หัวข้อ   “ การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในสายตาคนกรุงเทพฯ ”
 
ประชาชนร้อยละ 68.2 เห็นว่ารัฐบาลยังไม่มีแผนการบริหารจัดการน้ำให้เห็นเป็น
รูปธรรม
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง “การ
บริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในสายตาคนกรุงเทพฯ
” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน
ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,165 คน  พบว่า ประชาชนร้อยละ 52.3 ระบุว่า
การสร้างความเข้าใจและชี้แจงรายละเอียดถึงแผนการบริหารจัดการน้ำของ
รัฐบาลให้กับประชาชน ยังไม่ชัดเจน
และ ร้อยละ 21.6 ระบุว่าชัดเจนแล้ว ในขณะที่
ร้อยละ 26.1 ระบุว่ารัฐบาลยังไม่มีการสร้างความเข้าใจและชี้แจงรายละเอียดเลย
 
                 ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 68.2 เห็นว่ารัฐบาลยังไม่มีการดำเนินการ/
แผนการบริหารจัดการน้ำให้เห็นเป็นรูปธรรม
ขณะที่ร้อยละ 31.8 เห็นว่ามีการ
ดำเนินการ/แผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
 
                 ส่วนเรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงกังวลมากที่สุดเมื่อรัฐบาลเริ่มใช้เงินกู้วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท เพื่อวาง
ระบบบริหารจัดการน้ำและการสร้างอนาคตประเทศของรัฐบาล คือ ความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ ร้อยละ
31.9
  รองลงมาคือ ดำเนินการล่าช้า ไม่ทันกับน้ำที่จะมารอบใหม่ ร้อยละ 15.9  และยังไม่มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
ร้อยละ 11.1
 
                 สำหรับความเชื่อมั่นที่มีต่อความสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาล หากเกิด
ภาวะน้ำท่วมขึ้นอีกในปีนี้ พบว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 69.1

และมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 30.9 เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อความสามารถบริหาร
จัดการภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาล หากเกิดภาวะภัยแล้งขึ้นในปีนี้ พบว่าประชาชนมีความเชื่อมั่น
อยู่ในระดับค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 74.6
และมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ
25.4
 
                 ทั้งนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มีเรื่องที่อยากบอกกับพี่น้องชาวต่างจังหวัดที่อาจจะต้องอยู่
ในบริเวณพื้นที่รับน้ำ (แก้มลิง) หรือ อยู่ตามแนวทางไหลของน้ำ (Floodway)  เพื่อป้องกันไม่ให้ น้ำท่วม
กรุงเทพฯ มากที่สุด คือ เห็นใจ ขอให้อดทน สู้ต่อไป จะเป็นกำลังใจให้ ร้อยละ 25.3
  รองลงมาคือ ขอบคุณที่ต้อง
รองรับน้ำและเสียสละเพื่อคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 21.3  และขอให้เตรียมความพร้อมไว้ก่อนเช่น ยกบ้านให้สูง ติดตามข่าวสาร
เกี่ยวกับน้ำท่วม เตรียมช่องทางอพยพ และหาทางช่วยตนเองให้มากที่สุด ไม่ควรหวังพึ่งรัฐบาลอย่างเดียว ร้อยละ 13.8
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความชัดเจนในการสร้างความเข้าใจและชี้แจงรายละเอียดถึงแผนการบริหารจัดการน้ำของ
                 รัฐบาลให้กับ ประชาชนทั่วประเทศ

 
ร้อยละ
ชัดเจนแล้ว
21.6
ยังไม่ชัดเจน
52.3
รัฐบาลยังไม่มีการสร้างความเข้าใจและชี้แจงรายละเอียดเลย
26.1
 
 
             2. ความคิดเห็นต่อการดำเนินการหรือแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล

 
ร้อยละ
ยังไม่มีการดำเนินการ/แผนการบริหารจัดการน้ำให้เห็นเป็นรูปธรรม
68.2
มีการดำเนินการ/แผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
31.8
 
 
             3. เรื่องที่เป็นห่วงหรือกังวลมากที่สุดเมื่อรัฐบาลเริ่มใช้เงินกู้วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท เพื่อวาง
                 ระบบบริหารจัดการน้ำและการสร้างอนาคตประเทศของรัฐบาล คือ

 
ร้อยละ
ความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ
31.9
ดำเนินการล่าช้า ไม่ทันกับน้ำที่จะมารอบใหม่
15.9
ไม่มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
11.1
การมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
9.5
มาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเป็นพื้นที่รับน้ำ
6.3
ขาดหลักการทางวิชาการขาดการคำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ของประเทศ
ในการวางแผน
5.7
กระแสต่อต้านจากชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำ
5.4
ไม่มีเรื่องห่วง/กังวลเลย
14.2
 
 
             4. ความเชื่อมั่นที่มีต่อความสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาล หากเกิดภาวะ
                 น้ำท่วมขึ้น อีกในปีนี้ พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย
69.1
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
30.9
 
 
             5. ความเชื่อมั่นที่มีต่อความสามารถบริหารจัดการภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาล หากเกิด
                 ภาวะภัยแล้งขึ้นในปีนี้ พบว่า


 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย
74.6
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
25.4
 
 
             6. ความคิดเห็นต่อการจัดตั้งบรรษัทปลูกป่าจะนำมาซึ่งการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าได้จริงหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าได้จริง
64.1
ไม่เชื่อว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าได้จริง
35.9
 
 
             7. ในฐานะที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เรื่องที่อยากบอกกับพี่น้องชาวต่างจังหวัดที่อาจจะต้องอยู่ใน
                 บริเวณพื้นที่รับน้ำ (แก้มลิง) หรือ อยู่ตาม แนวทางไหล ของน้ำ (Floodway) เพื่อป้องกันไม่ให้
                 น้ำท่วมกรุงเทพฯ มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ  (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เห็นใจ ขอให้อดทน สู้ต่อไป จะเป็นกำลังใจให้
25.3
ขอบคุณที่ต้องรองรับน้ำและเสียสละเพื่อคนกรุงเทพฯ
21.3
ให้เตรียมความพร้อมไว้ก่อนเช่น ยกบ้านให้สูง ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ
น้ำท่วม เตรียมช่องทางอพยพ และหาทางช่วยตนเองให้มากที่สุด
ไม่ควรหวังพึ่งรัฐบาลอย่างเดียว
13.8
พวกเราทุกคนต้องช่วยเหลือกัน และเสียสละเพื่อช่วยส่วนรวมให้มากที่สุด
8.8
ต้องเข้าใจและทำใจยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
6.8
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นเกี่ยวกับการความเชื่อมั่น
ในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ความเข้าใจและเรื่องที่ห่วงกังวลเกี่ยวกับแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ตลอดจนความรู้สึก
ที่อยากบอกกับพี่น้องชาวต่างจังหวัดที่อาจจะต้องอยู่ในพื้นที่รับน้ำ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม
และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จำนวน
ทั้งสิ้น 30 เขตได้แก่ เขตคลองสาน คลองสามวา จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางขุนเทียน
บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางนา บึ่งกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา
ราชเทวี ลาดพร้าว สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร หนองแขมและห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมาย
ที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,165 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.0 และเพศหญิงร้อยละ 51.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุ
คำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ
ประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  2 - 5 มีนาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 มีนาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
571
49.0
             หญิง
594
51.0
รวม
1,165
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
302
25.9
             26 – 35 ปี
295
25.3
             36 – 45 ปี
285
24.5
             46 ปีขึ้นไป
283
24.3
รวม
1,165
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
802
68.8
             ปริญญาตรี
321
27.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
42
3.6
รวม
1,165
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสากิจ
92
7.9
             พนักงาน ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
329
28.3
             ค้าขาย ประกอบอาชีพส่วนตัว
344
29.6
             รับจ้างทั่วไป
168
14.4
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
97
8.3
             อื่นๆ เช่น นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
135
11.5
รวม
1,165
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776