analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “ผู้ว่าฯ กทม. แบบไหนที่ถูกใจคนกรุง ”
           คนกรุงส่วนใหญ่ร้อยละ 76.1 ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 ในวันที่ 22 พ.ค.
โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 เลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
รองลงมาร้อยละ 54.4 เลือกจากนโยบายของผู้สมัคร
โดยเรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มาแก้ปัญหามากที่สุดคือ อยากให้ลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง
ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.3 ตั้งใจว่าจะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 22 พ.ค. 2565 นี้แน่นอน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร รอดูการหาเสียงอาทิตย์สุดท้าย
ขณะที่ร้อยละ 47.5 มีคนที่คิดจะเลือกในใจแน่นอนแล้ว
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “ผู้ว่าฯ กทม. แบบไหนที่ถูกใจคนกรุง” โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
ร้อยละ 76.1 ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 ในวันที่ 22 พ.ค.

ส่วนร้อยละ 23.4 ทราบแต่ยังไม่รู้ว่าเลือกวันไหน ขณะที่ร้อยละ 0.5 ไม่ทราบ
 
                  เมื่อถามถึงเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 เลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
รองลงมาร้อยละ 54.4
เลือกจากนโยบายของผู้สมัคร ร้อยละ 18.7 เลือกผู้สมัครอิสระไม่สังกัดพรรค และร้อยละ
12.7 เลือกจากผู้ที่มีชื่อเสียง ผู้ที่รู้จัก
 
                  เมื่อถามว่าเรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มาแก้ปัญหาหรือ
ทำอะไรให้กับคนกรุงเทพฯ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.3 อยากให้ลดค่าครองชีพ
แก้ปัญหาปากท้อง
รองลงมาคือ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ คิดเป็นร้อยละ 49.6 และ
แก้ปัญหาการจราจรใน กทม. คิดเป็นร้อยละ 45.4
 
                  เมื่อถามว่า “ตั้งใจจะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค. 2565 นี้หรือไม่” พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.3 ตั้งใจว่าจะไปแน่นอน
ส่วนร้อยละ 12.0 ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.7 ตั้งใจว่าจะไม่ไป
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “ตัดสินใจอย่างไรกับการเลือกผู้ว่าฯ กทม. ที่จะถึงนี้” พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5
ยังไม่ตัดสินใจรอดูการหาเสียงอาทิตย์สุดท้าย
ขณะที่ร้อยละ 47.5 มีคนที่คิดจะเลือกในใจแน่นอนแล้ว
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565

 
ร้อยละ
ทราบว่ามีการเลือกตั้งในวันที่ 22 พ.ค.
76.1
ทราบแต่ยังไม่รู้ว่าเลือกวันไหน
23.4
ไม่ทราบ
0.5
 
 
             2. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม.
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
เลือกจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ
70.6
เลือกจากนโยบายของผู้สมัคร
54.4
เลือกผู้สมัครอิสระไม่สังกัดพรรค
18.7
เลือกจากผู้ที่มีชื่อเสียง ผู้ที่รู้จัก
12.7
เลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองเป็นหลัก
10.2
เลือกผู้ที่คาดว่าจะมีคะแนนนำ ร้อยละ 3.7
3.7
อื่นๆ อาทิเช่น เลือกตามคนในครอบครัว เลือกคนมีประวัติผลงานเด่นชัด
4.7
 
 
             3. เรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มาแก้ปัญหาหรือทำอะไรให้กับคนกรุงเทพฯ
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง
71.3
สร้างอาชีพ สร้างรายได้
49.6
แก้ปัญหาการจราจรใน กทม.
45.4
แก้ปัญหาความสะอาดของถนน ตลาด แม่น้ำ คูคลอง
43.1
ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
34.7
เพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ลานกีฬา
25.7
อื่นๆ ระบุ ปัญหาทุจริต แก้น้ำท่วม
5.2
 
 
             4. ข้อคำถาม “ท่านตั้งใจจะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค. 2565 นี้หรือไม่”

 
ร้อยละ
ตั้งใจว่าจะไปแน่นอน
86.3
ยังไม่แน่ใจ
12.0
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
1.7
 
 
             5. ข้อคำถาม “ท่านตัดสินใจอย่างไรกับการเลือกผู้ว่าฯ กทม. ที่จะถึงนี้”

 
ร้อยละ
ยังไม่ตัดสินใจรอดูการหาเสียงอาทิตย์สุดท้าย
52.5
มีคนที่คิดจะเลือกในใจแน่นอนแล้ว
47.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนการรับทราบว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
                  2) เพื่อต้องการทราบถึงเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม.
                  3) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มาแก้ปัญหาหรือทำอะไรให้กับคนกรุงเทพฯ
                  4) เพื่อสะท้อนถึงความตั้งใจจะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค. 2565 นี้
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
จำนวน 8 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง บางกะปิ บางนา
บึงกุ่ม วังทองหลาง หลักสี่และห้วยขวาง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้น
ใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 400 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 28 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2565
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 7 พฤษภาคม 2565
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
199
49.6
             หญิง
202
50.4
รวม
401
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
70
17.5
             31 – 40 ปี
70
17.5
             41 – 50 ปี
86
21.4
             51 – 60 ปี
87
21.7
             61 ปีขึ้นไป
88
21.9
รวม
401
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
303
75.6
             ปริญญาตรี
91
22.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
7
1.7
รวม
401
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
50
12.5
             ลูกจ้างเอกชน
92
22.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
168
41.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
6
1.5
             ทำงานให้ครอบครัว
4
1.0
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
59
14.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
8
2.0
             ว่างงาน
14
3.5
รวม
401
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898