analyticstracking
หัวข้อ   “ เด็กไทยยุคใหม่...หัวใจรักษ์โลก
                  เด็กไทยยุคใหม่ ร้อยละ 71.9 รับจะทำหน้าที่พลเมืองไทยที่ดีตามคำขวัญวันเด็ก ปี 2563 ของ
   ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี โดยจะร่วมรณรงค์งดรับถุงพลาสติก ทั้งนี้ร้อยละ 98.5 ทราบเรื่องการรณรงค์ยกเลิก
   ใช้ถุงพลาสติกในประเทศไทย โดยระบุว่าที่ผ่านมามีส่วนร่วมในการลดใช้ถุงพลาสติกและรณรงค์รักษ์โลก
   รักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ถุงผ้า และไม่รับถุงพลาสติกถ้าซื้อของเล็กๆ น้อยๆ
                   สำหรับห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆ ที่เริ่มงดให้ถุงพลาสติกกันแล้ว เด็กๆ ร้อยละ 95.1
   ระบุว่า จะพกถุงผ้าไปใส่ของแทน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยวันเสาร์ที่ 11 มกราคมนี้ ตรงกับวันเด็กแห่งชาติ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กๆ ในเรื่อง “เด็กไทยยุคใหม่หัวใจรักษ์โลก” โดยเก็บข้อมูลจากเด็กที่มีอายุ 6-14 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,198 คน พบว่า
 
                  เด็กส่วนใหญ่ร้อยละ 98.5 ทราบเรื่องการรณรงค์ยกเลิกใช้ถุง
พลาสติกในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 ระบุว่าทราบจากร้านสะดวกซื้อ
อาทิ 7-Eleven
รองลงมาร้อยละ 44.1 ระบุว่าทราบจากการการประชาสัมพันธ์ทางทีวี และ
ร้อยละ 42.3 ระบุว่าทราบจากโรงเรียน กิจกรรมในโรงเรียน
 
                  ทั้งนี้ที่ผ่านมาเด็กๆ มีส่วนร่วมในการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติก
และ รณรงค์รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างไรบ้างนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.9
ระบุว่า ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
รองลงมาร้อยละ 21.9 ระบุว่าถ้าซื้อของเล็กๆ น้อยๆ
จะไม่รับถุงพลาสติก หรือใช้ถุงเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น และร้อยละ 6.5 ระบุว่าพกถุงติดตัว
ไปใส่ของ นำภาชนะ ไปใส่อาหารที่ร้านใกล้บ้าน
 
                  ส่วนการที่ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าต่างๆ เริ่มงดให้ถุงพลาสติก เด็กๆ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.1
ระบุว่าจะพกถุงผ้าไปใส่ของ
รองลงมาร้อยละ 48.4 ระบุว่าจะนำกระเป๋าไปใส่ของ และร้อยละ 25.0 จะนำตะกร้าไปใส่ของ
 
                 เมื่อถามว่า เด็กๆ คิดว่าตนเองจะสามารถทำหน้าที่พลเมืองไทยที่ดีในการลด ละ เลิก การใช้ถุง
พลาสติกอย่างไร เพื่อสอดคล้องกับคำขวัญวันเด็ก ปี 2563 ของนายกรัฐมนตรี “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี
รู้หน้าที่พลเมืองไทย” ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ระบุว่า จะงดรับถุงพลาสติก /ใช้ถุงผ้าเป็นประจำ
รองลงมาร้อยละ
19.3 ระบุว่าจะบอกพ่อแม่ ครอบครัวให้ลดเลิกการใช้ถุงพลาสติก และร้อยละ 8.6 ระบุว่าจะบอกเพื่อนและครูที่โรงเรียน
ให้ลดการใช้ถุงพลาสติก
 
 
                  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบของเด็กๆ เรื่องการรณรงค์ยกเลิกใช้ถุงพลาสติกในประเทศไทย
                 

 
ร้อยละ
ทราบ
โดยทราบจาก.....
                ร้านสะดวกซื้อ อาทิ 7-Eleven ร้อยละ 52.8
                การประชาสัมพันธ์ทางทีวี ร้อยละ 44.1
                โรงเรียน กิจกรรมในโรงเรียน ร้อยละ 42.3
                พ่อแม่ ครอบครัว /เพื่อน ร้อยละ 30.2
                สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 30.1
                ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 29.7
                ป้ายตามถนน ร้อยละ 9.4
98.5
ไม่ทราบ
1.5
 
 
             2. การมีส่วนร่วมในการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติก และ รณรงค์รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม ของเด็กๆ
                  ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
60.9
ซื้อของเล็กๆ น้อยๆ จะไม่รับถุงพลาสติก หรือใช้ถุงเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
21.9
พกถุงติดตัวไปใส่ของ นำภาชนะ ไปใส่อาหารที่ร้านใกล้บ้าน ใส่กระเป๋านักเรียน
6.5
เข้าร่วมโครงการธนาคารขยะ เก็บขยะพลาสติก ไปแลกเป็นเงิน และนำไปรีไซเคิล
5.3
ร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์ตามตลาดและชุมชน ให้ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
4.0
 
 
             3. เมื่อห้างสรรพสินค้า และร้านค้าต่างๆ เริ่มงดให้ถุงพลาสติก เด็กๆ จะพกอะไรไปใส่ของกัน
                 
(สามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
ถุงผ้า
95.1
กระเป๋า
48.4
ตะกร้า
25.0
ถุงกระดาษ
11.9
รถเข็น
7.8
ปิ่นโต
4.3
ใช้ภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ
3.7
หม้อ
2.5
กระป๋อง
2.0
อื่นๆ อาทิ ถือมือเปล่า ใส่กระเป๋ากางเกง กระเป๋าเสื้อ
1.5
 
 
             4. เมื่อถามว่า เด็กๆ คิดว่าตนเอง จะสามารถทำหน้าที่พลเมืองไทยที่ดีในการลด ละ เลิก การใช้
                 ถุงพลาสติกอย่างไร เพื่อสอดคล้องกับคำขวัญวันเด็ก ปี 2563 ของนายกรัฐมนตรี “เด็กไทยยุคใหม่
                 รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย”


 
ร้อยละ
งดรับถุงพลาสติก /ใช้ถุงผ้าเป็นประจำ
71.9
บอกพ่อแม่และครอบครัวให้ลดการใช้ถุงพลาสติก
19.3
บอกเพื่อนและครูที่โรงเรียนให้ลดการใช้ถุงพลาสติก
8.6
อื่น ๆ อาทิ บอกคนรอบข้างทุกคนให้เลิกใช้ถุงพลาสติก
0.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเด็กอายุ 6 -14 ปี ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ
โดยสอบถามเกี่ยวกับ การรับรทราบเรื่องการรณรงค์ยกเลิกใช้ถุงพลาสติกในประเทศไทย ตลอดจนพฤติกรรมการลด ละ เลิก
ใช้พลาสติกและถุงพลาสติกของเด็กๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเด็กให้ผู้ใหญ่ในสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 6-14 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา – มัธยมศึกษาตอนต้น
ทั้งโรงเรียนในสังกัดรัฐบาล และสังกัดเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน
ชั้นกลางและชั้นนอก ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมาย
ที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,198 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.8 และเพศหญิงร้อยละ 49.2
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างโดยตรง (Face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด
(Open Ended) จากนั้นจึงได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ และลงรหัส ก่อนบันทึกข้อมูล
และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 6-9 มกราคม 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 มกราคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ข้อมูลประชากรศาสตร์
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
608
50.8
             หญิง
590
49.2
รวม
1,198
100.0
อายุ:
 
 
             6 – 8 ปี
323
27.0
             9 – 11 ปี
402
33.5
             12 – 14 ปี
473
39.5
รวม
1,198
100.0
การศึกษา:
 
 
             ประถมศึกษา
765
63.9
             มัธยมศึกษา
433
36.1
รวม
1,198
100.0
สังกัดของโรงเรียน:
   
             รัฐบาล
1,076
89.8
             เอกชน
122
10.2
รวม
1,198
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-407-3888 ต่อ 2897-2898