analyticstracking
หัวข้อ   “ วิกฤตการณ์ฝุ่นเกินค่า...ต้องฝ่าไปด้วยกัน
                  จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ในประเทศไทยขณะนี้ มีประชาชนร้อยละ 33.5
   ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ซึ่งมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก หายใจไม่สะดวก โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5
   ป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย
                   ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 57.6 วอนให้หน่วยงานต่างๆ ดูแลการงดปล่อยควันจากโรงงาน/งดเผา
   /ตรวจควันดำรถ ในช่วงนี้อย่างจริงจัง โดยร้อยละ 79.7 เชื่อมั่นว่า มาตรการของรัฐบาล ด้านสร้างการรับรู้
   และเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง จะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นในระยะ นี้ได้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “วิกฤตการณ์ฝุ่นเกินค่า...ต้องฝ่าไปด้วยกัน” โดยเก็บข้อมูลกับ
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,180 คน พบว่า
 
                 จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในประเทศไทยขณะนี้
ประชาชนร้อยละ 33.5 ระบุว่าได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ โดยร้อยละ 33.3 ระบุว่า
มีอาการไอ จาม มีน้ำมูก
รองลงมาร้อยละ 32.4 ระบุว่ามีอาการหายใจไม่สะดวก/
หายใจได้ไม่เต็มปอด และร้อยละ 18.2 ระบุว่ามีอาการแสบตา ตาอักเสบ ตาแดง
 
                 ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5 เลือกวิธีป้องกันตนเองโดย
การสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้
รองลงมาร้อยละ 30.3
ระบุว่าเลี่ยงเดินทางที่มีจราจรคับคั่ง/ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น และร้อยละ 12.6
ระบุว่างดกิจกรรม/การออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง
 
                 ส่วนความเห็นที่มีต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าควรมีมาตรการบริหาร
จัดการวิกฤตการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในช่วงเร่งด่วนนี้อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.6
ระบุว่า ควรงดปล่อยควันจากโรงงาน/การเผา/รถควันดำในช่วงนี้อย่างจริงจัง
รองลงมาร้อยละ 54.1 ระบุว่าควรแจก
อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกระจายทุกพื้นที่ และร้อยละ 53.6 ระบุว่าควรตั้งหน่วยเฉพาะกิจมาบริหารจัดการ แก้
ปัญหาฝุ่นอย่างเร่งด่วนและมีอำนาจสั่งการจริงจัง
 
                 สำหรับความเชื่อมั่นต่อมาตรการแก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาลว่าจะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นในระยะ 2-3 เดือนนี้ได้
พบว่า มาตรการที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 79.7 เชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในช่วงนี้ได้คือ
สร้างการรับรู้และเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง
รองลงมาร้อยละ 60.2 คือมาตรการ
สนับสนุนการจัดโครงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี เพื่อช่วยลดฝุ่นละออง และร้อยละ 55.8
คือมาตรการตรวจสอบโรงงานที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองหากเกินมาตรฐานให้สั่งปรับปรุงแก้ไข หรือสั่งหยุดกิจการ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ตนเองหรือคนในครอบครัวได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชิวิตจากปัญหาฝุ่น PM 2.5
                  บ้างหรือไม่

                 

 
ร้อยละ
ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ
โดยมีอาการ
                - ไอ จาม มีน้ำมูก ร้อยละ 33.3
                - หายใจไม่สะดวก/หายใจได้ไม่เต็มปอด ร้อยละ 32.4
                - แสบตา ตาอักเสบ ตาแดง ร้อยละ 18.2
                - เป็นผื่นคันตามตัว ร้อยละ 6.7
                - อื่นๆ อาทิ ร้อยละ 9.4
33.5
ยังไม่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ
66.5
 
 
             2. วิธีป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 (ตอบได้มากว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5
51.5
เลี่ยงเดินทางที่มีจราจรคับคั่ง/ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น
30.3
งดกิจกรรม/การออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง
12.6
ตรวจสอบค่าฝุ่นในสถานที่ที่จะไปอยู่เสมอ
9.7
ซื้อเครื่องฟอกอากาศไว้ที่บ้าน
8.9
อื่นๆ อาทิ ใส่แว่นดำ ปลูกต้นไม้ ใช้น้ำรดหน้าบ้าน ฯลฯ
1.8
 
 
             3. คิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ฝุ่น PM 2.5
                  ในช่วงเร่งด่วนนี้อย่างไร
(ตอบได้มากว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
งดปล่อยควันจากโรงงาน/การเผา/รถควันดำในช่วงนี้อย่างจริงจัง
57.6
แจกอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกระจายทุกพื้นที่
54.1
ตั้งหน่วยเฉพาะกิจมาบริหารจัดการ แก้ปัญหาฝุ่นอย่างเร่งด่วนและมีอำนาจสั่งการจริงจัง
53.6
ยกระดับเป็นสถานการณ์สีแดงและแจ้งให้ ประชาชนตระหนัก/เตรียมรับมือ
36.0
ประกาศให้หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่อยู่กลางแจ้ง
21.9
จัดสลับวันเรียน/วันทำงาน /วันใช้รถ เพื่อลดการออกนอกบ้าน
17.1
อื่นๆ อาทิ ใช้น้ำชะล้างฝุ่นตามที่ต่างๆ ทำฝนเทียม ระงับการก่อสร้างรถไฟฟ้าและถนนชั่วคราว ฯลฯ
4.8
 
 
             4. ความเชื่อมั่นต่อมาตรการแก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล ว่าจะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นในระยะ
                  2-3 เดือนนี้ได้


มาตรการแก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5
เชื่อมั่น
(ร้อยละ)
ไม่เชื่อมั่น
(ร้อยละ)
สร้างการรับรู้และเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง
79.7
20.3
สนับสนุนการจัดโครงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี เพื่อช่วยลดฝุ่นละออง
60.2
39.8
ตรวจสอบโรงงานที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองหากเกินมาตรฐานให้สั่งปรับปรุงแก้ไข หรือสั่งหยุดกิจการ
55.8
44.2
บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่กระทำการเผาในที่โล่ง ทั้งในกรุงเทพฯต่างจังหวัด
55.4
44.6
ลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 10 PPM ซึ่งเป็นน้ำมันที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองน้อย
51.8
48.2
ตรวจวัดควันดำรถโดยสาร ทุกคัน และรถบรรทุก เพื่อออกคำสั่งห้ามใช้รถ
48.2
51.8
กำกับให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าและก่อสร้างอื่นๆไม่ทำให้เกิดฝุ่นและปัญหาการจราจร บริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้าง
40.9
59.1
ขอความร่วมมือลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน
35.8
64.2
ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯในวันคี่ ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ.63
35.3
64.7
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงเวลานี้
ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 การบริหารจัดการวิกฤตการณ์ฝุ่น PM 2.5
จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความเชื่อมั่นในมาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาล เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของ
ประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 21-23 มกราคม 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 มกราคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
568
48.1
             หญิง
612
51.9
รวม
1,180
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
100
8.5
             31 – 40 ปี
196
16.6
             41 – 50 ปี
327
27.7
             51 – 60 ปี
303
25.7
             61 ปีขึ้นไป
254
21.5
รวม
1,180
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
710
60.2
             ปริญญาตรี
359
30.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
111
9.4
รวม
1,180
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
156
13.2
             ลูกจ้างเอกชน
283
24.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
445
37.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
48
4.1
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
217
18.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
17
1.4
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
13
1.1
รวม
1,180
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776