analyticstracking
หัวข้อ   “ การเลือกตั้งบนสมรภูมิโซเชียล
คนไทยส่วนใหญ่ 68.0% อยากเห็นพรรคการเมืองใช้ เฟซบุ๊ค/เฟซบุ๊ค ไลฟ์ เคลื่อนไหวทางการเมืองมากที่สุด
ส่วนใหญ่ 51.4% เชื่อจะเกิดผลดี ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลของพรรคการเมืองมากขึ้น
ส่วนใหญ่ 63.0% เห็นว่าการเสนอข้อมูลต่างๆทางการเมืองของเน็ตไอดอล
มีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อการเลือกตั้ง
47.9%รู้สึกเหมือนถูกปิดกั้นข้อมูล หากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลมีเดียหาเสียง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “การเลือกตั้งบนสมรภูมิโซเชียล” โดยเก็บข้อมูลกับ
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,201 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
ร้อยละ 68.0 อยากเห็นพรรรคการเมืองใช้สื่อโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ค/เฟซบุ๊คไลฟ์ ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
รองลงมาร้อยละ 39.6 อยากเห็นใช้สื่อโซเชียลมีเดีย
ไลน์ และร้อยละ 36.5 ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ยูทูป
 
                  เมื่อถามความเห็นต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ของพรรคการเมืองต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 เห็นว่าจะเกิดผลดี โดย
ในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้น
(ร้อยละ 54.8) รองลงมาคือ คนรุ่นใหม่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น (ร้อยละ
53.4)
ขณะที่ร้อยละ 48.6 เห็นว่าจะเกิดผลเสีย โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ข้อมูลที่ได้
อาจไม่น่าเชื่อถือ มีการบิดเบือนข้อมูล (ร้อยละ 45.2) และจะมีการแสดงความเห็นใส่ร้าย
โจมตีคู่แข่ง ทำให้เกิดความขัดแย้ง (ร้อยละ 33.5)
 
                  ส่วนความเห็นต่อการเสนอข้อมูลต่างๆทางการเมืองของเน็ตไอดอลหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด
จะมีผลต่อการเลือกตั้งที่จะถึงมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.0 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

ขณะที่ร้อยละ 37.0 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่ารู้สึกอย่างไรหากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลมีเดียหาเสียงพบว่า ร้อยละ 47.9 รู้สึก
เหมือนถูกปิดกั้นข้อมูล
รองลงมาร้อยละ 34.6 รู้สึกเหมือนประเทศยังไม่พัฒนา ไม่มีอิสระ และร้อยละ 34.3 รู้สึกว่าถ้าใช้
โซเชียลหาสียง ประเทศจะวุ่นวายแตกแยก
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “คาดหวังอยากเห็นพรรคการเมืองใช้สื่อโซเชียลมีเดียอะไร ในการเคลื่อนไหว
                  ทางการเมือง” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

                 

 
ร้อยละ
เฟซบุ๊ค/เฟซบุ๊ค ไลฟ์
68.0
ไลน์
39.6
ยูทูป
36.5
ทวิตเตอร์
11.9
อินสตาแกรม
11.5
 
 
             2. ความเห็นต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของพรรคการเมืองต่างๆ

 
ร้อยละ
เห็นว่าจะเกิดผลดี
เพราะ ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลพรรคการเมือง
ได้ง่ายขึ้น
ร้อยละ 54.8
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) คนรุ่นใหม่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง
มากขึ้น
ร้อยละ 53.4
  เหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ร้อยละ 33.9
51.4
เห็นว่าจะเกิดผลเสีย
เพราะ ข้อมูลที่ได้อาจไม่น่าเชื่อถือ มีการ
บิดเบือนข้อมูล
ร้อยละ 45.2
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จะมีการแสดงความเห็นใส่ร้ายโจมตี
คู่แข่งทำให้เกิดความขัดแย้ง
ร้อยละ 33.5
  กังวลว่ากดไลค์ กดแชร์ ข้อมูลแล้ว
จะผิดกฎหมาย
ร้อยละ 31.4
  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถ
ควบคุมได้
ร้อยละ 24.5
48.6
 
 
             3. ความเห็นต่อการเสนอข้อมูลต่างๆทางการเมืองของเน็ตไอดอลหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด
                  จะมีผลต่อการเลือกตั้งที่จะถึงมากน้อยเพียงใด”


 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 11.4 และค่อนข้างมากร้อยละ 51.6)
63.0
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 23.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 13.6 )
37.0
 
 
             4. ข้อคำถาม “รู้สึกอย่างไรหากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลมีเดียหาเสียง” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
รู้สึกเหมือนถูกปิดกั้นข้อมูล
47.9
รู้สึกเหมือนประเทศยังไม่พัฒนา ไม่มีอิสระ
34.6
รู้สึกว่าถ้าใช้โซเชียลหาสียง ประเทศจะวุ่นวายแตกแยก
34.3
รู้สึกว่าประเทศยังไม่พร้อมกับการใช้สื่อโซเชียลในการหาเสียง
22.1
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความคาดหวังว่าอยากเห็นพรรคการเมืองใช้สื่อโซเชียลมีเดียอะไร ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
                  2) เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อการใช้สื่อโซเชียลเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของพรรคการเมืองต่างๆ
                  3) เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อการเสนอข้อมูลต่างๆทางการเมืองของเน็ตไอดอลหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด
                      จะมีผลต่อการเลือกตั้งที่จะถึงมากน้อยเพียงใด
                  4) เพื่อสะท้อนความรู้สึกหากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลหาเสียง
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธี
การถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 11 – 13 กันยายน 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 กันยายน 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
658
54.8
             หญิง
543
45.2
รวม
1,201
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
133
11.1
             31 – 40 ปี
244
20.3
             41 – 50 ปี
338
28.2
             51 – 60 ปี
290
24.1
             61 ปีขึ้นไป
196
16.3
รวม
1,201
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
651
54.2
             ปริญญาตรี
425
35.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
125
10.4
รวม
1,201
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
181
15.1
             ลูกจ้างเอกชน
296
24.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
405
33.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
97
8.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
190
15.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
25
2.1
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
7
0.6
รวม
1,201
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776