analyticstracking
หัวข้อธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์ : พระอัจฉริยภาพเลิศล้ำ...ซาบซึ้งใจไทยทั่วหล้า
ประชาชนร้อยละ 81.7 ซาบซึ้งในพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านกีฬาเรือใบ
ที่ทรงได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง จนสร้างแรงบันดาลใจในการเล่นกีฬาแก่ประชาชน
บทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ฟังแล้วซาบซึ้งใจ จดจำได้และสามารถร้องได้ นั้น
ประชาชนร้อยละ 53.0 จดจำได้และสามารถร้อง“เพลงใกล้รุ่ง” ได้
และประชาชนร้อยละ 77.4 ประทับใจภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9
ในขณะทรงพระราชกรณียกิจในถิ่นทุรกันดาร
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์ : พระอัจฉริยภาพเลิศล้ำ
...ซาบซึ้งใจไทยทั่วหล้า”
โดยเก็บข้อมูลประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน
1,100 คน พบว่า
 
                  ประชาชนร้อยละ 81.7 ประทับใจในพระปรีชาสามารถของในหลวง
รัชกาลที่ 9 ด้านกีฬาเรือใบ จนทรงชนะเลิศเหรียญทองในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4

รองลงมาร้อยละ 39.6 ประชาชนซาบซึ้งประทับใจในพระมหากรุณาธิคุณแก่วงการกีฬา
และการที่ทรงอุปถัมภ์การกีฬาหลายประเภท การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และทุน
แก่นักกีฬา และร้อยละ 20.8 ซาบซึ้งประทับใจในพระปรีชาสามารถด้านกีฬาแบดมินตัน
 
                  บทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ฟังแล้วซาบซึ้งใจ
จดจำได้และสามารถร้องได้ นั้น ประชาชนร้อยละ 53.0 จดจำได้และสามารถร้อง
“เพลงใกล้รุ่ง” ได้
รองลงมาร้อยละ 37.8 จดจำและร้อง “เพลงแสงเทียน” ได้ และ
ร้อยละ 37.0 จดจำและร้อง “เพลงความฝันอันสูงสุด” ได้
 
                  เมื่อถามประชาชนถึงความประทับใจในภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ประชาชน
ร้อยละ 77.4 ประทับใจ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในขณะทรงพระราชกรณียกิจในถิ่นทุรกันดาร
รองลงมาร้อยละ 41.4
ประทับใจ ภาพถ่ายพระโอรสและพระธิดาของพระองค์ในอิริยาบถต่างๆ และร้อยละ 32.3 ประทับใจภาพพระฉายาลักษณ์
ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. เรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้เกิดความประทับใจและแรงบันดาลใจในการเล่นกีฬา
                
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
พระปรีชาสามารถด้านเรือใบ จนได้เหรียญทองกีฬาแหลมทอง
81.7
พระมหากรุณาธิคุณแก่วงการกีฬา ทรงอุปถัมภ์การกีฬาหลายประเภท
การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และทุน แก่นักกีฬา
39.6
พระปรีชาสามารถด้านกีฬาแบดมินตัน
20.8
พระมหากรุณาธิคุณกับวงการมวย ทรงเป็นประธานทอดพระเนตรการชกนักมวยไทย
20.0
พระราชทานไฟพระฤกษ์ การจัดแข่งขันกีฬา
14.4
 
 
             2. บทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เมื่อฟังแล้วซาบซึ้งใจ จดจำได้และสามารถร้องได้
                
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เพลงใกล้รุ่ง
53.0
เพลงแสงเทียน
37.8
เพลงความฝันอันสูงสุด
37.0
เพลงพรปีใหม่
33.3
เพลงสายฝน
23.8
เพลงชะตาชีวิต
23.3
เพลงยามเย็น
21.4
เพลงเราสู้
20.4
เพลงแผ่นดินของเรา
17.9
เพลงอาทิตย์อับแสง
12.1
เพลงมหาจุฬาลงกรณ์
5.6
เพลงยูงทอง
4.5
 
 
             3. ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เห็นแล้วรู้สึกประทับใจ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ขณะทรงพระราชกรณียกิจในถิ่นทุรกันดาร
77.4
ภาพถ่ายพระโอรสและพระธิดาของพระองค์ในอิริยาบถต่างๆ
41.4
ภาพพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9
32.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่ 9
                      ที่สร้างความประทับใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เล่นกีฬา
                  2) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับในบทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9
                      ที่เมื่อฟังแล้วเกิดความซาบซึ้งใจ จดจำได้และร้องได้
                  3) เพื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับภาพฝีพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เห็นแล้วรู้สึกประทับใจ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 13-15 ธันวาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 ธันวาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
551
50.1
             หญิง
549
49.9
รวม
1,100
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
150
13.6
             31 – 40 ปี
265
24.1
             41 – 50 ปี
321
29.2
             51 – 60 ปี
234
21.3
             61 ปีขึ้นไป
130
11.8
รวม
1,100
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
675
61.4
             ปริญญาตรี
337
30.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
88
8.0
รวม
1,100
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
158
14.4
             ลูกจ้างเอกชน
268
24.4
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
422
38.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
45
4.1
            ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
160
14.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
21
1.9
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
24
2.1
รวม
1,100
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776