analyticstracking
หัวข้อ   “ พฤติกรรมการสูบและเลือกซื้อบุหรี่หลังรัฐบาลขึ้นอัตราภาษี
ผู้สูบบุหรี่ 69.6% ยังคงมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เหมือนเดิมแม้ราคาบุหรี่จะเพิ่มขึ้น
ผู้สูบ 75.5% ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นอัตราภาษีของรัฐบาล
และ 59.3% มองรัฐบาลเพิ่มภาษีเพราะต้องการหาได้เพิ่มมากกว่าต้องการให้สูบบุหรี่น้อยลง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นของผู้สูบบุหรี่ เรื่อง “พฤติกรรมการสูบและเลือกซื้อบุหรี่หลังรัฐบาล
ขึ้นอัตราภาษี”
โดยเก็บข้อมูลจากผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวันทั่วประเทศจำนวน
902 คน ผลสำรวจพบว่า
 
                  ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำส่วนใหญ่ร้อยละ 66.9 สูบบุหรี่ซองที่ผลิต
ในประเทศ รองลงมาร้อยละ 23.6 สูบบุหรี่ซองที่ผลิตจากต่างประเทศ และร้อยละ
9.5 สูบบุหรี่มวนเอง
 
                 ด้านความคิดเห็นต่อการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่จากร้อยละ 87 เป็น
ร้อยละ 90 พบว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่คิดเป็น ร้อยละ 75.5 ไม่เห็นด้วยกับการ
ขึ้นอัตราภาษี
โดยให้เหตุผลสำคัญว่า ทำให้ราคาบุหรี่สูงเกินไป(ร้อยละ 81.2)
รองลงมาเห็นว่า เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด(ร้อยละ 9.8) และเป็นการเพิ่ม
ค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่สูบบุหรี่(ร้อยละ 9.0) ในขณะที่ร้อยละ 24.5 เห็นด้วยกับการ
ปรับเพิ่มภาษีบุหรี่ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า มาตรการนี้สามารถลดปริมาณการสูบ
บุหรี่ลงได้(ร้อยละ 48.4) รองลงมาช่วยทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้(ร้อยละ20.8) และช่วย
เพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล(ร้อยละ 11.8)
 
                  ทั้งนี้ผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 59.3 เห็นว่าวัตถุประสงค์หลักของรัฐบาลในการเพิ่มภาษีบุหรี่ คือ การหารายได้
เข้ารัฐบาล
ขณะที่ร้อยละ 40.7 คิดว่ารัฐบาลต้องการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่
 
                  สำหรับพฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่หลังการปรับเพิ่มภาษี พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.6 ยังคงสูบ
เหมือนเดิมในปริมาณเท่าเดิม
ส่วนร้อยละ 30.4 มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงจากเดิมที่สูบ เฉลี่ย 13 มวนต่อวันลดลง
เหลือ 7 มวนต่อวัน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 46.2 ด้านค่าใช้จ่ายของผู้สูบก่อนรัฐบาลขึ้นภาษีบุหรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 253 บาท
ต่อสัปดาห์ และหลังจากเพิ่มภาษีบุหรี่ ผู้สูบมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็น 274 บาทต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.3
 
                  ในส่วนของการปรับเปลี่ยนยี่ห้อบุหรี่ภายหลังการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่พบว่า ผู้สูบส่วนใหญ่ร้อยละ 66.7
ไม่มีการปรับเปลี่ยนยี่ห้อ/ยังคงสูบยี่ห้อเดิม
ขณะที่ร้อยละ 33.3 เปลี่ยนเป็นซื้อยี่ห้อที่มีราคาต่ำกว่า
 
                  เมื่อถามว่า “คิดจะเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ หลังจากมีการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่’’ ร้อยละ 51.7 ระบุว่า “ไม่คิดจะเลิก
สูบบุหรี่”
ขณะที่ ร้อยละ 48.3 ระบุว่า “คิดจะเลิกสูบบุหรี่”
 
                 สุดท้ายเมื่อถามถึงผลกระทบของการปรับขึ้นภาษีบุหรี่ที่มีต่อการใช้ชีวิตของผู้สูบ ร้อยละ 37.2
ระบุว่ากระทบในระดับปานกลาง
รองลงมาร้อยละ 22.2 กระทบในระดับน้อย และร้อยละ 17.0 กระทบในระดับมาก
 
 
                 มีรายละเอียดดังนี้
 
             1. ประเภทของบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่สูบเป็นประจำ
                

ร้อยละ
 
66.9
บุหรี่ซองที่ผลิตในประเทศ
23.6
บุหรี่ซองที่ผลิตจากต่างประเทศ
9.5
บุหรี่มวนเอง
 
 
             2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มภาษีบุหรี่จาก 87% เป็น 90% ของรัฐบาล
                

 
ร้อยละ
ร้อยละ 75.5 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า...
      ทำให้บุหรี่มีราคาแพงเกินไป
81.2
      รัฐบาลแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด
9.8
      ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
9.0
ร้อยละ 24.5 เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า...
      จะทำให้สูบบุหรี่ลดลง
48.4
      ช่วยทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้
20.8
      ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล
11.8
      อื่นๆ เช่น เป็นการทำลายสุขภาพ เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย
19.0
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อวัตถุประสงค์หลักของรัฐบาลในการเพิ่มภาษีบุหรี่
                

ร้อยละ
 
59.3
เพื่อหารายได้เข้ารัฐบาล
40.7
เพื่อต้องการให้คนสูบบุหรี่ลดลง
 
 
             4. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ภายหลังการปรับเพิ่มภาษีและทำให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น
                

ร้อยละ
 
69.6
ไม่เปลี่ยนแปลง/สูบเหมือนเดิม
30.4
สูบน้อยลง (โดยก่อนปรับเพิ่มภาษีบุหรี่สูบเฉลี่ย 13 มวนต่อวัน ลดลงเหลือ 7 มวนต่อวัน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 46.2)
 
 
             5. พฤติกรรมการเลือกซื้อบุหรี่ภายหลังการปรับเพิ่มภาษีและทำให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น
                

ร้อยละ
 
66.7
ซื้อเหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนยี่ห้อ
33.3
เปลี่ยนไปซื้อยี่ห้อที่มีราคาต่ำกว่า
 
 
             6. ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ต่อสัปดาห์
                

 
ค่าใช้จ่ายก่อนปรับเพิ่มภาษีบุหรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 253 บาทต่อสัปดาห์
ค่าใช้จ่ายหลังปรับเพิ่มภาษีบุหรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 274 บาทต่อสัปดาห์
โดยผู้สูบบุหรี่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 21 บาทต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.3
 
 
             7. ความคิดเห็นต่อคำถาม “คิดจะเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ หลังจากมีการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่’’
                

ร้อยละ
 
51.7
คิดว่าจะไม่เลิกสูบบุหรี่
48.3
คิดจะเลิกสูบบุหรี่
 
 
             8. ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหลังจากมีการปรับขึ้นภาษีบุหรี่
                

ร้อยละ
 
9.4
มากที่สุด
17.0
มาก
37.2
ปานกลาง
22.2
น้อย
14.2
น้อยที่สุด
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อทราบความคิดเห็นของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายปรับเพิ่มอัตราภาษีบุหรี่
                  2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่หลังจากปรับขึ้นอัตราภาษีบุหรี่
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากผู้สูบบุหรี่เป็นประจำทั่วประเทศและครอบคลุมพื้นที่ทั้งในเขตและนอกเขต
เทศบาล และมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 902 คน
เป็นเพศชายร้อยละ 92.7 และเพศหญิงร้อยละ 7.3
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบ
เองโดยอิสระ (Open Ended) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 20 - 23 กุมภาพันธ์ 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 กุมภาพันธ์ 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
836
92.7
             หญิง
66
7.3
รวม
902
100.0
อายุ:
 
 
             15 - 24 ปี
244
27.0
             25 - 40 ปี
254
28.2
             41 - 60 ปี
255
28.3
             60 ปีขึ้นไป
149
16.5
รวม
902
100.0
อาชีพ:
 
 
             พนักงานรัฐบาล
67
7.4
             พนักงานเอกชน
197
21.8
             ค้าขาย/รับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
430
47.7
             เจ้าของกิจการ/นายจ้าง
32
3.6
             นักเรียน/นักศึกษา
97
10.7
             อื่นๆ เช่น ว่างงาน
79
8.8
รวม
902
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776