analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง สุขภาพจิตคนไทยวันนี้ เป็นอย่างไร
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.6 ชี้เรื่องที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ มากที่สุดในปีนี้ คือ กลัวโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่
ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.2 เห็นว่าสุขภาพจิตแย่กว่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
โดยมาตรการผ่อนคลายของ ศบค. ที่คนไทยใช้คลายเครียดมากที่สุดคือ ไปเล่นกีฬา วิ่งในสวนสาธารณะต่างๆ
รองลงมาคือ ไปเดินเล่น ช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.1 สามารถปรับตัวได้มากถึงมากที่สุดกับการใช้ชีวิตในสถานการณ์โควิด-19
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสุขภาพจิตโลก กรุงเทพโพลล์
โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “สุขภาพจิตคนไทยวันนี้
เป็นอย่างไร”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,159 คน พบว่า
 
                  เรื่องที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ ทำให้เครียด วิตกกังวลมากที่สุด ในปีนี้
พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.6 กลัวโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่
รองลงมาร้อยละ
44.9 กลัวติดโควิด-19 ร้อยละ 43.1 รายได้ไม่พอจ่าย เป็นหนี้เป็นสิน และร้อยละ 31.7
ปัญหาการเรียน ลูกหลานเรียนช้า คุณภาพการศึกษา
 
                  เมื่อถามว่า “ในภาพรวม สุขภาพจิต ความเครียด ความวิตกกังวล
เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา” พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.2 เห็นว่าแย่
กว่าเดิม
ส่วนร้อยละ 41.9 เห็นว่าเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 7.9 เห็นว่าดีกว่าเดิม
 
                  ส่วนกิจกรรมที่ทำเพื่อคลายความเครียด ความวิตกกังวล หลัง
มาตรการผ่อนคลายของ ศบค. ที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.9
ไปเล่นกีฬา วิ่งออกกำลังกายในสวนสาธารณะต่างๆ
รองลงมาร้อยละ 17.2 ไปเดินเล่น ช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า และ
ร้อยละ 16.0 ไปเสริมสวย ทำเล็บ ตัดผม ขณะที่ร้อยละ 44.9 อยู่บ้านไม่ไปไหน กลัวติดโควิด-19
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าปัจจุบันท่านปรับตัวในการใช้ชีวิตกับสถานการณ์ของโควิด-19 ได้มากน้อยเพียงใด
พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.1 ปรับตัวได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 8.9 ปรับตัวได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. เรื่องที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ ทำให้เครียด วิตกกังวลมากที่สุด ในปีนี้
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
กลัวโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่
51.6
กลัวติดโควิด-19
44.9
รายได้ไม่พอจ่าย เป็นหนี้เป็นสิน
43.1
ปัญหาการเรียน ลูกหลานเรียนช้า คุณภาพการศึกษา
31.7
ปัญหาน้ำท่วม การแก้ไขน้ำท่วม
18.1
ธุรกิจเจ๊ง ปัญหาการทำธุรกิจ
15.3
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
13.5
ตกงานไม่มีงานทำ
10.2
เงินเดือนลดลง ไม่มีโบนัส
9.7
อื่นๆ เช่น ปัญหาสุขภาพ กลัวโรคไม่อยากไปไหน
10.6
 
 
             2. ข้อคำถาม “ในภาพรวม สุขภาพจิต ความเครียด ความวิตกกังวล ของท่านเป็นอย่างไร
                  เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”


 
ร้อยละ
ดีกว่าเดิม
7.9
เหมือนเดิม
41.9
แย่กว่าเดิม
50.2
 
 
             3. กิจกรรมที่ทำเพื่อคลายความเครียด ความวิตกกังวล หลังมาตรการผ่อนคลายของ ศบค. ที่ผ่านมา
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ไปเล่นกีฬา วิ่งออกกำลังกายในสวนสาธารณะต่างๆ
22.9
ไปเดินเล่น ช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า
17.2
ไปเสริมสวย ทำเล็บ ตัดผม
16.0
ไปกินอาหารร้านอร่อยๆ คาเฟ่สวยๆ
14.2
ไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ทะเล ภูเขา
9.9
ไปนวด สปา
2.3
อยู่บ้านไม่ไปไหน กลัวติดโควิด 19
44.9
 
 
             4. ข้อคำถาม “ปัจจุบันท่านปรับตัวในการใช้ชีวิตกับสถานการณ์ของโควิด-19 ได้มากน้อยเพียงใด”                  

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 66.2 และมากที่สุด ร้อยละ 24.9)
91.1
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 8.1 และน้อยที่สุด ร้อยละ 0.8)
8.9
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนเรื่องที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ เครียด วิตกกังวลมากที่สุด ในปีนี้
                  2) เพื่อสะท้อนในภาพรวม สุขภาพจิต เครียด วิตกกังวล เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
                  3) เพื่อสะท้อนถึงกิจกรรมที่ทำเพื่อคลายความเครียดความ วิตกกังวล หลังมาตรการผ่อนคลายของ ศบค.
                       ที่ผ่านมา
                  4) เพื่อสะท้อนถึงการปรับตัวในการใช้ชีวิตกับสถานการณ์ของโควิด-19
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 4-6 ตุลาคม 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 ตุลาคม 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
532
45.9
             หญิง
627
54.1
รวม
1,159
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
102
8.8
             31 – 40 ปี
143
12.3
             41 – 50 ปี
304
26.2
             51 – 60 ปี
321
27.8
             61 ปีขึ้นไป
289
24.9
รวม
1,159
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
759
65.5
             ปริญญาตรี
323
27.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
77
6.6
รวม
1,159
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
137
11.8
             ลูกจ้างเอกชน
187
16.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
494
42.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
47
4.1
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
217
18.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
22
1.9
             ว่างงาน
54
4.7
รวม
1,159
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898