analyticstracking
หัวข้อ   “ เส้นทางการเลือกตั้งสู่ประชาธิปไตยไทยนิยม
ประชาชนร้อยละ 70.6% อยากได้นายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง
41.5%เห็นว่าการจัดมหรสพรื่นเริงในช่วงเลือกตั้ง สส. อาจเปิดช่องโกง แสวงหากำไรและผลประโยชน์
ประชาชนเชื่อประชาธิปไตยแบบไทยนิยมจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ เลย
ประชาชนยังสนับสนุนบิ๊กตู่เป็นนายกฯ แต่คะแนนนิยมลดลง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “เส้นทางการเลือกตั้งสู่ประชาธิปไตยไทยนิยม”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,114 คน พบว่า
 
                 เมื่อถามว่าคิดอย่างไรกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้งที่ต้องมีสมาชิกพรรคครบ 500 คน มีทุนประเดิมจำนวน 1 ล้านบาท
ประชาชนร้อยละ 43.9 เห็นว่าจะสร้างระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ เน้นพรรค
มากกว่าตัวคน
รองลงมาร้อยละ 29.6 เห็นว่าจะขาดความหลากหลายของนโยบายการ หาเสียง และร้อยละ 29.1 เห็นว่าจะนำไปสู่ระบบผูกขาดทางการเมือง
 
                 นอกจากนี้เมื่อถามต่อว่าคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งที่จะมาถึง ในเรื่อง
การสรรหานายกฯ คนนอก ตามบทเฉพาะกาล รัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6
เห็นว่านายกฯ ควรมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
ขณะที่ร้อยละ 29.4 เห็นว่านายกฯ มาจาก
คนนอกได้หากไม่สามารถเลือกกันเองได้
 
                  ด้านความเห็นต่อการจัดมหรสพ รื่นเริง ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง สส. พบว่า ประชาชนร้อยละ
41.5 เห็นว่าอาจเปิดช่องโกง แสวงหากำไรและผลประโยชน์
รองลงมาร้อยละ 40.5 เห็นว่าพรรคใหญ่ๆ จะได้เปรียบ
เพราะมีทุนมากกว่า และร้อยละ 37.3 เห็นว่าจะทำให้ประชาชนสนใจการเมือง รับรู้ข่าวสารของผู้สมัครได้ทั่วถึง
 
                  ส่วนเมื่อถามว่า “คิดอย่างไรกับแนวคิดประชาธิปไตยไทยนิยม” พบว่า ประชาชนร้อยละ 29.1 เห็นว่า
จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ เลย
รองลงมาร้อยละ 27.9 เห็นว่าจะทำให้กลายเป็นประชาธิปไตยกึ่ง
รัฐบาลทหาร และร้อยละ 22.5 เห็นว่าทำให้คนปรองดองไม่ขัดแย้ง ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากวันนี้ มีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่” พบว่า ประชาชนร้อยละ 36.8 ระบุว่าจะ “สนับสนุน”
(ลดลงจากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ร้อยละ 16.0)
ขณะที่ร้อยละ 34.8 ระบุว่าจะ “ไม่สนับสนุน”
ส่วนร้อยละ 28.4 งดออกเสียง
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “คิดอย่างไรกับ พรบ. ประกอบ รธน. ว่าด้วยการเลือกตั้งที่ต้องมีสมาชิกพรรคครบ 500 คน
              มีทุนประเดิมจำนวน 1 ล้านบาท”
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
สร้างระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ เน้นพรรคมากกว่าตัวคน
43.9
ขาดความหลากหลายของนโยบายการหาเสียง
29.6
จะนำไปสู่ระบบผูกขาดทางการเมือง
29.1
ทำให้มีพรรคใหญ่ให้เลือกได้ชัดเจน
26.8
มีจำนวนพรรคการเมือง นักการเมืองมีให้เลือกน้อย
22.3
 
 
             2. ข้อคำถาม “คิดอย่างไรกับการเลือกตั้งที่จะมาถึง ในเรื่องการสรรหานายกฯ คนนอก ตามบท
              เฉพาะกาล รธน.”


 
ร้อยละ
คิดว่านายกฯ ควรมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
70.6
คิดว่านายกฯ มาจากคนนอกได้หากไม่สามารถเลือกกันเองได้
29.4
 
 
             3. ความเห็นต่อการจัดมหรสพ รื่นเริง ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง สส.
              (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อาจเปิดช่องโกง แสวงหากำไรและผลประโยชน์
41.5
พรรคใหญ่ๆ จะได้เปรียบเพราะมีทุนมากกว่า
40.5
จะทำให้ประชาชนสนใจการเมือง รับรู้ข่าวสารของผู้สมัครได้ทั่วถึง
37.3
เป็นการสร้างการตื่นตัว ทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งคึกคัก
26.3
 
 
             4. ข้อคำถาม “คิดอย่างไรกับแนวคิดประชาธิปไตยไทยนิยม”

 
ร้อยละ
เห็นว่าจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆเลย
29.1
เห็นว่าจะทำให้กลายเป็นประชาธิปไตยกึ่งรัฐบาลทหาร
27.9
เห็นว่าทำให้คนปรองดองไม่ขัดแย้ง ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
22.5
เห็นว่าทำให้ประเทศพัฒนาไปในทิศทางที่ชัดเจน
20.5
 
 
             5. ข้อคำถาม “หากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน
                 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่”


 
สำรวจเมื่อ พ.ค.60
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ ม.ค. 61
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
สนับสนุน
52.8
36.8
-16.0
ไม่สนับสนุน
25.6
34.8
+9.2
งดออกเสียง
21.6
28.4
+6.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับ พรบ. ประกอบ รธน. ว่าด้วยการเลือกตั้ง
                 2) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการจัดมหรสพ รื่นเริง ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง สส.
                 3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อประชาธิปไตยไทยนิยม
                 4) เพื่อสะท้อนเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 17 – 19 มกราคม 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 มกราคม 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
603
54.1
             หญิง
511
45.9
รวม
1,114
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
115
10.3
             31 – 40 ปี
235
21.1
             41 – 50 ปี
330
29.6
             51 – 60 ปี
258
23.2
             61 ปีขึ้นไป
176
15.8
รวม
1,114
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
698
62.7
             ปริญญาตรี
329
29.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
87
7.8
รวม
1,114
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
142
12.7
             ลูกจ้างเอกชน
246
22.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
447
40.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
51
4.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
170
15.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
22
2.0
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
36
3.2
รวม
1,114
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776