analyticstracking
หัวข้อ   “ คนกรุงปฏิบัติตนอย่างไร...ช่วงเข้าพรรษา
            วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้พุทธศาสนิกชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 มีแผนจะไปทำบุญเวียนเทียน
      ถวายเทียนพรรษา โดยร้อยละ ร้อยละ 48.6 ระบุว่าตั้งใจจะทำบุญตักบาตรทุกวันพระในช่วงเข้าพรรษา
            ทั้งนี้ผู้ดื่มสุราส่วนใหญ่ร้อยละ 87.0 ตั้งใจจะเข้าร่วมตามคำเชิญชวนงดเหล้าตลอดเข้าพรรษา
       แต่อาจขอดื่มเฉพาะงานสังสรรค์บางงาน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชนเรื่อง“คนกรุงปฏิบัติตนอย่างไร...ช่วงเข้าพรรษา”

โดยเก็บข้อมูลพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,194 คน
ได้ผลสำรวจดังนี้
 
                 เมื่อถามความเห็นว่า ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนในกรุงเทพฯ
ห่างไกลจากการเข้าวัดทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมหรือไม่ พบว่าร้อยละ 45.5
คิดว่ายังใกล้ชิดกันเหมือนเดิม
รองลงมาร้อยละ 39.9 คิดว่าห่างไกลมากขึ้น และ
ร้อยละ 14.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชน
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.4 ระบุว่ามีแผนที่จะทำบุญ (เวียนเทียนถวายเทียน
พรรษาและผ้าอาบน้ำฝน)
รองลงมาร้อยละ 12.4 ระบุว่ามีแผนที่จะไปทำบุญ
พร้อมไปท่องเที่ยวด้วย และร้อยละ 9.5 มีแผนที่จะท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนา
ที่เหลือร้อยละ 26.7 ระบุว่าไม่มีแผนเพราะต้องทำงาน / ไม่ได้หยุดยาว
 
                 ส่วนสิ่งที่พุทธศาสนิกชนตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษาปีนี้ นั้น ร้อยละ 48.6 ระบุว่าจะทำบุญตักบาตร
ทุกวันพระช่วงเข้าพรรษา
รองลงมาร้อยละ 35.2 ระบุว่า จะสวดมนต์นั่งสมาธิบ่อยขึ้น และร้อยละ 26.5 ระบุว่า จะไม่ดื่มเหล้า
ตลอด 3 เดือน
 
                 เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราว่า จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญ
“รักษาชีวิตอย่าติดสุรา” ในกิจกรรม“ วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ชวนคนไทยงดเหล้าตลอดเข้าพรรษา จะเข้าร่วม
ตามคำเชิญชวนหรือไม่อย่างไร
ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.0 จะเข้าร่วมตามคำเชิญชวน (โดยร้อยละ 36.8 คิดว่าจะงด
แต่อาจดื่มเฉพาะงานสังสรรค์บางงาน รองลงมาร้อยละ 32.2 คิดว่าจะงดตลอด 3 เดือน และร้อยละ 18.0 คิดว่าจะงด
แต่อาจไม่ครบ 3 เดือน) ขณะที่ ร้อยละ 13.0 ระบุว่าจะไม่เข้าร่วมตามคำเชิญชวนและคิดว่าจะดื่มตามปกติ
 
                 สุดท้ายเมื่อถามความเห็นพุทธศาสนิกชนเกี่ยวกับหลักธรรมในราชสังคหวัตถุ 4 หรือหลักธรรมในการ
วางนโยบายปกครองบ้านเมือง ว่าอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และครม.ชุดใหม่ ยึดถือ
ข้อใดมากที่สุด ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.2 เห็นว่าควรยึดหลักธรรมในข้อ สะสะเมธัง คือการบำรุงบ้านเมืองให้เจริญ
รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและเกษตรกรรม
รองลงมาร้อยละ 29.3 เห็นว่าควรยึดหลักธรรมข้อ สัมมาปาสัง คือฉลาดในการ
แก้ปัญหาสังคมส่งเสริมอาชีพช่วยให้คนจนให้ตั้งตัวได้
 
                 รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ปัจจุบันคนกรุงเทพฯห่างไกลจากการเข้าวัดทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมหรือไม่

 
ร้อยละ
คิดว่าห่างไกลมากขึ้น
39.9
คิดว่าใกล้ชิดกันอยู่เหมือนเดิม
45.5
ไม่แน่ใจ
14.6
 
 
             2. เมื่อถามว่า “มีแผนจะทำบุญหรือท่องเที่ยวในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้หรือไม่ อย่างไร”
                 

 
ร้อยละ
มีแผนที่จะทำบุญ (เวียนเทียนถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน)
51.4
มีแผนที่จะไปทำบุญพร้อมไปท่องเที่ยวด้วย
12.4
มีแผนที่จะท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนา
9.5
ไม่มีแผนเพราะต้องทำงาน / ไม่ได้หยุดยาว/อยู่บ้านเฉยๆ
26.7
 
 
             3. สิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษาปีนี้ 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
ทำบุญตักบาตรทุกวันพระช่วงเข้าพรรษา
48.6
สวดมนต์ นั่งสมาธิ บ่อยขึ้น
35.2
ไม่ดื่มเหล้าตลอด 3 เดือน
26.5
งดเว้นอบายมุขต่างๆ
20.0
เดินสายทำบุญตามวัดต่างๆ
19.0
 
 
             4. จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญ “รักษาชีวิตอย่าติดสุรา” ในกิจกรรม
                 “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ”ชวนคนไทยงดเหล้าตลอดเข้าพรรษาจะเข้าร่วมตามคำเชิญชวนหรือไม่อย่างไร


 
ร้อยละ
เข้าร่วมตามคำเชิญชวน โดย.....
  คิดว่าจะงดแต่อาจดื่มเฉพาะงานสังสรรค์บางงาน ร้อยละ 36.8
  คิดว่าจะงดตลอด 3 เดือน ร้อยละ 32.2
  คิดว่าจะงดแต่อาจไม่ครบ 3 เดือน ร้อยละ 18.0
87.0
ไม่เข้าร่วมตามคำเชิญชวน คิดว่าจะดื่มตามปกติ
13.0
 
 
             5.จากหลักธรรมที่ใช้ในการวางนโยบายในการปกครองและบริหารบ้านเมือง“ราชสังคหวัตถุ 4”
                 “ข้อที่อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และครม. ชุดใหม่ยึดถือมากที่สุดคือ


 
ร้อยละ
สะสะเมธัง คือการบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและเกษตรกรรม
36.2
สัมมาปาสัง คือฉลาดในการแก้ปัญหาสังคมส่งเสริมอาชีพ ช่วยให้คนจนให้ตั้งตัวได้
29.3
วาจาเปยยัง คือ การพูดตามความเป็นจริง และตามความเป็นธรรม มีวาจาที่ชวนฟัง ทำให้คนอยากร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน
20.4
ปุริสเมธัง คือ รู้จักเลือกใช้คน ให้ตรงกับตำแหน่งที่เหมาะสมส่งเสริมคนดีมีความสามารถ
14.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับ สิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษา
ตลอดจนหลักธรรมที่อยากบอกให้รัฐบาลยึดถือและนำไปปฏิบัติในการบริหารประเทศเพื่อสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากพุทธศาสนิกชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอกชั้นกลางและ
ชั้นในได้แก่เขตดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางเขน บางซื่อ บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน
ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง และสาทรจากนั้นจึงสุ่มถนนและ
ประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,194 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 8-10 กรกฎาคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 13 กรกฎาคม 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
607
50.8
             หญิง
587
49.2
รวม
1,194
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
301
25.2
             31 – 40 ปี
242
20.3
             41 – 50 ปี
234
19.6
             51 – 60 ปี
232
19.4
             61 ปีขึ้นไป
185
15.5
รวม
1,194
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
862
72.2
             ปริญญาตรี
288
24.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
44
3.6
รวม
1,194
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
84
7.0
             ลูกจ้างเอกชน
348
29.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
454
38.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
28
2.3
             ทำงานให้ครอบครัว
20
1.7
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
156
13.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
75
6.3
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
29
2.4
รวม
1,194
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776