หัวข้อ   “ ความปรองดองในมุมมองประชาชน ”
 
ประชาชนร้อยละ 68.8 ระบุว่าการนิรโทษกรรม ไม่สามารถสร้างความปรองดองได้
โดยแนะให้นักการเมืองเลิกนึกถึงผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง และเลิก
ทะเลาะกันทั้งในและนอกสภาฯ ประเทศจึงจะเกิดความปรองดองและกลับมารักกัน
เหมือนเดิมได้
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็น
ของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,180 คน พบว่า
 
                  ประชาชนร้อยละ 37.7 ระบุว่ายังไม่เห็นบรรยากาศความปรองดอง
เกิดขึ้นในประเทศ
  ในขณะที่ร้อยละ 28.5 ระบุว่าเริ่มเห็นบรรยากาศความปรองดองเกิด
ขึ้นแล้ว  ส่วนร้อยละ 33.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                  ทั้งนี้สิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดความปรองดอง คือ นักการเมืองต้อง
เลิกนึกถึงผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ร้อยละ 26.7
  รองลงมาคือ
นักการเมืองต้องหันหน้าเข้าหากันเลิกทะเลาะกันทั้งในและนอกสภาฯ ร้อยละ 26.5  และ คนไทยต้องเคารพและยึดกฎหมาย
ของประเทศเป็นหลัก ร้อยละ 10.9
 
                  เมื่อถามถึงการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดทางการเมืองว่าจะสามารถสร้างความปรองดองได้หรือไม่  ประชาชน
ร้อยละ 68.8 ระบุว่าไม่สามารถสร้างความปรองดองได้
(โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนละเรื่องกัน ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา อคติ
ยังคงมีอยู่ทุกฝ่าย แต่ละฝ่ายไม่ยอมกัน ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษ และเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึกของคนในชาติ เป็นต้น)
ในขณะที่ร้อยละ 31.2 ระบุว่า สามารถสร้างความปรองดองได้ (โดยให้เหตุผลว่า เป็นการให้อภัยกัน เรื่องคงจบ เป็นการเริ่ม
ต้นใหม่โดยหันหน้ามาคุยกัน ให้โอกาสแก่ผู้ทำผิดได้กลับตัว เป็นต้น )
 
                  ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อการออก พรบ.ปรองดอง ว่ามีความจำเป็นต่อสังคมไทยเพียงใด พบว่า ประชาชน
ระบุว่าค่อนข้างจำเป็น ร้อยละ 35.4 และจำเป็นมาก ร้อยละ 24.9
  ในขณะที่ระบุว่าไม่ค่อยจำเป็น ร้อยละ 19.3 และ
ไม่จำเป็นเลย ร้อยละ 20.4 อย่างไรก็ตาม ประชาชน ร้อยละ 51.5 ระบุว่ารัฐบาลยังไม่มีการสร้างความเข้าใจและ
รายละเอียดให้ชัดเจนถึงเหตุผล ความจำเป็น และกระบวนการในการออก พรบ.ปรองดอง
  ร้อยละ 40.4 ระบุว่า
เข้าใจแต่ยังไม่ชัดเจน  มีเพียงร้อยละ 8.1 ที่ระบุว่าเข้าใจชัดเจนแล้ว
 
                  สำหรับความกังวลที่มีต่อการออก พรบ. ความปรองดอง ว่าจะเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีกนั้น
ประชาชนร้อยละ 42.1 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล และร้อยละ 17.4 กังวลมาก  ในขณะที่ ร้อยละ 26.1 ระบุว่าไม่ค่อย
กังวล   และร้อยละ 14.4 ระบุว่าไม่กังวลเลย
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อบรรยากาศความปรองดองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

 
ร้อยละ
ยังไม่เห็นบรรยากาศความปรองดองเกิดขึ้นเลย
37.7
เริ่มเห็นบรรยากาศความปรองดองเกิดขึ้นแล้ว
28.5
ไม่แน่ใจ
33.8
 
 
             2. สิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดความปรองดองและกลับมารักกันเหมือนเดิมมากที่สุด 5 อันดับแรก
                 คือ

 
ร้อยละ
นักการเมืองเลิกนึกถึงผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง
26.7
นักการเมืองต้องหันหน้าเข้าหากัน เลิกทะเลาะกันทั้งในและนอกสภาฯ
26.5
คนไทยต้องเคารพและยึดกฎหมายของประเทศเป็นหลัก
10.9
คนไทยต้องรู้จักการให้อภัยต่อกันในสังคม
10.7
คนไทยต้องยอมรับความจริงและอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
6.1
 
 
             3. เมื่อถามถึงการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดทางการเมืองว่าจะสามารถสร้างความปรองดองได้หรือไม่
                 พบว่า

 
ร้อยละ
ได้
( โดยให้เหตุผลว่า เป็นการให้อภัยกัน เรื่องคงจบ เป็นการเริ่มต้นใหม่
  หันหน้ามาคุยกัน ให้โอกาสแก่ผู้ทำผิดได้กลับตัวฯลฯ )
31.2
ไม่ได้
( โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนละเรื่องกัน ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา มีแต่คนใช้
  อำนาจ อคติยังคงมีอยู่ทุกฝ่าย แต่ละฝ่ายไม่ยอมกัน ผู้กระทำผิด
  ต้องได้รับโทษ เป็นเรื่องของจิตใต้สำนึกของคนในชาติ ฯลฯ )
68.8
 
 
             4. ความคิดเห็นที่มีต่อการออก พรบ. ปรองดอง ว่ามีความจำเป็นต่อสังคมไทย คือ

 
ร้อยละ
จำเป็น
24.9
ค่อนข้างจำเป็น
35.4
ไม่ค่อยจำเป็น
19.3
ไม่จำเป็นเลย
20.4
 
 
             5. ความคิดเห็นต่อการแสดงให้เห็นถึง เหตุผล ความจำเป็น และกระบวนการในการออก พรบ.
                 ปรองดองให้ประชาชนเข้าใจและชัดเจนจากรัฐบาล คือ

 
ร้อยละ
เข้าใจชัดเจนแล้ว
8.1
เข้าใจแต่ยังไม่ชัดเจน
40.4
ยังไม่มีการสร้างความเข้าใจและรายละเอียดให้ชัดเจนเลย
51.5
 
 
             6. ความกังวลที่มีต่อการออก พรบ. ความปรองดอง ว่าจะเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก คือ

 
ร้อยละ
กังวลมาก
17.4
ค่อนข้างกังวล
42.1
ไม่ค่อยกังวล
26.1
ไม่กังวลเลย
14.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับบรรยากาศความ
ปรองดองในประเทศไทย ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความปรองดองขึ้นในประเทศ รวมถึงความชัดเจนของกระบวนการและแนวทาง
การสร้างความปรองดองของรัฐบาล ตลอดจนความกังวลหากมีการประกาศใช้ พรบ. ความปรองดอง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมอง
ความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และ
ชั้นนอก ได้แก่เขตคลองเตย คลองสามวา ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปื บางเขน บางคอแหลม
บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พรนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี สวนหลวง
สะพานสูงและปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,180 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.5 และเพศหญิงร้อยละ 49.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุ
คำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ
ประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  26 - 30 เมษายน 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 พฤษภาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
596
50.5
             หญิง
584
49.5
รวม
1,180
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
286
24.2
             26 – 35 ปี
306
25.9
             36 – 45 ปี
287
24.3
             46 ปีขึ้นไป
301
25.6
รวม
1,180
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
718
60.8
             ปริญญาตรี
415
35.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
47
4.0
รวม
1,180
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
140
11.9
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
348
29.5
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
325
27.5
             รับจ้างทั่วไป
141
11.9
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
80
6.8
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
146
12.4
รวม
1,180
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776