analyticstracking
หัวข้อ   “ เลือกตั้งครั้งใหม่........อะไรที่คนไทยอยากรู้?
คนไทยส่วนใหญ่ 69.6% อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลการเลือกตั้งเกี่ยวกับวิธีการลงคะแนนเสียง

โดย 79.3% จะติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกผ่าน สปอตทีวี

70.3% ชี้ ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งในด้านต่างๆ ยังไม่เพียงพอ ในขณะนี้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรว
จความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “เลือกตั้งครั้งใหม่........อะไรที่คนไทยอยากรู้?”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,200 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 69.6 อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลการ
เลือกตั้งเกี่ยวกับวิธีการลงคะแนนเสียง
รองลงมาร้อยละ 68.1 อยากได้ข้อมูลด้าน
ตัวผู้สมัคร และร้อยละ 59.8 อยากได้ข้อมูลด้านพรรคการเมืองต่างๆ
 
                 สำหรับช่องทางที่จะติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งพบว่า ส่วนใหญ่
ร้อยละ 79.3 จะติดตามผ่าน สปอตทีวี
รองลงมาคือ สื่อโซเชียล Facebook Youtube
Line (ร้อยละ 49.1) ป้ายโฆษณาต่างๆ (ร้อยละ 26.8) หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 18.9) สปอต
วิทยุ (ร้อยละ 17.5) และแอปพลิเคชัน (ร้อยละ 12.4)
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า “ในขณะนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับการการเลือกตั้งในด้าน
ต่างๆ เพียงพอหรือไม่แก่ตัวท่าน” ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.3 ระบุว่า “ไม่เพียงพอ”

ขณะที่ร้อยละ 20.3 ระบุว่า “เพียงพอแล้ว” และร้อยละ 9.4 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งในเรื่องใดบ้าง”
                  
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ข้อมูลวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
69.6
ข้อมูลด้านตัวผู้สมัคร
68.1
ข้อมูลด้านพรรคการเมืองต่างๆ
59.8
ข้อมูลพื้นที่เลือกตั้ง
49.8
 
 
             2. ช่องทางที่จะติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
                  
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
สปอตทีวี
79.3
สื่อโซเชียล Facebook Youtube Line
49.1
ป้ายโฆษณาต่างๆ
26.8
หนังสือพิมพ์
18.9
สปอตวิทยุ
17.5
แอปพลิเคชัน
12.4
 
 
             3. ข้อคำถาม “ในขณะนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับการการเลือกตั้งในด้านต่างๆ เพียงพอหรือไม่แก่ตัวท่าน”

 
ร้อยละ
ไม่เพียงพอ
70.3
เพียงพอแล้ว
20.3
ไม่แน่ใจ
9.4
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อต้องการทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่อยากได้
                  2) เพื่อสะท้อนถึงช่องทางที่จะติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
                  3) เพื่อต้องการทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งในด้านต่างๆ เพียงพอหรือไม่แก่ตัวท่านในขณะนี้
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 27-28 พฤศจิกายน 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 ธันวาคม 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
611
50.9
             หญิง
589
49.1
รวม
1,200
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
118
9.8
             31 – 40 ปี
213
17.8
             41 – 50 ปี
304
25.3
             51 – 60 ปี
322
26.8
             61 ปีขึ้นไป
243
20.3
รวม
1,200
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
706
58.8
             ปริญญาตรี
381
31.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
113
9.4
รวม
1,200
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
148
12.3
             ลูกจ้างเอกชน
260
21.7
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
490
40.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
62
5.2
             ทำงานให้ครอบครัว
6
0.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
190
15.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
26
2.2
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
18
1.5
รวม
1,200
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776