analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “คนไทยกับการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ ”
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.2 เชื่อการท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่จะคึกคักมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5 ไม่มีแผนที่จะเดินทาง จะอยู่บ้านไม่ออกไปไหน กลัวโควิด-19
ขณะที่ร้อยละ 49.5 มีแผนที่จะเดินทาง โดยร้อยละ 23.5 ไปเข้าวัดทำบุญ นั่งสมาธิ สวดมนต์ข้ามปี
และร้อยละ17.8 จะเที่ยว ช้อปปิ้ง ตามห้างสรรพสินค้า
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดที่อาจทำให้เกิดการระบาดโควิด-19 ในช่วงเทศกาลปีใหม่คือ
การเฉลิมฉลองปีใหม่ สังสรรค์ ตามผับ บาร์ ต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 86.2
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “คนไทยกับการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่” โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,117 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ
55.2 เห็นว่าการท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้จะคึกคักมากถึง
มากที่สุด เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ขณะที่ร้อยละ 44.8 เห็นว่าจะคึกคักน้อย
ถึงน้อยที่สุด
 
                  เมื่อถามว่า “มีแผนที่จะเดินทาง ในช่วงหยุดยาวปีใหม่
ที่จะถึงนี้หรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5 ไม่มีแผนที่จะเดินทาง จะอยู่บ้าน
ไม่ออกไปไหน กลัวโควิด-19
ขณะที่ร้อยละ 49.5 มีแผนที่จะเดินทาง โดย
ในจำนวนนี้ร้อยละ 23.5 จะไปเข้าวัดทำบุญ นั่งสมาธิ สวดมนต์ข้ามปี รองลงมา
ร้อยละ 17.8 จะเที่ยว ช้อปปิ้ง กินข้าว ตามร้านอาหาร / ห้างสรรพสินค้า และ
ร้อยละ 12.6 จะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ
 
                  ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดที่อาจทำให้เกิดการระบาดโควิด-19
ในช่วงเทศกาลปีใหม่คือ การเฉลิมฉลองปีใหม่ สังสรรค์ ตามผับ บาร์ ต่างๆ
คิดเป็นร้อยละ 86.2
รองลงมาคือ การประมาท ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ ศบค. ของผู้ประกอบการ คิดเป็นร้อยละ 72.1
การจัดงานเคาท์ดาวน์ตามสถานที่ต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 71.1 ภาครัฐไม่ดูแลอย่างเข้มงวดตามมาตรการของ ศบค. คิดเป็น
ร้อยละ 70.3 และการรวมตัว กินเลี้ยง สังสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 66.4
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อการท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้ (30 ธ.ค. 64 – 3 ม.ค. 65) จะคึกคัก
                 มากกว่าปีที่ผ่านมามากน้อยเพียงใด


 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 49.3 และมากที่สุด ร้อยละ 5.9)
55.2
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 40.5 และน้อยที่สุด ร้อยละ 4.3)
44.8
 
 
             2. ข้อคำถาม “มีแผนที่จะเดินทาง ในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้”

 
ร้อยละ
มีแผนที่จะเดินทาง โดย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)    
จะไปเข้าวัดทำบุญ นั่งสมาธิ สวดมนต์ข้ามปี ร้อยละ 23.5
     จะเที่ยว ช้อปปิ้ง กินข้าว ตามร้านอาหาร
ห้างสรรพสินค้า
ร้อยละ
17.8
      จะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ ร้อยละ 12.6
     จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ร้อยละ 9.2
      จะไป เคาท์ดาวน์ปีใหม่ 2022 ร้อยละ 3.4
     จะไปต่างประเทศ ร้อยละ 0.2
49.5
ไม่มีแผนที่จะเดินทาง จะอยู่บ้านไม่ออกไปไหน กลัวโควิด-19
51.5
 
 
             3. เรื่องที่กังวลมากที่สุดที่อาจทำให้เกิดการระบาดโควิด-19 ในช่วงเทศกาลปีใหม่

เรื่อง
มาก
ร้อยละ
ปานกลาง
ร้อยละ
น้อย
ร้อยละ
รวม
ร้อยละ
การเฉลิมฉลองปีใหม่ สังสรรค์ ตามผับ บาร์ ต่างๆ
86.2
10.6
3.2
100.0
การประมาท ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ ศบค. ของผู้ประกอบการ
72.1
21.0
6.9
100.0
การจัดงานเคาท์ดาวน์ตามสถานที่ต่างๆ
71.1
23.1
5.8
100.0
ภาครัฐไม่ดูแลอย่างเข้มงวดตามมาตรการของ ศบค.
70.3
23.5
6.2
100.0
การรวมตัว กินเลี้ยง สังสรรค์
66.4
25.2
8.4
100.0
เปิดให้ดื่มสุราได้ไม่เกินตี 1 ในร้านอาหาร พื้นที่เปิดโล่ง
64.8
27.5
7.7
100.0
การเดินทางข้ามจังหวัด
53.2
32.5
14.3
100.0
การสวดมนต์ข้ามปี
32.9
36.2
30.9
100.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้ จะคึกคักมากน้อยเพียงใด
                  2) เพื่อต้องการทราบถึงแผนที่จะเดินทาง ในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้
                  3) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่กังวลที่อาจทำให้เกิดการระบาดโควิด-19 ในช่วงเทศกาลปีใหม่
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 17-21 ธันวาคม 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 29 ธันวาคม 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
523
46.8
             หญิง
594
53.2
รวม
1,117
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
89
8.0
             31 – 40 ปี
144
12.9
             41 – 50 ปี
278
24.9
             51 – 60 ปี
319
28.5
             61 ปีขึ้นไป
287
25.7
รวม
1,117
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
657
58.8
             ปริญญาตรี
362
32.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
98
8.8
รวม
1,117
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
122
10.9
             ลูกจ้างเอกชน
212
19.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
441
39.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
60
5.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
229
20.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
22
2.0
             ว่างงาน
31
2.8
รวม
1,117
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898