analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “คนไทยคิดเห็นอย่างไร ในค่ำคืนวันลอยกระทง ”
                    ประชาชนร้อยละ 77.3 ระบุว่าปีนี้จะไม่ออกไปลอยกระทง เพราะกลัวการแพร่เชื้อ COVID-19
          ขณะที่ร้อยละ 22.7 ระบุว่าจะออกไปลอยกระทงเพราะจะได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว/คนรัก
          โดยร้อยละ 61.1 จะไปลอยกระทงริมคลองแถวบ้านเพื่อเลี่ยงความแออัด
                    ทั้งนี้ร้อยละ 71.8 ระบุว่า “ลอยกระทงวิถีใหม่” ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่
          ระบาดของ COVID-19 น่าจะส่งผลให้บรรยากาศของงานมีความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง
                    โดยร้อยละ 74.4 กังวลว่าจะเกิดคลัสเตอร์ใหม่ หลังจากงานลอยกระทง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง
“คนไทยคิดเห็นอย่างไร ในค่ำคืนวันลอยกระทง” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน
ทั่วประเทศ จำนวน 1,184 คน พบว่า
 
                  วันลอยกระทงปีนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.3 ระบุว่า จะไม่
ออกไปลอยกระทง โดยร้อยละ 46.0 ให้เหตุผลว่า คนเยอะ กลัวการแพร่เชื้อ
COVID-19
รองลงมาร้อยละ 22.0 ให้เหตุผลว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันนี้ และร้อยละ
8.5 ให้เหตุผลว่า จะใช้วิธีลอยกระทงออนไลน์แทน ขณะที่ร้อยละ 22.7 ระบุว่าจะ
ออกไปลอยกระทง
โดยร้อยละ 16.6 ให้เหตุผลว่า จะได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
/คนรัก รองลงมาร้อยละ 16.2 ให้เหตุผลว่า เป็นการสืบสานประเพณีไทย และร้อยละ 15.6
ให้เหตุผลว่า เพื่อขอขมาพระแม่คงคาตามความเชื่อ
 
                  ทั้งนี้ผู้ที่ลอยกระทงส่วนใหญ่ร้อยละ 61.1 ระบุว่าจะออกไปลอย
กระทงริมคลองแถวบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงคนเยอะ
รองลงมาร้อยละ 34.1 ระบุว่าจะ
ออกไปลอยกระทงตามงานวัด ชุมชน สวนสาธารณะ ที่จัดงานลอยกระทง และร้อยละ 4.8
ระบุว่าจะออกไปลอยกระทงตามงานอีเว้นท์ใหญ่ๆที่จัดขึ้นในจังหวัดต่างๆ
 
                  เมื่อถามว่าการสืบสานประเพณี “ลอยกระทงวิถีใหม่” ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่
ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลให้บรรยากาศของงานมีความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลงหรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่
ร้อยละ 71.8 คิดว่าน่าจะส่งผลให้ความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง
ขณะที่ร้อยละ 28.2 คิดว่าไม่ส่งผลให้ความสนุกสนาน
ครึกครื้น ลดลง
 
                  ส่วนเรื่องที่ห่วงและกังวลมากที่สุดจากการจัดงานลอยกระทงในปีนี้ นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.4
กังวลว่าจะเกิดคลัสเตอร์ใหม่ จากงานลอยกระทง
รองลงมาร้อยละ 14.4 กังวลว่าผู้จัดงานปล่อยปะละเลย/ ไม่คุมเข้ม
ตามมาตรการป้องกัน COVID-19 และร้อยละ 6.4 กังวลว่าจะมีการลักลอบดื่มสุรา/จำหน่ายสุรา
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ลอยกระทงปีนี้ท่านจะออกไปลอยกระทงหรือไม่

 
ร้อยละ
ไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)    
คนเยอะ กลัวการแพร่เชื้อ COVID-19 ร้อยละ 46.0
ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันนี้ ร้อยละ 22.0
จะลอยกระทงออนไลน์แทน ร้อยละ 8.5
มีการคุมเข้มมาตรการป้องกันCOVID-19 อาจทำให้ไม่สนุก ร้อยละ 6.9
ติดงาน ติดธุระ ร้อยละ 3.6
อายุมากแล้ว เลยวัยแล้ว ร้อยละ 3.5
ไม่มีคนไปลอยด้วย ร้อยละ 2.6
อื่นๆ อาทิ สุขภาพไม่แข็งแรง ไม่สะดวกเดินทาง
ลดขยะ ฯลฯ
ร้อยละ 4.6
77.3
ไป
โดยให้เหตุผลว่า (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)    
ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว/คนรัก ร้อยละ 16.6
สืบสานประเพณีไทย ร้อยละ 16.2
ขอขมาพระแม่คงคา ร้อยละ 15.6
อยากออกไปเที่ยว/ชมบรรยากาศ ร้อยละ 8.0
สังสรรค์/พบปะเพื่อนฝูง ร้อยละ 2.8

22.7
 
 
             2. ท่านจะเลือกออกไปลอยกระทงที่ใด (ถามเฉพาะผู้ที่ตอบว่าออกไปลอยกระทง)

 
ร้อยละ
ริมคลองแถวบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงคนเยอะ
61.1
ตามงานวัด ชุมชน สวนสาธารณะ ที่จัดงานลอยกระทง
34.1
ตามงานอีเว้นท์ใหญ่ๆที่จัดขึ้นในจังหวัดต่างๆ
4.8
 
 
             3. ท่านคิดว่า การสืบสานประเพณี “ลอยกระทงวิถีใหม่” ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด
                  ของ COVID-19 จะส่งผลให้บรรยากาศของงานมีความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลงหรือไม่


 
ร้อยละ
คิดว่าน่าจะส่งผลให้ความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง
71.8
คิดว่าไม่ส่งผลให้ความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง
28.2
 
 
             4. เรื่องที่ท่านห่วงและกังวลมากที่สุดจากการจัดงานลอยกระทงในปีนี้คือ

 
ร้อยละ
เกิดคลัสเตอร์ใหม่ จากงานลอยกระทง
74.4
ผู้จัดงานปล่อยปะละเลย/ ไม่คุมเข้มตามมาตรการป้องกันCOVID-19
14.4
มีการลักลอบดื่มสุรา/จำหน่ายสุรา
6.4
เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เช่น พลัดตกน้ำ จมน้ำ
4.2
อื่นๆ อาทิ เกิดขยะในแม่น้ำ การทะเลาะวิวาท การทำอนาจาร ฯลฯ
0.6
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการออกไปลอยกระทงในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค
COVID-19 ตลอดจนความกังวลที่มีต่อผู้ที่ออกไปเที่ยวงานลอยกระทงในปีนี้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 15-17 พฤศจิกายน 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 พฤศจิกายน 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
604
51.0
             หญิง
580
49.0
รวม
1,184
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
99
8.4
             31 – 40 ปี
169
14.3
             41 – 50 ปี
306
25.8
             51 – 60 ปี
320
27.0
             61 ปีขึ้นไป
290
24.5
รวม
1,184
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
662
55.9
             ปริญญาตรี
385
32.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
137
11.6
รวม
1,184
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
138
11.7
             ลูกจ้างเอกชน
261
22.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
406
34.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
71
6.0
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
263
22.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
20
1.7
             ว่างงาน
25
2.1
รวม
1,184
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898