หัวข้อ   “ ประเทศไทยกับการปฏิรูป
ประชาชน 79% ชี้ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูป 41% บอกการปฏิรูปต้องเริ่มที่ด้านการเมือง
การปกครอง 75% อยากให้ปฏิรูปเรื่องความศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาดของกฎหมายมากที่สุด และ
40% เชื่อภาคประชาชน คือกลไกสำคัญที่สุดในการกำหนดความสำเร็จของการปฏิรูป
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชนครอบคลุม 75 จังหวัดจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน
631 คน ในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการปฏิรูป” พบว่า
 
                 ประชาชนร้อยละ 79.3 เห็นว่าในเวลานี้ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีการปฏิรูป
ด้านต่างๆ ขณะที่ร้อยละ 20.7 เห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องปฏิรูป เมื่อถามต่อว่าหากจำเป็นต้องปฏิรูป
การปฏิรูปต้องเริ่มต้นอย่างจริงจังในด้านใดก่อน ร้อยละ 41.0 เห็นว่าควรปฏิรูปด้านการเมือง/การ
ปกครองก่อน รองลงมาร้อยละ 22.8 เห็นว่าควรปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ และร้อยละ 20.6 เห็นว่า
ควรปฏิรูปด้านกฎหมาย
 
                 สำหรับเรื่องที่ประชาชนอยากให้มีการปฏิรูปมากที่สุดคือ เรื่องความศักดิ์สิทธิ์
เด็ดขาดของกฎหมาย (ร้อยละ 75.4 ) รองลงมาเป็นเรื่องการซื้อเสียงเลือกตั้ง (ร้อยละ 67.4)
และเรื่องคดีคอร์รัปชั่นต้องไม่มีอายุความ (ร้อยละ 67.0) ส่วนประเด็นการปฏิรูปวงการตำรวจ
มีประชาชนร้อยละ 32.0 ที่ต้องการให้มีการปฏิรูป เช่นเดียวกับประเด็นผู้ว่าราชการจังหวัดต้อง
มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนร้อยละ 31.9 ที่ต้องการให้มีการปฏิรูป
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า ภาคส่วนใดคือกลไกสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของการปฏิรูป ร้อยละ 39.6 บอกว่า
ภาคประชาชน รองลงมาร้อยละ 24.1 คือ ผู้นำประเทศ และร้อยละ 17.6 คือ ภาคนักการเมือง ขณะที่ กองทัพ ภาคนักวิชาการ
และภาคธุรกิจมีประชาชนเพียงร้อยละ 7.0 ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับที่เห็นว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนด
ความสำเร็จของการปฏิรูป
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. เวลานี้ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูปด้านต่างๆ หรือไม่

 
ร้อยละ
เห็นว่า “จำเป็นต้องปฏิรูป”
79.3
เห็นว่า “ไม่จำเป็นต้องปฏิรูป”
20.7
 
 
             2. หากต้องปฏิรูป การปฏิรูปต้องเริ่มต้นอย่างจริงจังในด้านใดมากที่สุดก่อน

 
ร้อยละ
การเมือง/การปกครอง
41.0
เศรษฐกิจ
22.8
กฎหมาย
20.6
สังคม
13.5
อื่นๆ คือ การศึกษา ศีลธรรม จิตสำนึก
2.1
 
 
             3. หากต้องปฏิรูป อยากให้มีการปฏิรูปเรื่องใดมากที่สุด 3 ลำดับแรก

 
ร้อยละ
ความศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาดของกฎหมาย
75.4
การซื้อเสียงเลือกตั้ง
67.4
คดีคอร์รัปชั่นต้องไม่มีอายุความ
67.0
ปฏิรูปวงการตำรวจ
32.0
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้ง
31.9
ปฏิรูปสื่อมวลชน
16.6
อื่นๆ เช่น วินัยของคนไทย ความคิด การศึกษา คุณธรรม
2.9
 
 
             4. ภาคส่วนใดคือกลไกสำคัญที่สุดในการกำหนดความสำเร็จของการปฏิรูป

 
ร้อยละ
ภาคประชาชน
39.6
ผู้นำประเทศ
24.1
ภาคนักการเมือง
17.6
กองทัพ
7.0
ภาคนักวิชาการ
6.0
ภาคธุรกิจ
3.0
อื่นๆ ข้าราชการ ทุกภาคส่วน
2.7
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนว่าในเวลานี้ประเทศไทยควรต้องปฏิรูปหรือไม่ และถ้าหากจะมีการปฏิรูป
ควรจะปฏิรูปเรื่องอะไรบ้าง และใครคือผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของการปฏิรูป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการสุ่ม
ตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น
631 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.8 และเพศหญิงร้อยละ 50.2
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ
(Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล
และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 12 - 14 ธันวาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 ธันวาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
314
49.8
             หญิง
317
50.2
รวม
631
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
75
11.9
             26 – 35 ปี
139
22.0
             36 – 45 ปี
158
25.0
             46 – 55 ปี
170
26.9
             56 ปีขึ้นไป
89
14.2
รวม
631
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
407
64.5
             ปริญญาตรี
173
27.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
51
8.1
รวม
631
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
84
13.3
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
121
19.2
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
157
24.9
             รับจ้างทั่วไป
94
14.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
59
9.4
             นักศึกษา
31
4.9
             เกษตรกร
78
12.4
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
7
1.0
รวม
631
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776