analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง ความหวังคนไทยกับการเปิดประเทศ หลังสถานการณ์โควิด-19
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.1 หวังว่าการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น โดยร้อยละ 72.0 กังวลมากที่สุดเรื่องอนุญาตให้เปิดผับ บาร์ คาราโอเกะ ภายในวันที่ 1 ธ.ค. ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.0 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่า การเปิดประเทศ จะทำให้เกิดการระบาดของโควิด-19 แต่ในภาพรวมเห็นว่าการเปิดประเทศจะทำให้ประเทศดีขึ้นเรื่อยๆ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง
“ความหวังคนไทยกับการเปิดประเทศ หลังสถานการณ์โควิด-19” โดยเก็บข้อมูล
จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,173 คน พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.1
หวังว่าการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจของ
ประเทศดีขึ้น
รองลงมาร้อยละ 43.4 หวังว่าจะเกิดผลดีกับธุรกิจร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ
และร้อยละ 42.7 หวังว่าจะสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชน
 
                  เมื่อถามว่า “การเปิดประเทศวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ กังวล
กับเรื่องดังต่อไปนี้หรือไม่ ว่าจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด -19” พบว่า
เรื่องที่กังวลมากที่สุดคือ อนุญาตให้เปิดผับ บาร์ คาราโอเกะ ภายในวันที่ 1
ธันวาคมคิดเป็นร้อยละ 72.0
รองลงมาคือ นักท่องเที่ยวต้องฉีดวัคซีนครบแล้ว มาจาก
ประเทศที่ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องกักตัว คิดเป็นร้อยละ 66.5 และร้อยละ 62.4 ให้ 4 จังหวัด
นำร่องท่องเที่ยวขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ (กทม.-กระบี่-พังงา-ภูเก็ต)
 
                  เมื่อถามว่าการเปิดประเทศวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ กังวลต่อ
การแพร่ระบาดของโควิด-19 มากน้อยเพียงใดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.0
กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 28.0 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  สุดท้ายเมื่อถามความคิดเห็นว่า “ในภาพรวมคิดว่าการเปิดประเทศวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้
ประเทศจะเป็นอย่างไร” พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.3 คิดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
ขณะที่ร้อยละ 27.5 คิดว่าจะทำให้แย่ลง
ส่วนร้อยละ 26.2 คิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. เรื่องที่หวังกับการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
51.1
เกิดผลดีกับธุรกิจร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ
43.4
สร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชนได้
42.7
กระตุ้นการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยว
39.9
ไม่เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ไม่มีคลัสเตอร์ใหม่
37.5
สร้างความเชื่อมั่นให้ต่างประเทศ นักลงทุนต่างประเทศ
20.2
อื่นๆ เช่น ไม่ได้หวัง ไม่มีความเห็น ยังไม่อยากให้เปิด
10.5
 
 
             2. ข้อคำถาม “การเปิดประเทศวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ ท่านกังวลกับเรื่องดังต่อไปนี้หรือไม่
                  ว่าจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด -19”


เรื่อง
กังวล
(ร้อยละ)
ไม่กังวล
(ร้อยละ)
อนุญาตให้เปิดผับ บาร์ คาราโอเกะ ภายในวันที่ 1 ธันวาคม
72.0
28.0
นักท่องเที่ยวต้องฉีดวัคซีนครบแล้ว มาจากประเทศที่ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องกักตัว
66.5
33.5
ให้ 4 จังหวัดนำร่องท่องเที่ยวขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ (กทม.-กระบี่-พังงา-ภูเก็ต)
62.4
37.6
ยกเลิกเคอร์ฟิวทุกพื้นที่ เว้น 7 จังหวัดแดงเข้ม
26.4
73.6
 
 
             3. การเปิดประเทศวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ กังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากน้อยเพียงใด                  

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 45.5 และมากที่สุด ร้อยละ 26.5)
72.0
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 22.5 และน้อยที่สุด ร้อยละ 5.5)
28.0
 
 
             4. ข้อคำถาม “ในภาพรวมคิดว่าการเปิดประเทศวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ ประเทศจะเป็นอย่างไร”                  

 
ร้อยละ
คิดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
46.3
คิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
26.2
คิดว่าจะทำให้แย่ลง
27.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนเรื่องที่หวังกับการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้
                  2) เพื่อสะท้อนถึงความกังวลต่อการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้
                  3) เพื่อสะท้อนถึงภาพรวมการเปิดประเทศวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ ประเทศจะเป็นอย่างไร
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 25-27 ตุลาคม 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 30 ตุลาคม 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
577
49.2
             หญิง
596
50.8
รวม
1,173
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
87
7.4
             31 – 40 ปี
171
14.6
             41 – 50 ปี
322
27.5
             51 – 60 ปี
327
27.8
             61 ปีขึ้นไป
266
22.7
รวม
1,173
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
702
59.8
             ปริญญาตรี
364
311
             สูงกว่าปริญญาตรี
107
9.1
รวม
1,173
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
154
13.1
             ลูกจ้างเอกชน
224
19.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
440
37.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
75
6.4
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
225
19.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
22
1.9
             ว่างงาน
32
2.7
รวม
1,173
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898