analyticstracking
หัวข้อ   “ ประชาชนคิดอย่างไรกับแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”
ประชาชน 73.4% ต้องการเลือกนายกรัฐมนตรีเองโดยตรงมากกว่าเลือกผ่าน ส.ส.
61.9% ชอบแนวคิดการเลือกตั้ง “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”
86.9% เห็นด้วยกับการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทำให้เข้าใจง่ายในการลงคะแนน และ
81.0% เห็นด้วยหากใครที่ทุจริตการเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่
“ระบบจัดสรรปันส่วนผสม””
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน
1,229 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ข้อดีของแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ในประเด็น “การใช้บัตร
เลือกตั้งใบเดียวทำให้เข้าใจง่ายในการลงคะแนน”ประชาชนร้อยละ 86.9
เห็นด้วยมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 81.0 เห็นด้วยกับประเด็น “คุณสมบัติของผู้ที่
ลงสมัครเลือกตั้งที่กำหนดให้ใครที่ทุจริตการเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต”
ร้อยละ 69.8 เห็นด้วยกับประเด็น “การเลือกตั้งระบบใหม่เป็นการคำนึงถึงคะแนน
ของประชาชนทุกเสียงที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยคะแนนเสียงที่ไม่ได้รับเลือก
จะไม่ถูกตัดทิ้งไป” ร้อยละ 69.6 เห็นด้วยกับประเด็น “การเลือกตั้งระบบใหม่ช่วยกระตุ้น
ให้ประชาชนออกมาเลือกตั้ง เพราะถึงแม้ว่า ส.ส.ที่ตนเลือกไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ยัง
สามารถเอาไปนับรวมในระบบบัญชีรายชื่อได้” และร้อยละ 64.5 เห็นด้วยกับประเด็น
“การเลือกตั้งระบบใหม่เป็นวิธีการปรองดอง คือให้คะแนนเฉลี่ยกับทุกพรรคการเมือง
ตามสมควร”
 
                 เมื่อถามประชาชนว่าชอบแนวคิดการเลือกตั้งรูปแบบใดมากกว่ากันระหว่าง
การเลือกตั้งแบบเก่าที่ทำให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็งแต่ไม่ได้นำคะแนนเสียงทุกเสียง
ของประชาชนมาใช้ กับแนวคิดแบบใหม่ที่อาจทำให้มีรัฐบาลผสมหลายพรรคแต่นำ
คะแนนเสียงทุกเสียงมาใช้ พบว่า ร้อยละ 61.9 ชอบแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่
”ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” มากกว่า
ขณะที่ร้อยละ 27.4 ชอบการเลือกตั้งระบบเดิม
มากกว่า ที่เหลือร้อยละ 10.7 ไม่แน่ใจ
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าต้องการเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยรูปแบบใด พบว่าร้อยละ 73.4 ต้องการเลือกนายกรัฐมนตรีได้เองโดยตรง ขณะที่ร้อยละ 21.8 ต้องการเลือกโดยผ่าน ส.ส.ในสภาฯ และร้อยละ 4.8 ไม่แน่ใจ
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”ของคณะกรรมการ
                    ร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ในประเด็นต่าง ดังนี้

ประเด็น
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทำให้เข้าใจง่ายในการลงคะแนน
86.9
10.5
2.6
คุณสมบัติของผู้ที่ลงสมัครเลือกตั้ง
โดยใครที่ทุจริตการเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต
81.0
17.2
1.8
เป็นการคำนึงถึงคะแนนของประชาชนทุกเสียงที่ออกไปใช้สิทธิ
เลือกตั้ง โดยคะแนนเสียงที่ไม่ได้รับเลือกจะไม่ถูกตัดทิ้งไป
69.8
20.9
9.3
ระบบนี้ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนออกมาเลือกตั้ง เพราะถึงแม้ว่า
ส.ส.ที่ตนเลือกไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ยังสามารถเอาไปนับรวม
ในระบบบัญชีรายชื่อได้

69.6

22.8

7.6
ระบบนี้เป็นวิธีการปรองดอง คือให้คะแนนเฉลี่ยกับ
ทุกพรรคการเมืองตามสมควร
64.5
23.2
12.3
 
 
             2. ระหว่างการเลือกตั้งแบบเก่าที่ทำให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็งแต่ไม่ได้นำคะแนนเสียงทุกเสียง
                    ของประชาชนมาใช้ กับแนวคิดแบบใหม่ที่อาจทำให้มีรัฐบาลผสมหลายพรรคแต่นำคะแนนเสียง
                    ทุกเสียงมาใช้ ชอบแนวคิดการเลือกตั้งรูปแบบใดมากกว่ากัน

 
ร้อยละ
ชอบแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” มากกว่า
61.9
ชอบการเลือกตั้งระบบเดิมมากกว่า
27.4
ไม่แน่ใจ
10.7
 
 
             3. ความเห็นต่อรูปแบบการเลือกนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการ

 
ร้อยละ
เลือกนายกฯ ได้เองโดยตรง
73.4
เลือกโดยผ่าน ส.ส. ในสภา
21.8
ไม่แน่ใจ
4.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวความคิดการเลือกตั้งระบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”
ในประเด็นต่างๆ รวมถึงวิธีการเลือกนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม
และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 3 - 5 พฤศจิกายน 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 7 พฤศจิกายน 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
655
53.3
             หญิง
574
46.7
รวม
1,229
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
198
13.3
             31 – 40 ปี
285
23.2
             41 – 50 ปี
360
29.3
             51 – 60 ปี
257
20.9
             61 ปีขึ้นไป
129
10.5
รวม
1,229
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
811
66.0
             ปริญญาตรี
355
28.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
63
5.1
รวม
1,229
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
180
14.8
             ลูกจ้างเอกชน
281
22.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
500
40.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
70
5.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
144
11.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
42
3.4
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
10
0.8
รวม
1,229
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776