หัวข้อ   “ ปัญหาการเมืองและอารมณ์ของคนกรุงต่อการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่
คนกรุงเทพฯ กว่า 50% เห็นว่าปีใหม่ปีนี้จะไม่ค่อยคึกคักเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ชี้ความขัดแย้งทางการเมือง
ส่งผลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว ทั้งในแง่อารมณ์และความรู้สึก รวมถึงการวางแผนไปท่องเที่ยว
และอยากขอพรให้ไม่มีม็อบของทุกสีอีกต่อไป คนไทยสามัคคี บ้านเมืองสงบสุข ในปี 2557
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “ปัญหาการเมืองและอารมณ์ของคนกรุงต่อการท่องเที่ยวช่วงเทศกาล
ปีใหม่” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,187 คน พบว่า คนกรุงเทพส่วนใหญ่ร้อยละ 51.3 เห็นว่า
เทศกาลปีใหม่ปีนี้จะคึกคักน้อยกว่าปีที่แล้ว
ขณะที่ร้อยละ 26.4 เห็นว่าจะคึกคักพอๆ
กับปีที่แล้ว และร้อยละ 17.2 เห็นว่าจะซึมๆ ไม่คึกคัก มีเพียงร้อยละ 5.1 ที่เห็นว่าคึกคัก
มากกว่าปีที่แล้ว
 
                 เมื่อถามว่าความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและม็อบผู้ชุมนุม
จะทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ในแง่ใดมากที่สุดอันดับแรกคือ
ในแง่อารมณ์และความรู้สึกต่อการไปท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 39.8
รองลงมาคือ ในแง่
การเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 25.9 ส่วนในแง่การจับจ่ายใช้สอย กับ ในแง่การยกเลิกจัดกิจกรรม
ของหน่วยงานต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 12.3 เท่ากัน
 
                 นอกจากนี้เมื่อถามความคิดเห็นต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
ที่เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อแผนท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่หรือไม่ ส่วนใหญ่
ร้อยละ 56.6 เห็นว่าส่งผลต่อแผนท่องเที่ยว
ขณะที่ร้อยละ 26.2 ไม่ส่งผลยังคงแผนเดิม
และร้อยละ17.2 ไม่มีแผนไปท่องเที่ยวอยู่แล้ว โดยในจำนวนผู้ที่เห็นว่าส่งผล ร้อยละ 32.7
บอกว่าทำให้ต้องคอยติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา เลยวางแผนท่องเที่ยวไม่ได้ ขณะที่
ร้อยละ 13.6 ทำให้ต้องเปลี่ยนแผนการไปท่องเที่ยว และร้อยละ 10.3 ทำให้ต้องยกเลิก
แผนการไปท่องเที่ยว
 
                 ส่วนความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “อยากให้ผู้ชุมนุมและรัฐบาลทำอะไร เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการ
ท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่มากที่สุด” ร้อยละ 69.1 อยากให้ กปปส. กับรัฐบาลรีบหาทางออกร่วมกันเพื่อเป็น
ของขวัญให้กับประชาชนก่อนปีใหม่
ขณะที่ร้อยละ 11.9 อยากให้อดทนต่อการยั่วยุ /ไม่ใช้ความรุนแรงของทั้ง 2 ฝ่าย
และร้อยละ 10.4 อยากให้ กปปส. หยุดชุมนุมชั่วคราวในช่วงเทศกาลปีใหม่
 
                  สำหรับสถานที่ที่ตั้งใจจะไปนับถอยหลัง (เคาท์ดาวน์) เข้าสู่ปีใหม่ 2557 / 2014 มากที่สุดคือ
ที่บ้านกับครอบครัว (ร้อยละ 62.6)
รองลงมาคือ ดอยและภูต่างๆทางภาคเหนือและอีสาน เช่น เชียงใหม่ เลย
(ร้อยละ 10.8) และสวดมนต์ข้ามปีตามวัดต่างๆ (ร้อยละ 10.3)
 
                 ด้านการรณรงค์ 7 วันอันตรายของภาครัฐ จะช่วยลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตให้น้อยกว่าปีที่แล้ว
ได้มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 57.8 เชื่อว่าจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตจะพอๆกับปีที่แล้ว
ร้อยละ 28.0
เชื่อว่าจะน้อยกว่าปีที่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 14.2 เชื่อว่าน่าจะมากกว่าปีที่แล้ว
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงพรปีใหม่ที่อยากขอให้ประเทศไทยประสบพบเจอในปี พ.ศ. 2557 มากที่สุดคือ
ขอให้ไม่มีม็อบของทุกสีอีกต่อไป คนไทยสามัคคี บ้านเมืองสงบสุข (ร้อยละ 70.5)
รองลงมาคือ ขอให้ประเทศไทย
เจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาขึ้น มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น กว่าปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 13.0) และขอให้มีการเมืองที่ดี รัฐบาลใหม่ที่มั่นคง
ซื่อสัตย์ ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 9.3)
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. เทศกาลปีใหม่ปีนี้จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
 
ร้อยละ
คึกคักมากกว่า
5.1
คึกคักพอๆกับปีที่แล้ว
26.4
คึกคักน้อยกว่า
51.3
ซึมๆ ไม่คึกคัก
17.2
 
 
             2. ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและม็อบผู้ชุมนุม จะทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวช่วง
                 เทศกาลปีใหม่ในแง่ใดมากที่สุด

 
ร้อยละ
ในแง่อารมณ์และความรู้สึกต่อการไปท่องเที่ยว
39.8
ในแง่การเดินทาง
25.9
ในแง่การจับจ่ายใช้สอย
12.3
ในแง่การยกเลิกจัดกิจกรรมของหน่วยงานต่างๆ
12.3
ในแง่สื่อทีวีนำเสนอแต่ข่าวการชุมนุม
9.7
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อแผนท่องเที่ยว
                 ในช่วงเทศกาลปีใหม่หรือไม่

 
ร้อยละ
ส่งผลต่อแผนท่องเที่ยว
โดย
ทำให้ต้องยกเลิกแผนการไปท่องเที่ยว
ร้อยละ 10.3
 
ทำให้ต้องเปลี่ยนแผนการไปท่องเที่ยว
ร้อยละ 13.6
 
ทำให้ต้องคอยติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา เลยวางแผนท่องเที่ยวไม่ได้
ร้อยละ 32.7
56.6
ไม่ส่งผลยังคงแผนเดิม
26.2
ไม่มีแผนไปท่องเที่ยวอยู่แล้ว
17.2
 
 
             4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “อยากให้ผู้ชุมนุมและรัฐบาลทำอะไร เพื่อส่งเสริมบรรยากาศ
                 การท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่มากที่สุด”

 
ร้อยละ
อยากให้ กปปส. กับรัฐบาลรีบหาทางออกร่วมกันเพื่อเป็นของขวัญให้กับ
ประชาชนก่อนปีใหม่
69.1
อยากให้อดทนต่อการยั่วยุ /ไม่ใช้ความรุนแรง ของทั้ง 2 ฝ่าย
11.9
อยากให้ กปปส. หยุดชุมนุมชั่วคราวในช่วงเทศกาลปีใหม่
10.4
อยากให้ กปปส. ลดระดับการชุมนุม /ชุมนุมในที่ตั้ง
8.6
 
 
             5. สถานที่ที่ตั้งใจจะไปนับถอยหลัง (เคาท์ดาวน์)เข้าสู่ปีใหม่ 2557 / 2014

 
ร้อยละ
ที่บ้านกับครอบครัว
62.6
ดอยและภูต่างๆทางภาคเหนือและอีสาน เช่น เชียงใหม่ เลย
10.8
สวดมนต์ข้ามปีตามวัดต่างๆ
10.3
ชายหาด ทะเล และเกาะต่างๆ เช่น พัทยา เกาะเสม็ด
8.4
ห้างสรรพสินค้า ที่จัดงาน เช่น เซ็นทรัลเวิลด์
4.4
ผับ/บาร์ สถานบันเทิง
2.5
ฉลองในต่างประเทศ
1.0
 
 
             6. การรณรงค์ 7 วันอันตรายของภาครัฐ จะช่วยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิต
                 ให้น้อยกว่าปีที่แล้วได้มากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจะน้อยกว่าปีที่แล้ว
28.0
เชื่อว่าจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจะพอๆกับปีที่แล้ว
57.8
เชื่อว่าจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจะมากกว่าปีที่แล้ว
14.2
 
 
             7. พรปีใหม่ที่อยากขอให้ประเทศไทยประสบพบเจอในปี พ.ศ. 2557 (5 อันดับแรก)
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ขอให้ไม่มีม็อบของทุกสีอีกต่อไป คนไทยสามัคคี บ้านเมืองสงบสุข
70.5
ขอให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาขึ้น มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น กว่าปีที่ผ่านมา
13.0
ขอให้มีการเมืองที่ดี รัฐบาลใหม่ที่มั่นคงซื่อสัตย์ ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น
9.3
ขอให้คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเอง ใช้สิทธิ์โดยไม่ละเมิดกฎหมาย
1.0
ขอให้ประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จริงๆเสียที
0.9
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 1. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อความขัดแย้งทางการเมืองกับการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่
                 2. เพื่อต้องการทราบถึงสถานที่ที่ตั้งใจจะไปนับถอยหลังสู่ปี พ.ศ. 2557 / 2014
                 3. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการรณรงค์ 7 วันอันตรายของภาครัฐ จะช่วยลดอุบัติเหตุ
                     และการเสียชีวิตให้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา
                 4. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อพรปีใหม่ที่อยากขอให้กับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2557
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 24
เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ
บางเขน บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี
สวนหลวง สะพานสูงและสาทร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูล
โดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,187 คน เป็นชายร้อยละ 50.1 และหญิงร้อยละ 49.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด (Open – ended Questions)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 6 - 9 ธันวาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 ธันวาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
594
50.1
             หญิง
593
49.9
รวม
1,187
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
300
25.3
             26 – 35 ปี
308
25.9
             36 – 45 ปี
295
24.9
             46 ปีขึ้นไป
284
23.9
รวม
1,187
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
574
48.4
             ปริญญาตรี
520
43.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
93
7.8
รวม
1,187
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
128
10.8
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
402
33.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
257
21.7
             เจ้าของกิจการ
46
3.9
             รับจ้างทั่วไป
111
9.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
76
6.4
             นักศึกษา
139
11.7
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
28
2.3
รวม
1,187
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776