอย่างที่หวังไว้

ความคิดเห็น
ชาย
(ร้อยละ)
หญิง
(ร้อยละ)
รวม
(ร้อยละ)
ยอมรับได้ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือคอขาดบาดตาย
9.1
8.1
17.2
จะคิดก่อน ถ้าหย่าแล้วมีความสุขก็ควรหย่า
18.9
23.6
42.5
จะอดทนให้ถึงที่สุด โดยให้การหย่าเป็นทางเลือก
สุดท้าย
18.7
16.8
35.5
ยอมรับไม่ได้เลย และจะไม่มีวันให้เกิดขึ้นกับตัวเอง
2.5
2.3
4.8
 
 
             5. สถานที่ ที่ต้องการไปฮันนีมูนมากที่สุดคือ

 
ร้อยละ
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
โดย 5 อันดับแรกคือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
  • แหลมพรหมเทพและแหล่งท่องเที่ยว
    ในจังหวัดภูเก็ต
ร้อยละ 10.8
  • ดอยอินทนนท์ ดอยสุเทพ ในจังหวัดเชียงใหม่
ร้อยละ  7.9
  • หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะสิมิลัน ในจังหวัดกระบี่
ร้อยละ  7.0
  • อ.ปาย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ร้อยละ  4.2
  • เกาะสมุย เกาะพงัน เกาะนางยวน
    ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ร้อยละ  3.8
57.5
สถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ
โดย 5 อันดับแรกคือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
  • ประเทศ ญี่ปุ่น
ร้อยละ  7.3
  • ประเทศ ฝรั่งเศส
ร้อยละ  5.2
  • ประเทศ เกาหลีใต้
ร้อยละ  4.7
  • ประเทศ อังกฤษ
ร้อยละ  4.0
  • ประเทศ มัลดีฟ
ร้อยละ  3.8
42.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากคนโสดอายุ 20 – 35 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง
และชั้นนอก จำนวนทั้งสิ้น 36 เขต  ได้แก่ คลองเตย คลองสาน คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ธนบุรี บางกะปิ
บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ
พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์
สาทร สายไหม หลักสี่ และห้วยขวาง และปริมณฑลได้แก่ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ  จากนั้นจึงสุ่มถนน
และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,226 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 49.1
และเพศหญิงร้อยละ 50.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบ
สอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบ
ระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล
และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  28 - 30 มกราคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 กุมภาพันธ์ 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
602
49.1
             หญิง
624
50.9
รวม
1,226
100.0
อายุ:
 
 
             20 – 25 ปี
512
41.8
             26 – 30 ปี
479
39.1
             31 – 35 ปี
235
19.1
รวม
1,226
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
326
26.6
             ปริญญาตรี
825
67.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
75
6.1
รวม
1,226
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
99
8.1
             พนักงาน/ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
537
43.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
243
19.8
             รับจ้างทั่วไป
74
6.0
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
11
0.9
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
262
21.4
รวม
1,226
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776