analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “ที่สุดวัคซีนแห่งปี ”
ที่สุดวัคซีนแห่งปี ไฟเซอร์เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่คนไทยอยากฉีดมากที่สุดแต่ไม่ได้ฉีด
ในภาพรวมคนไทยมีความพึงพอใจต่อการรับวัคซีน โควิด-19 ในระดับปานกลาง
โดยเรื่องที่พึงพอใจมากที่สุดคือ การบริการ ช่องทางในการไปรับการฉีดวัคซีน
ส่วนเรื่องที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือ การเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ต้องรอการฉีดวัคซีน
บุคลากรทางการแพทย์ที่คนไทยนึกถึงมากที่สุด เมื่อพูดถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปี 2564 คือ หมอทวีศิลป์
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันสาธารณสุขแห่งชาติ
กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง
“ที่สุดวัคซีนแห่งปี” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,172 คน
พบว่า ประชาชนร้อยละ 32.0 อยากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 ของไฟเซอร์
มากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 25.4 อยากฉีดของโมเดอร์นา และร้อยละ10.4 อยากฉีด
ของแอสตร้าเซนเนก้า
 
                  สำหรับความพึงพอใจต่อการรับวัคซีน โควิด-19 พบว่า ในภาพรวม
ได้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 3.33คะแนน ซึ่งแปลผลได้ว่า มีความ
พึงพอใจระดับปานกลาง โดยเรื่องที่พึงพอใจมากที่สุดคือ การบริการ ช่องทางใน
การไปรับการฉีดวัคซีน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65 คะแนน
รองลงมาคือ การแจ้งข่าว
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัคซีนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 และความรวดเร็วในการฉีดวัคซีน
ให้กับประชาชนครบทั้งประเทศ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 คะแนน ส่วนเรื่องที่พึงพอใจน้อย
ที่สุดคือ การเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ต้องรอการฉีดวัคซีน การล็อกดาวน์ประเทศ
ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.89 คะแนน
 
                  เมื่อถามถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่นึกถึงมากที่สุด เมื่อพูดถึงวัคซีน
ป้องกันโควิด-19 ปี 2564 พบว่า ประชาชนร้อยละ 39.9 นึกถึงหมอทวีศิลป์
มากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 23.5 นึกถึงหมอยง และร้อยละ 15.3 นึกถึงหมอเบิร์ท
 
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ที่สุดแห่งวัคซีนที่คนไทยอยากฉีด แต่ไม่ได้ฉีด (ตอบเพียง 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ไฟเซอร์
32.0
โมเดอร์นา
25.4
แอสตร้าเซนเนก้า
10.4
ซิโนฟาร์ม
6.2
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
6.0
ซิโนแวค
1.1
อื่นๆ เช่น ฉีดยี่ห้ออะไรก็ได้ ไม่มียี่ห้อที่อยากฉีด
18.9
 
 
             2. ความพึงพอใจต่อการรับวัคซีน โควิด-19

เรื่อง
คะแนน
(เต็ม 5 คะแนน)
เกณฑ์
การแปลผล
1. การบริการ ช่องทางในการไปรับการฉีดวัคซีน
3.65
มาก
2. การแจ้งข่าว ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัคซีน
3.54
มาก
3. ความรวดเร็วในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนครบทั้งประเทศ
3.42
มาก
4. คุณภาพของวัคซีนที่ให้กับประชาชน
3.31
ปานกลาง
5. การบริหารจัดการวัคซีนของหน่วยงานภาครัฐ
3.17
ปานกลาง
6. การเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ต้องรอการฉีดวัคซีน
    การล็อกดาวน์ประเทศ
2.89
ปานกลาง
เฉลี่ยรวม
3.33
ปานกลาง

เกณฑ์สำหรับการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ดังนี้

ค่าเฉลี่ย 4.21 – 5.00 หมายถึง   มีความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.41 – 4.20 หมายถึง   มีความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.61 – 3.40 หมายถึง   มีความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.81 – 2.60 หมายถึง   มีความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.80 หมายถึง   มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
 
 
             3. บุคลากรทางการแพทย์ที่นึกถึงมากที่สุด เมื่อพูดถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปี 2564
                (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
หมอทวีศิลป์ (นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน)
39.9
หมอยง (ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ)
23.5
หมอเบิร์ท (พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์)
15.3
หมอธีระวัฒน์ (ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา)
8.9
หมอบุญ (นพ.บุญ วนาสิน)
6.7
หมอบุ๋ม (พญ. พรรณประภา ยงค์ตระกูล)
5.2
อื่นๆ เช่น ไม่ทราบ ไม่ได้ติดตามข่าว
31.6
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนถึงวัคซีนที่คนไทยอยากฉีด แต่ไม่ได้ฉีด
                  2) เพื่อสะท้อนถึงความพึงพอใจ ต่อการรับวัคซีน โควิด-19
                  3) เพื่อสะท้อนถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่นึกถึงมากที่สุด เมื่อพูดถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปี 2564
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22-24 พฤศจิกายน 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 พฤศจิกายน 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
547
46.7
             หญิง
625
53.3
รวม
1,172
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
101
8.6
             31 – 40 ปี
174
14.8
             41 – 50 ปี
298
25.4
             51 – 60 ปี
331
28.3
             61 ปีขึ้นไป
268
22.9
รวม
1,172
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
697
59.4
             ปริญญาตรี
371
31.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
104
8.9
รวม
1,172
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
122
10.4
             ลูกจ้างเอกชน
244
20.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
471
40.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
51
4.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
231
19.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
30
2.6
             ว่างงาน
23
2.0
รวม
1,172
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898