analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “ชาวพุทธกับการไปวัดในวันมาฆบูชา ”
ชาวพุทธส่วนใหญ่ร้อยละ 63.5 เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ไปเข้าวัดทำบุญน้อยลง
ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.3 ยังไม่อยากเข้าวัดในช่วงวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.2 อยากทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน ในวันมาฆบูชา
ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.6 ไม่ทราบว่ามีการทำบุญยุค New Normal โดยผ่านระบบ www.เวียนเทียนออนไลน์.com
และ www.ปฏิบัติธรรมออนไลน์.com
โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 80.9 ไม่สนใจเข้าร่วมทำบุญยุค New Normal ผ่านระบบออนไลน์
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “ชาวพุทธกับการไปวัดในวันมาฆบูชา” โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,142 คน พบว่า ชาวพุทธส่วนใหญ่ร้อยละ
63.5 เห็นว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ไปเข้าวัดทำบุญ
น้อยลง
ขณะที่ร้อยละ 35.6 ยังไปเหมือนเดิม และร้อยละ 0.9 ทำให้ไปมากขึ้น
 
                  เมื่อถามว่าอยากไปเข้าวัดเพื่อทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา
ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.3 ยังไม่อยากไป หลีกเลี่ยง
คนเยอะ กลัวโควิด-19
ขณะที่ร้อยละ 34.7 อยากไป
 
                  สำหรับกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่อยากทำในวันมาฆบูชาพบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.2 อยากทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน
รองลงมาร้อยละ
43.3 อยากไปเวียนเทียน ร้อยละ 24.4 อยากไปฟังเทศน์ ฟังธรรม ร้อยละ 22.0
อยากไปสวดมนต์ นั่งสมาธิ และร้อยละ 15.0 อยากไปปล่อยนก ปล่อยปลา ไถ่ชีวิต
โคกระบือ
 
                 เมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่าวันมาฆบูชา 2565 มีการทำบุญยุค New Normal โดยผ่านระบบ
www.เวียนเทียนออนไลน์.com และ www.ปฏิบัติธรรมออนไลน์.com ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.6 ไม่ทราบ

ขณะที่ร้อยละ 44.4 ทราบ
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าสนใจการทำบุญยุค New Normal ในวันมาฆบูชา 2565 ผ่านระบบ
www.เวียนเทียนออนไลน์.com และ www.ปฏิบัติธรรมออนไลน์.com หรือไม่ ในช่วงของสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.9 ไม่สนใจ
ขณะที่ร้อยละ 19.1 สนใจ
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลต่อการไปเข้าวัดทำบุญของท่านอย่างไร”

 
ร้อยละ
ทำให้ไปวัดน้อยลง
63.5
ยังไปวัดเหมือนเดิม
35.6
ทำให้ได้ไปวัดมากขึ้น
0.9
 
 
             2. ข้อคำถาม “ท่านอยากไปเข้าวัดเพื่อทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้หรือไม่”

 
ร้อยละ
ยังไม่อยากไปหลีกเลี่ยงคนเยอะ กลัวโควิด-19
65.3
อยากไป
34.7
 
 
             3. กิจกรรมทางพุทธศาสนาที่อยากทำในวันมาฆบูชา คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน
88.2
เวียนเทียน
43.3
ฟังเทศน์ ฟังธรรม
24.4
สวดมนต์ นั่งสมาธิ
22.0
ปล่อยนก ปล่อยปลา ไถ่ชีวิตโคกระบือ
15.0
ไปถือศีล ปฏิบัติธรรม
11.8
ทำทานแก่ผู้ยากไร้
11.8
อื่นๆ ระบุ รับศีล รับพร
0.1
 
 
             4. ข้อคำถาม “ทราบหรือไม่ว่าวันมาฆบูชา 2565 มีการทำบุญยุค New Normal โดยผ่านระบบ
                  www.เวียนเทียนออนไลน์.com และ www.ปฏิบัติธรรมออนไลน์.com”


 
ร้อยละ
ไม่ทราบ
55.6
ทราบ
44.4
 
 
             5. ข้อคำถาม “สนใจการทำบุญยุค New Normal ในวันมาฆบูชา 2565 ผ่านระบบ
                  www.เวียนเทียนออนไลน์.com และ www.ปฏิบัติธรรมออนไลน์.com หรือไม่
                  ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19”


 
ร้อยละ
ไม่สนใจ
80.9
สนใจ
19.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลต่อการเข้าวัดทำบุญอย่างไร
                 2) เพื่อสะท้อนถึงกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่ตั้งใจอยากทำในวันมาฆบูชา
                 3) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการทำบุญยุค New Normal โดยผ่านระบบ www.เวียนเทียนออนไลน์.com
                      และ www.ปฏิบัติธรรมออนไลน์.com
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 10 - 11 กุมภาพันธ์ 2565
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 กุมภาพันธ์ 2565
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
556
48.7
             หญิง
586
51.3
รวม
1,142
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
108
9.5
             31 – 40 ปี
145
12.7
             41 – 50 ปี
267
23.4
             51 – 60 ปี
307
26.8
             61 ปีขึ้นไป
315
27.6
รวม
1,142
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
645
56.5
             ปริญญาตรี
391
34.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
106
9.3
รวม
1,142
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
124
10.9
             ลูกจ้างเอกชน
238
20.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
407
35.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
54
4.7
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
268
23.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
22
1.9
             ว่างงาน
27
2.4
รวม
1,142
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898