หัวข้อ   “ บทบาทของศิลปินและละครไทยในปัจจุบัน
คนกรุง 65.1% ชี้ดารา นักร้องออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่เกี่ยวกับการติดตามผลงาน และ 85%
เห็นว่าศิลปินไทยมีอิทธิพลต่อการเป็นแบบอย่างที่ดี แต่ติงการแต่งโป๊ การสร้างกระแสผ่านสังคมออนไลน์
ยกเบิร์ด ธงไชย เป็นแบบอย่างที่ดีมากที่สุด ชี้ละครไทยมีแต่แย่งชิง น้ำเน่า ตบตี ยังสู้ซีรีย์เกาหลี ญี่ปุ่นไม่ได้
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เนื่องในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้เป็นวันศิลปินแห่งชาติ ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง
“บทบาทของศิลปินและละครไทยในปัจจุบัน” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปี
ขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,197 คนพบว่า
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84.5 เห็นว่า ศิลปินไทย (นักร้อง นักแสดง) ในปัจจุบันมีอิทธิพล
ต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 15.5 เห็นว่า
มีอิทธิพลต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  เมื่อถามถึงแบบอย่างที่ไม่ดีของศิลปินไทย (นักร้อง นักแสดง)
ที่อาจเป็นตัวอย่างให้เยาวชนทำตาม หรือเลียนแบบคือ แต่งตัวโป๊วาบหวิว (ร้อยละ
79.0)
รองลงมาคือ สร้างกระแสให้ตัวเองผ่าน สังคมออนไลน์ (ร้อยละ 53.5) และดื่มเหล้า
สูบบุหรี่ (ร้อยละ 41.8)
 
                  สำหรับศิลปิน นักแสดง นักร้อง ชายและหญิง ที่เป็นแบบอย่างที่ดี
มากที่สุดในสายตาประชาชนอันดับแรกคือ ธงไชย แมคอินไตย์ (ร้อยละ 14.0)

รองลงมาคือ แอน ทองประสม (ร้อยละ 7.5) พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (ร้อยละ 7.3) อาทิวราห์
คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม) (ร้อยละ 5.1) และณเดชน์ คูกิมิยะ (ร้อยละ 4.1)
 
                  นอกจากนี้เมื่อถามว่าการที่นักแสดง นักร้อง ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง มีผลทำให้ไม่ติดตาม
ผลงานใช่หรือไม่ ร้อยละ 65.1 บอกว่า “ไม่ใช่”
ขณะที่ร้อยละ 26.4 บอกว่า “ใช่” และร้อยละ 8.5 บอกว่า ไม่แน่ใจ
 
                  ด้านความเห็นต่อภาพลักษณ์ละครไทยปัจจุบัน ประชาชนร้อยละ 94.5 เห็นว่ามักมีเนื้อหาแย่งชิง
ผู้ชาย / ชิงดีชิงเด่น มากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 74.6 เห็นว่ามีการสอดแทรกวัฒนธรรมประเพณีไทย
ประวัติศาสตร์น้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  สำหรับแนวละครที่อยากชมมากที่สุดในปีนี้คือ แนวประวัติศาสตร์ไทย (ร้อยละ 57.1) รองลงมาคือ
แนวตลก (ร้อยละ 51.6) และแนวชีวิต ดราม่า (ร้อยละ 20.6)
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “ท่านคิดว่าอุตสาหกรรมละครไทยในปัจจุบัน สามารถแข่งขันกับ ซีรี่ย์ เกาหลี
ญี่ปุ่น ได้หรือไม่ ร้อยละ 49.7 บอกว่ายังไม่สามารถแข่งขันได้
ขณะที่ร้อยละ 33.4 บอกว่าสามารถแข่งขันได้ และ
ร้อยละ 16.9 ไม่แน่ใจ
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ศิลปินไทย (นักร้อง นักแสดง) ในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชน
                 มากน้อยเพียงใด


 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 18.0 และมากร้อยละ 66.5)
84.5
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 13.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 2.0)
15.5
 
 
             2.แบบอย่างที่ไม่ดีใดต่อไปนี้ ของศิลปินไทย (นักร้อง นักแสดง) ที่อาจเป็นตัวอย่างให้เยาวชน
                ทำตาม หรือเลียนแบบ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
แต่งตัวโป๊วาบหวิว
79.0
สร้างกระแสให้ตัวเองผ่าน สังคมออนไลน์
53.5
ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
41.8
พูดโกหก ไม่ตรงความจริง
40.5
เจ้าชู้ คาสโนว่า คาสโนวี่
34.6
 
 
             3.ศิลปิน นักแสดง นักร้อง ชายและหญิง ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในสายตาประชาชน (5 อันดับแรก)
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ธงไชย แมคอินไตย์
14.0
แอน ทองประสม
7.5
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
7.3
อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม)
5.1
ณเดชน์ คูกิมิยะ
4.1
 
 
             4. การที่นักแสดง นักร้อง ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง มีผลทำให้ไม่ติดตามผลงานใช่หรือไม่

 
ร้อยละ
ใช่
26.4
ไม่ใช่
65.1
ไม่แน่ใจ
8.5
 
 
             5. การที่นักแสดง นักร้อง ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง มีผลทำให้ไม่ติดตามผลงานใช่หรือไม่

 
มากถึงน้อยที่สุด
(ร้อยละ)
น้อยถึงน้อยที่สุด
(ร้อยละ)
มักมีเนื้อหาแย่งชิงผู้ชาย / ชิงดีชิงเด่น
94.5
5.5
เนื้อหาน้ำเน่าไร้สาระ
81.0
19.0
ชอบใช้ความรุนแรง ตบตี
80.9
19.1
มีเนื้อหาสอดแทรก คติ แง่คิดดีๆ ให้ผู้ชม
41.6
58.4
มีเนื้อหาชวนให้คิดตาม / ขบคิดตลอดเวลา ไม่น่าเบื่อ
38.8
61.2
มีการสอดแทรกวัฒนธรรมประเพณีไทย ประวัติศาสตร์
25.4
74.6
 
 
             6.แนวละครที่อยากชมมากที่สุดในปีนี้
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
แนวประวัติศาสตร์ไทย
57.1
แนวตลก
51.6
แนวชีวิต ดราม่า
20.6
แนวบู๊ แอ็คชั่น
18.6
แนวรักโรแมนติก
17.0
แนวหักเหลี่ยมเฉือนคม
14.3
แนวผี สยองขวัญ
12.2
 
 
             7. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านคิดว่าอุตสาหกรรมละครไทยในปัจจุบัน สามารถแข่งขันกับ
                 ซีรี่ย์ เกาหลี ญี่ปุ่น ได้หรือไม่”

 
ร้อยละ
สามารถแข่งขันได้
33.4
ยังไม่สามารถแข่งขันได้
49.7
ไม่แน่ใจ
16.9
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นที่มีต่อบทบาทการเป็นแบบอย่างที่ดีของศิลปิน นักร้อง นักแสดง
                  2. เพื่อต้องการทราบถึงภาพลักษณ์ของละครไทย และแนวละครที่อยากชมในปีนี้
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 24 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ธนบุรี บางกอกน้อย
บางเขน บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทรและสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,197 คน เป็นชาย
ร้อยละ 49.0 และหญิงร้อยละ 51.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด (Open Ended) จากนั้นคณะนักวิจัย
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 13 - 17 กุมภาพันธ์ 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 กุมภาพันธ์ 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
587
49.0
             หญิง
610
51.0
รวม
1,197
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
307
25.6
             26 – 35 ปี
327
27.3
             36 – 45 ปี
285
23.8
             46 ปีขึ้นไป
278
23.2
รวม
1,197
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
662
55.3
             ปริญญาตรี
439
36.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
96
8.0
รวม
1,197
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
128
10.7
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
371
31.0
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
275
23.0
             เจ้าของกิจการ
57
4.8
             รับจ้างทั่วไป
136
11.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
71
5.9
             นักศึกษา
141
11.8
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
18
1.4
รวม
1,197
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776