หัวข้อ   “ ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยทำไมยังไม่ฟื้น
นักเศรษฐศาสตร์ 74.6% ระบุเศรษฐกิจโลกคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น
52.4% ระบุรัฐบาลทำดีที่สุดแล้วภายใต้ข้อจำกัดและปัจจัยต่างๆ ที่กระทบ
แต่ 36.5% เห็นว่ารัฐบาลน่าจะทำได้ดีกว่านี้
71.4% เสนอให้รัฐบาลเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่อย่างเร่งด่วน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
เปิดเผยผลสำรวจความเห็น นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง จำนวน 63 คน
เรื่อง “ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยทำไมยังไม่ฟื้น” โดยเก็บข้อมูลระหว่าง
วันที่ 3-14 กรกฎาคม 58 ที่ผ่านมา พบว่า
 
                  นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 74.6 เห็นว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทย
ยังไม่ฟื้นในปัจจุบันคือ เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นหรือฟื้นไม่เต็มที่ส่งผลต่อการส่งออก
รองลงมาเป็นขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยที่ลดลง (ร้อยละ 46.6)
ราคาสินค้าเกษตรหลายๆ ชนิดที่ตกต่ำ (ร้อยละ 32.3) และหนี้ภาคครัวเรือนที่ส่งผล
ต่อการบริโภคของคนในประเทศ (ร้อยละ 31.2)
 
                 เมื่อถามว่า “คิดเห็นอย่างไรกับผลงานการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.4 เห็นว่ารัฐบาล
ทำดีที่สุดแล้วภายใต้ข้อจำกัดและปัจจัยต่างๆ ที่กระทบ รองลงมาร้อยละ 36.5 เห็นว่า
รัฐบาลน่าจะทำได้ดีกว่านี้ และร้อยละ 7.9 บอกว่าน่าผิดหวัง มีเพียงร้อยละ 3.2
ที่เห็นว่า ดีกว่าที่คาดหวังไว้
 
                  สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าในตอนนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 71.4 เสนอว่ารัฐบาล
ต้องเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ อย่างเร่งด่วนเป็นพิเศษ รองลงมาร้อยละ 61.9 เสนอให้เร่ง
ช่วยเหลือ เกษตรกร/แก้ปัญหาภัยแล้ง และร้อยละ 52.4 เสนอให้เร่งกระตุ้นกำลังซื้อ/กระตุ้นการบริโภค
 
 
                  (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
 
             1. อะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นในปัจจุบัน

ร้อยละ
 
74.6
เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นหรือฟื้นไม่เต็มที่ส่งผลต่อการส่งออก
46.6
ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยที่ลดลง
32.3
ราคาสินค้าเกษตรหลายๆ ชนิดที่ตกต่ำ
31.2
หนี้ภาคครัวเรือนที่ส่งผลต่อการบริโภคของคนในประเทศ
7.4
ปัญหาทางการเมืองที่คอยเหนี่ยวรั้งให้รัฐบาลทำงานได้ไม่เต็มที่
3.7
ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่มีฝีมือพอ
1.6
อื่นๆ คือ ภัยแล้งกระทบรายได้เกษตรกร/รัฐบาลใช้จ่ายล่าช้า
1.6
ไม่แน่ใจ
 
 
             2. คิดเห็นอย่างไรกับผลงานการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์

ร้อยละ
 
3.2
ดีกว่าที่คาดหวังไว้
52.4
รัฐบาลทำดีที่สุดแล้ว ภายใต้ข้อจำกัดและปัจจัยต่างๆ ที่กระทบ
36.5
น่าจะทำได้ดีกว่านี้
7.9
น่าผิดหวัง
 
 
             3. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าในตอนนี้ รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการเรื่องใดเป็นพิเศษ
                
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ร้อยละ
 
71.4
เร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โครงการขนาดใหญ่
61.9
ช่วยเหลือเกษตรกร/แก้ปัญหาภัยแล้ง
52.4
กระตุ้นกำลังซื้อ กระตุ้นการบริโภค
38.1
ดูแลภาคส่งออก
34.9
ส่งเสริมการท่องเที่ยว
28.6
ดูแลผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs เช่น ให้เงินกู้
9.5
อื่นๆ คือ กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน/สร้างความเชื่อมั่น/สร้างความสัมพันธ์กับ
สหรัฐอเมริกาและยุโรป
1.6
ไม่แน่ใจ
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นในปัจจุบัน
รวมถึงความพึงพอใจต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ควรเร่งดำเนินการในตอนนี้
โดยผลสำรวจนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการนำไปใช้ประกอบการวางแผนนโยบาย
เศรษฐกิจและธุรกิจต่อไป
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                  เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์
อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ
จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจ
การค้ากระทรวงพาณิชย์ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์
โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 3 - 14 กรกฎาคม 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 2 สิงหาคม 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
34
54.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
22
34.9
             สถาบันการศึกษา
7
11.1
รวม
63
100.0
เพศ:    
             ชาย
39
61.9
             หญิง
24
38.1
รวม
63
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
13
20.6
             36 – 45 ปี
28
44.5
             46 ปีขึ้นไป
22
34.9
รวม
63
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.7
             ปริญญาโท
49
77.8
             ปริญญาเอก
11
17.5
รวม
63
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
7
11.1
             6 - 10 ปี
13
20.6
             11 - 15 ปี
15
23.8
             16 - 20 ปี
9
14.3
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
19
30.2
รวม
63
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776