หัวข้อ   “ จีดีพีกับหนี้สาธารณะ
นักเศรษฐศาสตร์ 57.4% บอกว่ามีโอกาสมากกว่าครึ่งที่จีดีพีจะขยายตัวเฉลี่ยน้อยกว่า 4% ในช่วงปี
2557-2563 และจะทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเกิน 50% แต่ 63.9% บอกว่าหนี้ครัวเรือนน่าห่วงกว่า
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 31
แห่ง จำนวน 61 คน เรื่อง “จีดีพีกับหนี้สาธารณะ” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 22 –28
สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.5 เห็นว่าในช่วงปี 2557-2563
ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลมีแผนจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตาม พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ และ พ.ร.บ.ลงทุนใน โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยมีโอกาสกว่า 50% ที่จะขยายตัว
เฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 5.63 ต่อปี
(จีดีพี ณ ราคาประจำปี)ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัว
เฉลี่ยในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา เมื่อถามต่อว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่จีดีพีจะขยายตัว
น้อยกว่าร้อยละ 4 ต่อปี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.4 บอกว่ามีโอกาส
มากกว่า 50% นั่นหมายความว่ามีโอกาสมากกว่าครึ่งเช่นกันที่สัดส่วนหนี้
สาธารณะต่อจีดีพีจะเกินร้อยละ50 ตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้
 
                 นอกจากนี้ร้อยละ 85.2 คิดว่ารัฐบาลยังคงต้องใช้งบประมาณแบบ
ขาดดุลอยู่ในปี 2560
มีเพียงร้อยละ 11.5 ที่คิดว่ารัฐบาลน่าจะใช้งบประมาณแบบ
สมดุลได้ตามที่ ได้วางแผนไว้ และนักเศรษฐศาสตร์มากถึง ร้อยละ 90.2 เชื่อว่ามี
โอกาสมากกว่า 50% ที่รัฐบาลในช่วงปี 2560-2563 จะใช้งบประมาณแบบ
ขาดดุลเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า “ระหว่างหนี้สาธารณะ หนี้ภาคเอกชน
และหนี้ครัวเรือนหนี้อะไรน่าเป็นห่วงที่สุด” ร้อยละ 63.9 บอกว่า หนี้ครัวเรือนน่า
ห่วงที่สุด
รองลงมาร้อยละ 31.1 หนี้สาธารณะน่าห่วงที่สุด ขณะที่หนี้ภาคเอกชน
ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนใดที่เห็นว่าน่าห่วง
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากรัฐบาลจะใช้นโยบายงบประมาณรายจ่ายสมดุลอย่างยั่งยืน” ในช่วงปี 2560 เป็นต้นไป รัฐบาลต้องดำเนินการอะไรบ้างในตอนนี้
                  อันดับ 1 เห็นว่าต้องหยุด เลิก โครงการประชานิยมต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะชดเชยราคา การโอนความ
                              มั่งคั่ง เนื่องจากโครงการในลักษณะนี้เป็นโครงการที่ไม่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการผลิต
                              ให้สูงขึ้น
                  อันดับ 2 เห็นว่าต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ช่วยสร้าง
                              รายได้ให้กับรัฐเมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ
                              ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. โอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2557-2563 จะขยายตัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 16 ปี ที่ระดับร้อยละ 5.63 ต่อปี
                 (จีดีพี ณ ราคาประจำปี)
 
 
             2. โอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2557-2563 จะขยายตัวเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี (จีดีพี ณ ราคา
                 ประจำปี) ซึ่งจะเป็นระดับที่ทำให้หนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี ตามที่รัฐบาลประกาศไว้

 
 
             3. ข้อคำถาม “ ในปี 2560 งบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลจะอยู่ในภาวะสมดุลตามที่ประกาศไว้
                 ได้หรือไม่” (ภาวะสมดุล คือ รายรับเท่ากับรายจ่าย ไม่มีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ)

ร้อยละ
 
85.2
คิดว่ารัฐบาลยังคงต้องใช้งบประมาณแบบขาดดุลอยู่
11.5
คิดว่ารัฐบาลน่าจะใช้งบประมาณแบบสมดุลได้
3.3
ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
 
 
             4. ในช่วงปี 2560-2563 มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่รัฐบาลในช่วงนั้นจะใช้งบประมาณ
                 แบบขาดดุล (ในช่วงปี 2560-2563 เป็นช่วงปลายการลงทุนตาม พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ และ
                 พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน)

 
 
             5. หนี้สาธารณะ หนี้ภาคเอกชน และหนี้ภาคครัวเรือน หนี้อะไรที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในตอนนี้

ร้อยละ
 
63.9
หนี้ครัวเรือนน่าห่วงที่สุด
31.1
หนี้สาธารณะน่าห่วงที่สุด
0.0
หนี้ภาคเอกชนน่าห่วงที่สุด
5.0
ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
 
 
             6. ในปี 2560 เป็นต้นไป หากรัฐบาลจะใช้นโยบายงบประมาณรายจ่ายสมดุลอย่างยั่งยืน รัฐบาลต้อง
                  ดำเนินการอย่างไรในตอนนี้

อันดับ 1 หยุด เลิก โครงการประชานิยมต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะชดเชยราคา การโอนความ
            มั่งคั่ง เนื่องจากโครงการในลักษณะนี้เป็นโครงการที่ไม่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพ
            ในการผลิตให้สูงขึ้น
อันดับ 2 เห็นว่าต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์
           ช่วยสร้างรายได้ให้กับรัฐเมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
           ให้กับประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน
อันดับ 3 เร่งรัดการจัดเก็บภาษี การเพิ่มภาษี ต้องรีบผ่าน พ.ร.บ. กู้เงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
           พร้อมกับลดรายจ่ายไปด้วย
อันดับ 4 ต้องมีวินัยทางการคลัง มีการติดตามการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
อันดับ 5 ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
อันดับ 6 อื่นๆ ได้แก่ เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภค การลงทุน ขยายกำลังซื้อในประเทศ
           ปรับเปลี่ยนวิธีใช้งบประมาณ คงต้องใช้งบประมาณแบบขาดดุลไปก่อน และคนไทยต้อง
           อยู่อย่างพอเพียงช่วยตัวเองได้
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                       เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งจะมีผลต่อระดับ
หนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศ รวมถึงสะท้อนความเห็นต่อประเด็นดุลงบประมาณที่รัฐบาลมีนโยบายในการใช้งบประมาณ
แบบสมดุลในปี 2560 นี้
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์
               วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 31 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงาน
               คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจ
               อุตสาหกรรม  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัย
               เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
               ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์                          ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  
               ธนาคารธนชาต   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   บริษัททริสเรทติ้ง   บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส
               บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการ
               กองทุนกรุงไทย   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์   คณะมนุษยศาสตร์
               และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา   สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   คณะวิทยาการจัดการ
               มหาวิทยาลัยขอนแก่น   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และ
ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  22-28 สิงหาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 2 กันยายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
26
42.6
             หน่วยงานภาคเอกชน
20
32.8
             สถาบันการศึกษา
15
24.6
รวม
61
100.0
เพศ:    
             ชาย
33
54.1
             หญิง
28
45.9
รวม
61
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.7
             26 – 35 ปี
19
31.1
             36 – 45 ปี
18
29.5
             46 ปีขึ้นไป
23
37.7
รวม
61
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
6.6
             ปริญญาโท
41
67.2
             ปริญญาเอก
16
26.2
รวม
61
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
8
13.1
             6 - 10 ปี
14
23.0
             11 - 15 ปี
12
19.7
             16 - 20 ปี
8
13.1
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
19
31.1
รวม
61
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776