analyticstracking
Tweet
หัวข้อ
“
อนาคตพรรคการเมืองกับความหวังคนไทยในการเลือกตั้ง
”
คะแนนนิยมพรรคการเมือง พรรคเพื่อไทยยังนำ ประชาชนส่วนใหญ่
65.4% มองการเปิดให้ยื่นแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ประชาชนเยอะขึ้น
65.0% อยากได้พรรคการเมืองแบบที่มีสมาชิกพรรคมีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง
78.6%หวังภายหลังการเลือกตั้งอยากเห็นการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
ผลคะแนนโหวต
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “อนาคตพรรคการเมืองกับความหวังคนไทยในการ
เลือกตั้ง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,192 คน
พบว่า
ประชาชนร้อยละ 65.4 เห็นว่าสถานการณ์ที่เปิดให้ยื่นแจ้งเตรียม
จัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆ
ให้ประชาชนเยอะขึ้น
รองลงมาร้อยละ 39.3 เห็นว่าช่วยทำให้การเมืองคึกคักขึ้น
/บรรยากาศเข้าสู่การเลือกตั้ง และร้อยละ 28.7 เห็นว่ามีพรรคการเมืองเยอะไป
ทำให้เสียงแตก
เมื่อถามว่าท่านคาดหวังอยากได้พรรคการเมืองแบบไหน ส่วนใหญ่
ร้อยละ 65.0 อยากให้มีสมาชิกพรรคที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง
รองลงมาร้อยละ 43.2 อยากให้มีนโยบายใหม่ๆ ที่พลิกโฉมประเทศ และร้อยละ 35.7
อยากให้สานต่อนโยบายพล.อ.ประยุทธ์ เช่น ปฏิรูปประเทศ ปราบทุจริต
สำหรับสิ่งที่หวังและรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึงพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6
อยากเห็นการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ
รองลงมาร้อยละ 64.6 อยากเห็นการปฏิรูปด้านสังคม กระบวนการยุติธรรม การศึกษา
และร้อยละ 40.8 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงระบบราชการ
ด้านคะแนนนิยมต่อพรรคการเมืองพบว่า พรรคเพื่อไทยอยู่ที่ร้อยละ 14.3 (ลดลงจากผลสำรวจเมื่อ
เดือนพฤษภาคม 2560 ร้อยละ 3.5)
รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 12.2 (ลดลงร้อยละ 3.4)
และพรรคอนาคตใหม่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 3.9
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
1. ข้อคำถาม “ท่านคิดอย่างไรกับสถานการณ์ที่เปิดให้ยื่นแจ้งเตรียมจัดตั้งพรรคการเมือง
เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา”
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ร้อยละ
ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ประชาชนเยอะขึ้น
65.4
ช่วยทำให้การเมืองคึกคักขึ้น /บรรยากาศเข้าสู่การเลือกตั้ง
39.3
มีพรรคการเมืองเยอะไปทำให้เสียงแตก
28.7
ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นว่าพรรคใหม่จะไม่สามารถสู้พรรคเก่าๆได้
20.7
2. ข้อคำถาม “ท่านคาดหวังอยากได้พรรคการเมืองแบบไหน”
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ร้อยละ
มีสมาชิกพรรคที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง
65.0
มีนโยบายใหม่ที่พลิกโฉมประเทศ
43.2
มีการสานต่อนโยบายรัฐบาล คสช. เช่น ปฏิรูปประเทศ ปราบทุจริต
35.7
มีนโยบายพรรคที่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์
15.9
มีสมาชิกพรรคเป็นอดีต ส.ส. นักการเมืองเก่า
12.7
มีสมาชิกพรรคเป็นคนดัง คนมีชื่อเสียงทางสังคม
5.9
3. สิ่งที่หวังและรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึง
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ร้อยละ
การปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ
78.6
การปฏิรูปด้านสังคม กระบวนการยุติธรรม การศึกษา
64.6
การเปลี่ยนแปลงระบบราชการ
40.8
นายกรัฐมนตรี
27.0
คณะรัฐมนตรี
21.2
4. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด”
จะเลือกพรรค...
สำรวจเมื่อ
พ.ค. 60
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
มี.ค. 61
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
พรรคเพื่อไทย
17.8
14.3
-3.5
พรรคประชาธิปัตย์
15.6
12.2
-3.4
พรรคอนาคตใหม่
-
3.9
-
พรรคประชาชนปฏิรูป
-
2.9
-
พรรคภูมิใจไทย
0.8
0.7
-0.1
พรรครักประเทศไทย
1.5
0.6
-0.9
พรรคชาติไทยพัฒนา
1.0
0.6
-0.4
พรรคพลังชล
0.3
0.4
+0.1
พรรคอื่นๆ
1.1
3.1
+2.0
ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ
61.9
61.3
-0.6
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ
:
1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสถานการณ์ที่เปิดให้ยื่นแจ้งเตรียมจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา
2) เพื่อสะท้อนความคาดหวังต่อพรรคการเมืองแบบไหนที่อยากได้
3) เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ
4) เพื่อต้องการทราบสิ่งที่หวังและรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึง
ประชากรที่สนใจศึกษา
:
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
:
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน
3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
:
: 20 – 22 มีนาคม 2561
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ:
25 มีนาคม 2561
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
ชาย
618
51.8
หญิง
574
48.2
รวม
1,192
100.0
อายุ:
18 – 30 ปี
139
11.7
31 – 40 ปี
222
18.6
41 – 50 ปี
332
27.9
51 – 60 ปี
289
24.2
61 ปีขึ้นไป
210
17.6
รวม
1,192
100.0
การศึกษา:
ต่ำกว่าปริญญาตรี
747
62.7
ปริญญาตรี
354
29.7
สูงกว่าปริญญาตรี
91
7.6
รวม
1,192
100.0
อาชีพ:
ลูกจ้างรัฐบาล
174
14.6
ลูกจ้างเอกชน
289
24.2
ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
447
37.5
เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
63
5.3
ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
173
14.5
นักเรียน/ นักศึกษา
34
2.9
ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
11
0.9
รวม
1,192
100.0
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่
Download PDF file:
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776
Email:
bangkokpoll@bu.ac.th
Website:
http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter:
http://twitter.com/bangkok_poll
Facebook:
www.facebook.com/bangkokpoll
ผลสำรวจเรื่องอื่นๆ