หัวข้อ   “ คนไทยคิดอย่างไรกับกฎหมายนิรโทษกรรมสู่ความปรองดอง
ประชาชน 71.6% เห็นด้วยกับการคงกฎอัยการศึกจนวันเลือกตั้ง
ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรม
56.8% ระบุนายกฯ จำเป็นต้องคุยปรองดองกับแกนนำ แต่ไม่จำเป็นต้องคุยกับ พ.ต.ท. ทักษิณ
52.6% คิดว่าการปฏิรูปเพื่อสร้างความปรองดองมาถูกทางแล้ว
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรกับกฎหมายนิรโทษกรรม
สู่ความปรองดอง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน
1,137 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 47.4 ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมาย
นิรโทษกรรมทางการเมือง
ขณะที่ร้อยละ 40.4 เห็นด้วย (ในจำนวนนี้ร้อยละ 22.4
อยากให้นิรโทษกรรมทั้งประชาชนที่ร่วมชุมนุมและแกนนำการชุมนุม และร้อยละ 18.0
อยากให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนที่ร่วมชุมนุม)
 
                  เมื่อถามว่าการออกกฎหมายนิรโทษกรรมจะช่วยสร้าง
ความปรองดองให้สังคมไทยเพียงใด ร้อยละ 47.9 เห็นว่าช่วยได้บ้าง
ขณะที่
ร้อยละ 27.6 เห็นว่า ไม่ช่วยเลย ส่วนร้อยละ 17.1 เห็นว่า ช่วยได้มาก
 
                 นอกจากนี้ เมื่อถามว่าการสร้างความปรองดอง จำเป็นหรือไม่
ที่จะต้องมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นคนกลางในการพูดคุย
กับ แกนนำพรรคการเมือง กปปส. นปช. ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.8 เห็นว่าจำเป็น

ขณะที่ร้อยละ 36.4 เห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 6.8 ไม่แน่ใจ และเมื่อถามต่อว่า
จำเป็นหรือไม่ที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องพูดคุยกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
เรื่องความปรองดอง ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.6 เห็นว่าไม่จำเป็น
ขณะที่ร้อยละ 32.6
เห็นว่าจำเป็น และ ร้อยละ 8.8 ไม่แน่ใจ
 
                 ด้านความเห็นต่อการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ชุมนุม จะเป็นแบบอย่างให้เกิดการชุมนุมประท้วง
ทางการเมืองอีกในอนาคตใช่หรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 คิดว่าใช่
ขณะที่ร้อยละ 25.9 คิดว่าไม่ใช่ และร้อยละ
12.5 ไม่แน่ใจ
 
                 สำหรับความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “แนวทางการปฏิรูปเพื่อสร้างความปรองดองของรัฐบาล
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอย่างไร” ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 คิดว่าเดินมาถูกทางแล้ว
ขณะที่ร้อยละ 38.4
คิดว่ายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน และร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่ กับการคงกฎอัยการศึก ไว้จนกว่าจะถึงวันเลือกตั้ง” ส่วนใหญ่
ร้อยละ 71.6 บอกว่า “เห็นด้วย”
ขณะที่ร้อยละ 23.6 บอกว่า “ไม่เห็นด้วย” และร้อยละ 4.8 ไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมทางการเมือง”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
โดย อยากให้นิรโทษเฉพาะประชาชนที่ร่วมชุมนุม ร้อยละ 18.0
  อยากให้นิรโทษทั้งประชาชนที่ร่วมชุมนุมและแกนนำการชุมนุม ร้อยละ 22.4
40.4
ไม่เห็นด้วย
47.4
ไม่แน่ใจ
12.2
 
 
             2. ข้อคำถาม “การออกกฎหมายนิรโทษกรรมจะช่วยสร้างความปรองดองให้สังคมไทยเพียงใด”

 
ร้อยละ
ช่วยได้มาก
17.1
ช่วยได้บ้าง
47.9
ไม่ช่วยเลย
27.6
ไม่แน่ใจ
7.4
 
 
             3. ข้อคำถาม “การสร้างความปรองดอง จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                 นายกรัฐมนตรี เป็นคนกลางในการพูดคุยกับ แกนนำพรรคการเมือง กปปส. นปช.”

 
ร้อยละ
จำเป็น
56.8
ไม่จำเป็น
36.4
ไม่แน่ใจ
6.8
 
 
             4. ข้อคำถาม “จำเป็นหรือไม่ที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องพูดคุยกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
                 เรื่องความปรองดอง”

 
ร้อยละ
จำเป็น
32.6
ไม่จำเป็น
58.6
ไม่แน่ใจ
8.8
 
 
             5. ข้อคำถาม “หากมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ชุมนุม จะเป็นแบบอย่างให้เกิดการชุมนุม
                 ประท้วงทางการเมืองอีกในอนาคตใช่หรือไม่”

 
ร้อยละ
คิดว่าใช่
61.6
คิดว่าไม่ใช่
25.9
ไม่แน่ใจ
12.5
 
 
             6. ข้อคำถาม “แนวทางการปฏิรูปเพื่อสร้างความปรองดองของรัฐบาล
                 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอย่างไร”

 
ร้อยละ
คิดว่าเดินมาถูกทางแล้ว
52.6
คิดว่ายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
38.4
ไม่แน่ใจ
9.0
 
 
             7. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่ กับการคงกฎอัยการศึก ไว้จนกว่าจะถึงวันเลือกตั้ง”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
71.6
ไม่เห็นด้วย
23.6
ไม่แน่ใจ
4.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 - เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการออกกฎหมายนิรโทษกรรม
                 - เพื่อสะท้อนความเห็นต่อความจำเป็นที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต้องเป็นคนกลางเจรจากับ
                   แกนนำพรรคการเมือง กปปส. นปช. และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
                 - เพื่อสะท้อนความเห็นต่อแนวทางการปฏิรูปเพื่อสร้างความปรองดองของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 กุมภาพันธ์ 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
601
52.9
             หญิง
536
47.1
รวม
1,137
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
196
17.2
             31 – 40 ปี
257
22.6
             41 – 50 ปี
319
28.1
             51 – 60 ปี
238
20.9
             61 ปีขึ้นไป
127
11.2
รวม
1,137
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
767
67.5
             ปริญญาตรี
291
25.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
79
6.9
รวม
1,137
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
143
12.6
             ลูกจ้างเอกชน
251
22.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
494
43.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
58
5.1
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
149
13.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
28
2.5
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
13
1.1
รวม
1,137
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776