analyticstracking
หัวข้อธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์ : ตามรอยพ่อ...ขอทำความดี
คนไทย ชื่นชมจิตอาสาเก็บขยะที่ท้องสนามหลวง แจกอาหาร มอเตอร์ไซด์-รถยนต์ รับ-ส่ง สนามหลวงฟรี
54.3% ซาบซึ้งใจที่สุดเมื่อครั้งปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 22 ตุลาคม 2559
56.8% อยากร่วมเป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชน เพื่อเป็นการทำดีถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
พร้อมระบุว่าการสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และนำคำสอนของพระเจ้าอยู่หัว
ไปปฏิบัติใช้ เป็นวิธีระลึกถึงว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ยังคงสถิตอยู่ในใจตลอดไป
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็น
ของประชาชนเรื่อง “ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์ : ตามรอยพ่อ...ขอทำความดี”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,150 คน พบว่า
 
                  คนไทยระบุว่ากิจกรรมทำความดีในช่วงเวลานี้ที่น่าชื่นชมมากที่สุดคือ
การเป็นจิตอาสาเก็บขยะบริเวณท้องสนามหลวง (ร้อยละ 27.8)
รองลงมาคือ การ
แจกอาหาร น้ำ ขนม พัด ยาดม ร่ม (ร้อยละ 22.3) และการขับขี่มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ รับ-ส่ง
สนามหลวงฟรี (ร้อยละ 16.7)
 
                  ทั้งนี้กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
ที่ทำให้ซาบซึ้งใจและประทับใจมากที่สุด คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 54.3 ระบุว่าคือ
การที่ปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนาม
หลวง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา
รองลงมาร้อยละ 20.1 ระบุว่าคือ การ
จุดเทียน ถวายความอาลัย แปรอักษร ที่แต่ละภาคส่วนจัดขึ้น และร้อยละ 11.0 ระบุว่าคือ
การเดินเท้าจากต่างจังหวัดเพื่อเข้ามากราบพระบรมศพ
 
                  สำหรับการทำความดีที่ตั้งใจจะทำเพื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในช่วงเวลานี้มากที่สุด คนไทยร้อยละ
56.8 ระบุว่าอยากเป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชน ช่วยเหลือสังคม เช่น เก็บขยะสนามหลวง แจกอาหาร
รองลงมา
ร้อยละ 24.7 ระบุว่าอยากสวดมนต์ ทำบุญ นั่งสมาธิ อธิษฐาน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และร้อยละ
4.8 จะจุดเทียนถวายอาลัยและร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและแปรอักษรในที่ชุมชนและที่จังหวัดจัดขึ้น
 
                  ส่วนสิ่งที่ตั้งใจทำเพื่อสร้างความระลึกถึงว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ยังคงสถิตอยู่ในใจตลอดไป นั้น
คนไทยร้อยละ 29.6 ระบุว่า จะเก็บสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9ไว้เป็นที่ระลึกและกราบ
ไหว้ บูชา
รองลงมา ร้อยละ 26.2 ระบุว่า จะนำคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะเรื่องการกินอยู่อย่างพอเพียงไปปฏิบัติและ
จะนำไปสอนรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป และร้อยละ 13.9 ระบุว่า จะสะสมธนบัตร เหรียญประจำรัชกาลที่ 9 ไว้เป็นที่ระลึกและนำ
ติดตัวเสมอ
 
 
                  ดังรายละเอียดในต่อไปนี้
 
             1. กิจกรรมทำความดีของคนไทยในช่วงเวลานี้ที่น่าชื่นชมยกย่องมากที่สุด 5 อันดับแรก

 
ร้อยละ
จิตอาสาเก็บขยะบริเวณท้องสนามหลวง
27.8
การแจกอาหาร น้ำ ขนม พัด ยาดม ร่ม
22.3
การขับขี่มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ รับ-ส่ง สนามหลวงฟรี
16.7
การบวช สวดมนต์ ทำบุญ ถวายเป็นพระราชกุศล
13.4
การ แจกริบบิ้นไว้อาลัย เสื้อดำ ย้อมผ้าฟรี ให้ยืมชุดดำ
7.3
 
 
             2. กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้ซาบซึ้งใจ
                 และประทับใจมากที่สุด


 
ร้อยละ
การที่ปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา
54.3
การจุดเทียน ถวายความอาลัย แปรอักษร ที่แต่ละภาคส่วนจัดขึ้น
20.1
การเดินเท้าจากต่างจังหวัดเพื่อเข้ามากราบพระบรมศพ
11.0
การนำช้าง 11 เชือกจากหมู่บ้านช้างเพนียดหลวงอยุธยา
เข้าถวายสักการะพระบรมศพ
9.6
การแต่งเพลง/ร้องเพลง ของศิลปินเพื่อระลึกถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9
5.0
 
 
             3. กิจกรรมทำความดีที่ตั้งใจจะทำเพื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในช่วงเวลานี้มากที่สุด 5 อันดับแรก
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชน ช่วยเหลือสังคม เช่น
เก็บขยะสนามหลวง แจกอาหาร เป็นต้น
56.8
สวดมนต์ ทำบุญ นั่งสมาธิ อธิษฐานถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
24.7
จะจุดเทียนถวายอาลัยและร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและ
แปรอักษรในที่ชุมชนและที่จังหวัดจัดขึ้น
4.8
ปลูกต้นไม้เพื่อลดโลกร้อน
4.1
จะสั่งสอนลูกหลานให้ทำตามคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
2.4
 
 
             4. วิธีระลึกถึงว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ยังคงสถิตอยู่ในใจของท่านตลอดไป 5 อันดับแรก
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เก็บสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
ไว้เป็นที่ระลึกและกราบไหว้ บูชา
29.6
นำคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะเรื่องการกินอยู่อย่างพอเพียงไปปฏิบัติ
และจะนำไปสอนรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
26.2
สะสมธนบัตร เหรียญประจำรัชกาลที่ 9 ไว้เป็นที่ระลึกและนำติดตัวเสมอ
13.9
จะทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นเหมือนที่พระเจ้าอยู่หัวทรงทำเป็นแบบอย่าง
9.1
จะเก็บเรื่องราวของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไว้ในใจและเล่าสู่ลูกหลานฟัง
6.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมการทำความดีตามรอยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
ที่เห็นและอยากทำในช่วงเวลานี้ ตลอดจนสิ่งที่จะทำเพื่อระลึกถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่ายังคงสถิตอยู่ในใจของท่านตลอดไป
เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทั่วประเทศด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มพื้นที่ไปยังประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นคน เป็นเพศชายร้อยละ 48.3 และเพศหญิงร้อยละ 51.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบตอบได้เอง
อย่างอิสระ(Open Ended) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 11 – 14 พฤศจิกายน 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 พฤศจิกายน 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
555
48.3
             หญิง
595
51.7
รวม
1,150
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
284
24.7
             31 – 40 ปี
230
20.0
             41 – 50 ปี
225
19.6
             51 – 60 ปี
222
19.3
             61 ปีขึ้นไป
189
16.4
รวม
1,150
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
753
65.5
             ปริญญาตรี
343
29.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
54
4.7
รวม
1,150
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
136
11.8
             ลูกจ้างเอกชน
344
29.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
359
31.2
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
29
2.5
            ทำงานให้ครอบครัว
14
1.2
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
153
13.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
94
8.2
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
21
1.9
รวม
1,150
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776