analyticstracking
หัวข้อ   “ ความพร้อมของคนไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนปลายปีนี้
ประชาชน 82.3 % ทราบว่าสิ้นปีนี้ไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ
และประเทศไทยมีความพร้อม62% ระบุสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย เป็นคู่แข่งที่น่ากลัว
โดยอุปสรรคสำคัญของไทยคือความขัดแย้งทางการเมืองและภาษาอังกฤษ
ที่น่าสนใจคนไทยรู้สึกมีความเป็นประชาชนอาเซียน 61.5%
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนเรื่อง “ความพร้อมของคนไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนปลายปีนี้”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,223 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 82.3 ทราบว่าสิ้นเดือนธันวาคมนี้
ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ
ขณะที่ร้อยละ 17.7
ไม่ทราบ
 
                 ทั้งนี้ร้อยละ 56.5 ระบุว่าประเทศไทยมีความพร้อมต่อการเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนในระดับปานกลาง
รองลงมาร้อยละ 26.4 ระบุว่ามีความพร้อมมาก
ถึงมากที่สุด และร้อยละ 17.1 ระบุว่ามีความพร้อมน้อยถึงน้อยที่สุด หรือในภาพรวม
ประเทศไทยมีความพร้อมร้อยละ 62.0
 
                 เมื่อถามความเห็นต่อศักยภาพของประเทศไทยว่าอยู่ในระดับใดของประเทศในกลุ่มอาเซียน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.5 ระบุว่าอยู่ในระดับกลางๆ
รองลงมาร้อยละ 26.6 ระบุว่าอยู่ในระดับต้นๆ และร้อยละ 10.9 ระบุว่า
อยู่ระดับท้ายๆ
 
                 ส่วนประเทศในประชาคมอาเซียนที่คิดว่าเป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองมากที่สุดสำหรับประเทศไทย
คือประเทศสิงคโปร์ (ร้อยละ45.8)
รองลงมา เป็นประเทศเวียดนาม(ร้อยละ41.8) และประเทศมาเลเซีย(ร้อยละ 33.6)
 
                 สำหรับอุปสรรคสำคัญทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนมากที่สุด
คือความขัดแย้งทางการเมือง (ร้อยละ 61.3) รองลงมา
คือการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย (ร้อยละ 55.3)
และการทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 48.1)
 
                  เมื่อถามว่าภาครัฐให้ความรู้และสนับสนุนประชาชนให้มีความเข้าใจและตื่นตัวต่อการเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนเพียงใด ร้อยละ 46.5 เห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 30.0 อยู่ในระดับ
มากถึงมากที่สุด และ ร้อยละ 23.5 อยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  เมื่อถามว่าการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนจะทำให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทสำคัญและมีอำนาจต่อรอง
กับประชาคมโลก มากขึ้นใช่หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 78.4 ระบุว่า “ใช่”
ขณะที่ร้อยละ 10.8 ระบุว่า “ไม่ใช่”
ที่เหลือร้อยละ 10.8 ระบุว่า “ ไม่แน่ใจ”
 
                  ทั้งนี้สิ่งที่ประชาชนรู้สึกกังวลมากที่สุดเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนคือ ร้อยละ 26.5
กังวลว่าเศรษฐกิจจะแย่กว่าเดิมและไทยอาจเสียเปรียบทางการค้า
รองลงมาร้อยละ 17.0 กังวลว่าคนไทย
อาจถูกแย่งงานแย่งอาชีพ เพราะแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมีค่าแรงที่ต่ำกว่า และร้อยละ 16.0 กังวลเรื่องภาษา
ในการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ด้อยกว่าชาติอื่นๆ
 
                  สุดท้ายคนไทยมีความรู้สึกว่าตัวเอง “เป็นประชาชนของอาเซียน” ร้อยละ 61.5
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบว่าสิ้นเดือนธันวาคมนี้ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ

 
ร้อยละ
ทราบ
82.3
ไม่ทราบ
17.7
 
 
             2. ความเห็นต่อความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปลายปี 2558

 
ร้อยละ
พร้อมมากที่สุด
4.5
พร้อมมาก
21.9
พร้อมปานกลาง
56.5
พร้อมน้อย
13.5
พร้อมน้อยที่สุด
3.6

               ในภาพรวมประเทศไทยมีความพร้อมร้อยละ 62.0
 
 
             3. ความเห็นต่อศักยภาพของประเทศไทยว่าอยู่ในระดับใดของประเทศในกลุ่มอาเซียน

 
ร้อยละ
อยู่ในระดับต้นๆ
26.6
อยู่ในระดับกลางๆ
62.5
อยู่ในระดับท้ายๆ
10.9
 
 
             4. ความเห็นต่อประเทศในประชาคมอาเซียนที่คิดว่าเป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองมากที่สุดสำหรับประเทศไทย

 
ร้อยละ
สิงคโปร์
45.8
เวียดนาม
41.8
มาเลเซีย
33.6
พม่า
23.1
ลาว
10.6
อินโดนีเซีย
9.7
กัมพูชา
7.2
บรูไน
5.7
ฟิลิปปินส์
5.6
 
 
             5. อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนมากที่สุด

 
ร้อยละ
ความขัดแย้งทางการเมือง
61.3
การใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย
55.3
การทุจริตคอร์รัปชั่น
48.1
ความรู้และการศึกษาของคนไทย
34.4
กฎหมายที่หย่อนยาน
28.2
ความไม่ตื่นตัวในเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของคนไทย
23.8
 
 
             6. ภาครัฐให้ความรู้และสนับสนุนประชาชนให้มีความเข้าใจและตื่นตัวต่อการเข้าสู่
                 ประชาคมอาเซียนเพียงใด

 
ร้อยละ
มากที่สุด
5.5
มาก
24.5
ปานกลาง
46.5
น้อย
19.5
น้อยที่สุด
4.0
 
 
             7. การรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนจะทำให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทสำคัญและมีอำนาจต่อรองกับประชาคมโลก
                 มากขึ้นใช่หรือไม่

 
ร้อยละ
ใช่
78.4
ไม่ใช่
10.8
ไม่แน่ใจ
10.8
 
 
             8. เรื่องที่กังวลมากที่สุดเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 5 อันดับแรก
                
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เศรษฐกิจจะแย่กว่าเดิม เพราะการส่งออกอาจลดลง ราคาสินค้าของไทย
สูงกว่าทำให้ต้องปรับลดราคาลง ทำให้ไทยเสียเปรียบทางการค้า

26.5
เรื่องคนไทยอาจถูกแย่งงานแย่งอาชีพ เพราะแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน
มีค่าแรงที่ต่ำกว่า
17.0
เรื่องภาษาในการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษด้อยกว่าชาติอื่นๆ
16.0
กลัวมีความขัดแย้งทางการเมือง และนักการเมือง
14.3
การศึกษาของเยาวชนจะสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้
5.0
 
 
             9. ความรู้สึกว่าตัวเอง “เป็นประชาชนของอาเซียน”

 
ร้อยละ
มากที่สุด
5.6
มาก
20.8
ปานกลาง
53.7
น้อย
15.7
น้อยที่สุด
4.2

               ในภาพรวมคนไทยมีความรู้สึกเป็นประชาชนของอาเซียน ร้อยละ 61.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย
ช่วงปลายปี 2558 ในประเด็นต่างๆ รวมถึงความพร้อมและความรู้สึกต่อการเป็นประชาชนของอาเซียน เพื่อสะท้อนความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 17 - 19 พฤศจิกายน 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 พฤศจิกายน 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
645
52.7
             หญิง
578
47.3
รวม
1,223
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
171
14.0
             31 – 40 ปี
300
24.5
             41 – 50 ปี
341
27.9
             51 – 60 ปี
174
22.4
             61 ปีขึ้นไป
137
11.2
รวม
1,223
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
765
62.5
             ปริญญาตรี
358
29.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
100
8.2
รวม
1,223
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
156
12.7
             ลูกจ้างเอกชน
308
25.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
465
38.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
84
6.9
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
161
13.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
34
2.8
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
11
0.9
รวม
1,223
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776