analyticstracking
หัวข้อ   “คนไทยกับการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 เชื่อหากโควิด-19 คลี่คลาย การท่องเที่ยวหนาวนี้ จะคึกคักค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
โดยคนไทยอยากไปท่องเที่ยวทำบุญมากที่สุด รองลงมาอยากไปเกาะ ทะเลสวยๆ และอยากไปดอยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก ไม่สวมผ้าปิดปาก กลัวติด โควิด–19 ขณะไปท่องเที่ยว
ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.2 ปรับตัวท่องเที่ยวจากสถานการณ์โควิด-19 โดยจะใส่หน้ากากอนามัย พกเจลล้างมือบ่อยๆ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยว่ารัฐจะใช้มาตรการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
เพื่อป้องกันโควิด โดยประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันคิดเป็นร้อยละ 34.8
และสนใจเข้าร่วมโครงการทัวร์เที่ยวไทยคิดเป็นร้อยละ 33.4
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 27 กันยายนที่จะถึงนี้เป็นวันท่องเที่ยวโลก กรุงเทพโพลล์
โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “คนไทยกับการท่องเที่ยว
หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,154
คน พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 เห็นว่าหากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย
การท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวที่จะถึงนี้ จะคึกคักค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่
ร้อยละ 47.5 เห็นว่าจะคึกคักค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  เมื่อถามว่า “อยากไปท่องเที่ยวในประเทศไทยรูปแบบใด หาก
สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย” กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 34.5 อยากไปท่องเที่ยว
ทำบุญ เช่น ทำบุญ 9 วัด
รองลงมาร้อยละ 31.3 อยากไปเกาะ ไปทะเลสวยๆ และ
ร้อยละ 31.2 อยากไปดอยภาคเหนือ
 
                  ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุด ถ้าต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วง
หน้าหนาวนี้ หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5
กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก ไม่สวมผ้าปิดปาก กลัวติด โควิด– 19
รองลงมาร้อยละ
55.2 กลัวความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว และร้อยละ 30.8 กลัวร้านอาหาร
ไม่ปฏิบัติตามกฎ ศบค.
 
                  สำหรับการปรับตัวจากสถานการณ์โควิด-19 หากไปท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.2 จะใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือบ่อยๆ
รองลงมาร้อยละ 59.2 จะหลีกเลี่ยง
สถานที่ๆ แออัด คาดว่าคนจะไปเยอะ และร้อยละ 50.4 จะตรวจสอบข้อมูลของจังหวัดท่องเที่ยวเกี่ยวกับการระบาดโควิด-19
 
                  ด้านความเชื่อมั่นว่าภาครัฐจะใช้มาตรการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการ
แพร่ระบาดโควิด-19 สร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย
ถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 32.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “สนใจเข้าร่วมลงทะเบียนโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวเริ่มวันที่ 24 กันยายน
นี้หรือไม่” พบว่า โครงการเราเที่ยวด้วยกันมีประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการร้อยละ 34.8
ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ
57.8 ไม่สนใจส่วนที่เหลือร้อยละ 7.4 ไม่แน่ใจ
 
                  ส่วนโครงการทัวร์เที่ยวไทยมีประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการร้อยละ 33.4 ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ
60.0 ไม่สนใจ ส่วนที่เหลือร้อยละ 6.6 ไม่แน่ใจ
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “การท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวที่จะถึงนี้จะคึกคักมากน้อยเพียงใด หากสถานการณ์
                  โควิด-19 คลี่คลาย”


 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 45.3 และมากที่สุด ร้อยละ 7.2)
52.5
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 41.0 และน้อยที่สุด ร้อยละ 6.5)
47.5
 
 
             2. ข้อคำถาม “ท่านอยากไปท่องเที่ยวในประเทศไทยรูปแบบใด หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย”
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
อยากไปท่องเที่ยวทำบุญ เช่น ทำบุญ 9 วัด
34.5
อยากไปเกาะ ไปทะเลสวยๆ
31.3
อยากไปดอยภาคเหนือ
31.2
อยากไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ธรรมชาติ เช่น น้ำตก เข้าป่า กางเต้นท์
24.8
อยากไปท่องเที่ยววิถีชุมชน
11.8
อยากไปภูภาคอีสาน
10.6
อื่นๆ เช่น ปัญหาสุขภาพ กลัวโรคไม่อยากไปไหน
2.9
 
 
             3. เรื่องที่ท่านกังวลมากที่สุด ถ้าต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวนี้ หากสถานการณ์
                  โควิด-19 คลี่คลาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก ไม่สวมผ้าปิดปาก กลัวติด โควิด– 19
69.5
กลัวความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว
55.2
กลัวร้านอาหาร ไม่ปฏิบัติตามกฎ ศบค.
30.8
กลัวอุบัติเหตุ รถชน บนท้องถนน
26.5
กลัวที่พัก อาหาร ราคาแพง
19.2
อื่นๆ เช่น ไม่มีเรื่องกังวล
3.2
 
 
             4. การปรับตัวจากสถานการณ์โควิด-19 หากไปท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือบ่อยๆ
78.2
หลีกเลี่ยงสถานที่ๆ แออัด คาดว่าคนจะไปเยอะ
59.2
ตรวจสอบข้อมูลของจังหวัดท่องเที่ยวเกี่ยวกับการระบาดโควิด-19
50.4
เลือกใช้บริการสถานที่พัก ร้านอาหาร หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการที่ปลอดภัย
40.4
ลงทะเบียนไทยชนะทุกครั้งที่เข้าสถานที่ท่องเที่ยว
32.2
อื่นๆ เช่น ไม่มีความเห็น ไม่ได้ไปเที่ยวไหน
0.9
 
 
             5. ความเชื่อมั่นว่าภาครัฐจะใช้มาตรการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อป้องกัน
                  การแพร่ระบาดโควิด-19 สร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว


 
ร้อยละ
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 46.9 และน้อยที่สุด ร้อยละ 20.3)
67.2
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 28.4 และมากที่สุด ร้อยละ 4.4)
32.8
 
 
             6. ข้อคำถาม “ท่านสนใจเข้าร่วมลงทะเบียนโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวเริ่มวันที่ 24 กันยายน นี้หรือไม่”
                 


โครงการ
สนใจเข้าร่วม
ไม่สนใจเข้าร่วม
ไม่แน่ใจ
ร้อยละ
1) เราเที่ยวด้วยกัน
34.8
57.8
7.4
100.0
2) โครงการทัวร์เที่ยวไทย
33.4
60.0
6.6
100.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อรูปแบบที่อยากไปท่องเที่ยวในประเทศไทย หากสถานการณ์
                      โควิด-19 คลี่คลาย
                  2) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่กังวลมากที่สุด ถ้าต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวนี้ หากสถานการณ์
                      โควิด-19 คลี่คลาย
                  3) เพื่อสะท้อนถึงการปรับตัวจากสถานการณ์โควิด-19 หากไปท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
                  4) เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อภาครัฐว่าจะใช้มาตรการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
                      เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 สร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว
                  5) เพื่อสะท้อนถึงความสนใจเข้าร่วมลงทะเบียนโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวเริ่มวันที่ 24 กันยายนนี้
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 20-22 กันยายน 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 กันยายน 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
582
50.4
             หญิง
572
49.6
รวม
1,154
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
83
7.2
             31 – 40 ปี
176
15.3
             41 – 50 ปี
335
29.0
             51 – 60 ปี
314
27.2
             61 ปีขึ้นไป
246
21.3
รวม
1,154
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
673
58.4
             ปริญญาตรี
379
32.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
102
8.8
รวม
1,154
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
151
13.1
             ลูกจ้างเอกชน
210
18.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
424
36.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
78
6.8
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
228
19.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
21
1.8
             ว่างงาน
39
3.4
รวม
1,154
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898