analyticstracking
หัวข้อ   “ ปรองดองสู่เลือกตั้งหรือเลือกตั้งสู่ปรองดอง
           จากคำกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ว่า“....ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือมีความ
ปรองดองเราก็จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 คิดว่าต้องการสื่อให้ประชาชน
ตระหนักถึงการร่วมมือกันสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง
           โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.2 ระบุว่าต้องการให้ปรองดองสำเร็จก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง ทั้งนี้
ร้อยละ 60.0 ระบุว่าหากเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากโรดแมปจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประเทศ
           เมื่อถามต่อว่า “หากมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอีก ภายหลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น
ประชาชนมีความเห็นอย่างไร” พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 40.5 มีความเห็นว่าควรยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
ตามกระบวนการ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “ปรองดองสู่เลือกตั้งหรือเลือกตั้งสู่ปรองดอง”โดยเก็บข้อมูลกับ
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,100 คน พบว่า
 
                  จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวตอนหนึ่งในรายการ "ศาสตร์
พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ว่า “....ทั้งนี้เมื่อทุกอย่าง
ลงตัวกระบวนการด้านกฎหมายมีความพร้อมทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ มีความปรองดอง
เราก็จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 มีความเห็นว่า
เป็นการให้ประชาชนตระหนักถึงการร่วมมือกันสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง

รองลงมาร้อยละ 16.3 เห็นว่าเป็นการพูดเฉยๆ ไม่ได้แฝงนัยใดๆ และร้อยละ 15.6 เห็นว่า
เป็นการบอกกลายๆว่าปีหน้าอาจไม่มีการเลือกตั้ง
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามว่าความปรองดองคืออะไรในความเห็นของประชาชน
พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 58.4 ระบุว่า คือการจัดการกับความขัดแย้ง/ประชาชน
รักใคร่กลมเกลียวไม่แบ่งฝ่ายแบ่งสี
รองลงมาร้อยละ 48.2 คือการเคารพในกฎกติกา
ทางการเมือง/ไม่ใช้ความรุนแรง/สร้างสถานการณ์ และร้อยละ 41.6 คือการให้อภัยกัน
ในสิ่งที่เคยเกิดความขัดแย้ง
 
                  สำหรับความเหมาะสมในการจัดให้มีการเลือกตั้งตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่
ร้อยละ 54.2 ระบุว่าต้องการให้ปรองดองสำเร็จก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง
ขณะที่ร้อยละ 17.3 ระบุว่าต้องการเลือกตั้ง
ก่อนแล้วค่อยปรองดองที่เหลือร้อยละ 28.5 ระบุว่าแบบใดก็ได้ขอให้ได้เลือกตั้ง
 
                  ด้านความกังวลว่าจะเกิดสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองหากไม่มีการจัดการเลือกตั้งตาม
โรดแมปพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.6 ระบุว่าไม่กังวล
ขณะที่ร้อยละ 41.6 ระบุว่ากังวล ที่เหลือร้อยละ 11.8 ระบุว่า
ไม่แน่ใจ
 
                  ทั้งนี้หากการจัดการเลือกตั้งเลื่อนออกไปไม่เป็นไปตามโรดแมป ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0
มีความเห็นว่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประเทศไทยค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 40.0 มีความเห็นว่า
ส่งผลค่อนข้างน้อยถึงไม่ส่งผลเลย
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอีก ภายหลังการเลือกตั้งและจัดตั้ง
รัฐบาลเสร็จสิ้นประชาชนมีความเห็นอย่างไร” พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 40.5 มีความเห็นว่าควรยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ตามกระบวนการ
รองลงมาร้อยละ 28.5 เห็นว่าควรต้องจัดการปรองดองกันอีกรอบโดยหาคนกลางเข้ามาช่วยและร้อยละ
26.5 เห็นว่าคงต้องยอมให้ทหารเข้ามาจัดการอีกครั้ง
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. จากคำพูดของนายกฯที่ว่า“....ทั้งนี้เมื่อทุกอย่างลงตัวกระบวนการด้านกฎหมายมีความพร้อม
                  ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือมีความปรองดองเราก็จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า”ประชาชนคิดว่า
                  ต้องการสื่อถึงอะไร


 
ร้อยละ
ให้ประชาชนตระหนักถึงการร่วมมือกันสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง
57.3
พูดเฉยๆไม่ได้แฝงนัยใดๆ
16.3
เป็นการบอกกลายๆว่าปีหน้าอาจไม่มีการเลือกตั้ง
15.6
ไม่แน่ใจ
10.8
 
 
             2. ความปรองดองคืออะไรในความเห็นของประชาชน

 
ร้อยละ
การจัดการกับความขัดแย้ง/ประชาชนรักใคร่กลมเกลียวไม่แบ่งฝ่ายแบ่งสี
58.4
เคารพในกฎกติกาทางการเมือง/ไม่ใช้ความรุนแรง/สร้างสถานการณ์
48.2
การให้อภัยกันในสิ่งที่เคยเกิดความขัดแย้ง
41.6
ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงความจริงที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ
41.4
เยียวยาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากความขัดแย้ง
22.9
 
 
             3. ความเหมาะสมในการจัดให้มีการเลือกตั้งตามความคิดเห็นของประชาชน

 
ร้อยละ
ปรองดองสำเร็จก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง
54.2
เลือกตั้งก่อนแล้วค่อยปรองดอง
17.3
แบบใดก็ได้ขอให้ได้เลือกตั้ง
28.5
 
 
             4. เมื่อถามว่า “กังวลหรือไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองหากไม่มีการจัดการเลือกตั้ง
                  ตามโรดแมป”


 
ร้อยละ
ไม่กังวล
46.6
กังวล
41.6
ไม่แน่ใจ
11.8
 
 
             5. หากการจัดการเลือกตั้งเลื่อนออกไปไม่เป็นไปตามโรดแมปจะส่งผลต่อความเชื่อมั่น
                  ของประเทศไทยหรือไม่

 
ร้อยละ
ส่งผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นส่งผลค่อนข้างมาก ร้อยละ 40.2 และส่งผลมากที่สุด ร้อยละ 19.8 )
60.0
ส่งผลค่อนข้างน้อยถึงไม่ส่งผลเลย
(โดยแบ่งเป็นส่งผลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 23.1 และไม่ส่งผลเลย ร้อยละ 16.9 )
40.0
 
 
             6. หากมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอีกภายหลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น
                  ประชาชนมีความเห็นอย่างไร


 
ร้อยละ
ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ตามกระบวนการ
40.5
จัดการปรองดองกันอีกรอบโดยหาคนกลางมาช่วย
28.5
ยอมให้ทหารเข้ามาจัดการอีกครั้ง
26.5
ไม่แน่ใจ
4.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความปรองดองและจัดให้มีการเลือกตั้งในแง่มุมต่างๆ
อาทิเช่น ความปรองดองในความเข้าใจของประชาชน ความเหมาะสมในการจัดให้มีการเลือกตั้ง ตลอดจนความกังวล
และผลกระทบหากการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามโรดแมป เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม
และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 19-21 กันยายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 กันยายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
542
49.3
             หญิง
558
50.7
รวม
1,100
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
143
13.0
             31 – 40 ปี
244
22.2
             41 – 50 ปี
285
25.9
             51 – 60 ปี
265
24.1
             61 ปีขึ้นไป
163
14.8
รวม
1,100
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
671
61.0
             ปริญญาตรี
361
32.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
68
6.2
รวม
1,100
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
142
12.9
             ลูกจ้างเอกชน
264
24.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
430
39.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
55
5.0
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
154
14.0
             นักเรียน/ นักศึกษา
40
3.6
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
12
1.1
รวม
1,100
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776