หัวข้อ   “ ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ ”
 
ประชาชน 98.0% เชื่อความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์ต่อการพัฒนา
ประเทศไทย ระบุ มหาวิทยาลัย โรงเรียน และครอบครัว ควรมีบทบาท
ในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ให้เห็นเป็น
รูปธรรม
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ” โดยเก็บข้อมูลกับ
ประชาชนผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 994 คน
พบว่า
 
                  สิ่งที่ประชาชนคิดถึงมากที่สุดเมื่อพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ คือ
เป็นความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ศิลปะ การวาดรูป วาดการ์ตูน การออกแบบบ้าน
การออกแบบเสื้อผ้า (ร้อยละ 19.1)
  รองลงมาคือ การประดิษฐ์คิดค้นผลงานใหม่ๆ
ที่เกิดขึ้น (ร้อยละ 16.2)  และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การสร้างหุ่นยนต์
นวัตกรรมยานยนต์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 13.3)
 
                  เมื่อถามว่าตนเองเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ ประชาชน
ถึงร้อยละ 83.5 ระบุว่าตนเองมีความคิดสร้างสรรค์
  โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลเพิ่มเติม
ว่าความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวเกิดจากการจินตนาการ แรงบันดาลใจ ประสบการณ์ การช่างสังเกต การฝึกฝนตั้งแต่เด็ก
สิ่งแวดล้อมรอบตัว ขณะที่ร้อยละ 16.5 ระบุว่าเป็นคนไม่มีความคิดสร้างสรรค์   โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า
ไม่ชอบคิด ไม่มีจินตนาการ ความเครียด คิดไปก็ไม่มีประโยชน์ ชอบทำตามคนอื่นๆ คิดแล้วกลัวทำผิด  อย่างไรก็ตาม
เมื่อถามว่า ประเทศไทยขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 66.2 ระบุว่าขาดแคลน

โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า คนไทยไม่ชอบคิดนอกกรอบ ชอบเลียนแบบคนอื่น ไม่มีคนสนับสนุนและต่อยอดทางความคิด
ในขณะที่ร้อยละ 33.8 ระบุว่าไม่ขาดแคลน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า คนไทยชอบอะไรแปลกๆ อยู่แล้ว มีศักยภาพ
ในตัวเอง คนสมัยใหม่กล้าคิดกล้าทำ เป็นต้น   ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะเชื่อว่าตนเอง
มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวก็ไม่ได้แปลงมาสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
 
                  เมื่อถามต่อว่าปัจจัยใดเป็นตัวบั่นทอนทำลายความคิดสร้างสรรค์ในตัวของประชาชนคนไทยมาก
ที่สุด ร้อยละ 32.6 ระบุว่าเป็นผลมาจาก ความเครียดจากปัญหาด้านการเงิน และค่าครองชีพ
  รองลงมา ร้อยละ
23.5 เป็นผลมาจากสภาพสังคมไทยที่ไม่ค่อยยอมรับผู้ที่มีความคิดแปลก แตกต่าง  และร้อยละ 14.7 เชื่อว่า เป็นผลมา
จากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือ ขาดการให้ความสำคัญของฝ่ายการเมือง
 
                  ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศไทยพบว่า
ประชาชนร้อยละ 98.0 ระบุว่ามีประโยชน์
กล่าวคือจะช่วยให้มองโลกในมุมมองที่กว้างขึ้น จะทำให้มีการคิดค้นและ
พัฒนาสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น รวมถึงมีแนวคิดใหม่ๆ ทำให้คนมีการพัฒนา ทันสมัยทันโลก เป็นผู้นำทางความคิด ขณะที่มีเพียง
ร้อยละ 2.0 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่มีประโยชน์
  โดยประชาชนกลุ่มนี้เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประเทศไทยก็พัฒนาอยู่แล้ว
 
                  ทั้งนี้ประชาชนเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรเป็นสถาบันที่มีบทบาทมากถึงมากที่สุดในการพัฒนาความคิด
เชิงสร้างสรรค์ให้เห็นเป็นรูปธรรม (ร้อยละ 81.5)
  รองลงมาคือ โรงเรียน (ร้อยละ 80.4) และครอบครัว (ร้อยละ 74.3)
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. เรื่องที่คิดถึงมากที่สุด 5 อันดับแรก เมื่อพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ศิลปะ การวาดรูป วาดการ์ตูน การออกแบบบ้าน การออกแบบเสื้อผ้า
19.1
การประดิษฐ์คิดค้นผลงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
16.2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การสร้างหุ่นยนต์ นวัตกรรม
ยานยนต์ โทรศัพท์มือถือที่มีกล้องมี wi-fi ไอที กราฟฟิคต่างๆ ฯลฯ
13.3
การทำงานรูปแบบใหม่ๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
7.9
ความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนาต่างๆ
7.0
 
 
             2. เมื่อถามว่าตนเองเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
มีความคิดสร้างสรรค์
( โดยให้เหตุผลว่า เกิดจากการจินตนาการ แรงบันดาลใจ ประสบการณ์
  การช่างสังเกต การฝึกฝนตั้งแต่เด็ก สิ่งแวดล้อมรอบตัว ฯลฯ )
83.5
ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
( โดยให้เหตุผลว่า ไม่ชอบคิด ไม่มีจินตนาการ ความเครียด คิดไป
  ก็ไม่มีประโยชน์ ชอบทำตามคนอื่นๆ คิดแล้วกลัวทำผิด ฯลฯ )
16.5
 
 
             3. เมื่อถามว่าประเทศไทยขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
ขาดแคลน
( โดยให้เหตุผลว่า คนไทยไม่ชอบคิดนอกกรอบ แนวคิดเดิมๆ ที่ยึดถือ
  กันมา ชอบเลียนแบบคนอื่น คิดแล้วไม่สามัคคีเลยไม่ได้ลงมือทำ
  ไม่มีคนสนับสนุนและต่อยอดทางความคิด ฯลฯ )
66.2
ไม่ขาดแคลน
( โดยให้เหตุผลว่า คนไทยชอบอะไรแปลกๆ อยู่แล้ว มีศักยภาพใน
  ตัวเอง คนสมัยใหม่กล้าคิดกล้าทำ ฯลฯ )
33.8
 
 
             4. เรื่องที่เป็นตัวบั่นทอนทำลายความคิดสร้างสรรค์ ในตัวของประชาชน คือ

 
ร้อยละ
ความเครียดจากปัญหาด้านการเงิน และค่าครองชีพ ทำให้มี
ข้อจำกัดในการสร้างความคิดสร้างสรรค์
32.6
สภาพสังคมไทยที่ไม่ค่อยยอมรับผู้ที่มีความคิดแปลก แตกต่าง หรือ
การถูกปิดกั้นโอกาส และการแสดงออกทางความคิด
23.5
การขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือ ขาดการให้ความสำคัญของฝ่าย
การเมือง
14.7
การลอกเลียนแบบทำให้ขาดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (เช่น
copy ซีดี)
10.3
ครอบครัว โรงเรียน หรือระบบการศึกษาของไทยที่ยังไม่สอนให้คนมี
ความคิดสร้างสรรค์
7.9
ตัวเราเองที่เป็นคนปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์
7.3
อื่นๆ อาทิ อายุที่เพิ่มขึ้น
3.7
 
 
             5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศไทย

 
ร้อยละ
มีประโยชน์
( โดยให้เหตุผลว่า มองโลกในมุมมองที่กว้างขึ้น จะทำให้มีการคิดค้น
  และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น มีแนวคิดใหม่ๆ ทำให้คนมีการพัฒนา
  ทันสมัยทันโลก เป็นผู้นำทางความคิด ฯลฯ )
98.0
ไม่มีประโยชน์
( โดยให้เหตุผลว่า ไม่เห็นประโยชน์อะไรเลย ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม
  ประเทศไทยก็พัฒนาอยู่แล้ว ฯลฯ )
2.0
 
 
             6. ความเห็นต่อสถาบันต่างๆ ว่าควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความคิดเชิง
                 สร้างสรรค์ให้เห็นเป็นรูปธรรมมากน้อยเพียงใด พบว่า

หน่วยงาน
มากถึงมากที่สุด
(ร้อยละ)
ปานกลาง
(ร้อยละ)
น้อยถึงน้อยที่สุด
(ร้อยละ)
มหาวิทยาลัย
81.5
14.7
3.8
โรงเรียน
80.4
16.2
3.4
ครอบครัว
74.3
21.4
4.3
รัฐบาล
69.3
23.1
7.6
สื่อมวลชน
66.4
25.8
7.8
ที่ทำงาน/บริษัท
57.0
35.0
8.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อความคิด
สร้างสรรค์ในแง่มุมต่างๆ รวมถึงเรื่องที่บั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ของประชาชน ตลอดจนประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
และหน่วยงานหรือสถาบันที่ควรช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของ
ประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่
เขตคลองสาน คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางขุนเทียน บางแค บางนา บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ
พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วัฒนา สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม หนองแขม และห้วยขวาง
จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 994 คน เป็นเพศชายร้อยละ
50.2 และเพศหญิงร้อยละ 49.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบ
เองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  16 - 18 พฤษภาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 พฤษภาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
499
50.2
             หญิง
495
49.8
รวม
994
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
282
28.4
             26 – 35 ปี
257
25.9
             36 – 45 ปี
225
22.6
             46 ปีขึ้นไป
230
23.1
รวม
994
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
626
63.0
             ปริญญาตรี
333
33.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
35
3.5
รวม
994
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
105
10.6
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
260
26.1
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
251
25.3
             รับจ้างทั่วไป
113
11.4
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
60
6.0
             นักศึกษา
171
17.2
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
34
3.4
รวม
994
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776