หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ นักเรียนคิดอย่างไรกับการสอบแอดมิสชั่นส์ระบบใหม่
                 เนื่องจากการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง หรือ แอดมิสชั่นส์ ได้มีการ
ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่โดยจะเริ่มใช้สำหรับการสอบคัดเลือกในปีการศึกษา 2553 ที่จะถึงนี้เป็นปีแรก และในช่วงวันที่
11-19 กรกฎาคมนี้ จะมีการจัดทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสอบแอดมิสชั่นส์ระบบใหม่ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็น เรื่อง “นักเรียนคิดอย่างไรกับการสอบแอดมิสชั่นส์ระบบใหม่”  ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,549 คน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน
- 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. การได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแอดมิสชั่นส์ระบบใหม่ของนักเรียนชั้น ม.6

 
ร้อยละ
ได้รับทราบข้อมูลเพียงพอแล้ว
34.2
ยังได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดไม่เพียงพอ
65.8

 
             2. ความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การสอบแอดมิสชั่นส์ระบบใหม่  (สอบถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่า
                 ได้รับทราบข้อมูลเพียงพอแล้ว)


 
ร้อยละ
เห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว
16.4
เห็นว่าไม่เหมาะสม
       (โดยให้เหตุผลว่า ข้อสอบยากเกินไป หลักเกณฑ์เงื่อนไขยุ่งยากวุ่นวาย
        อ่านหนังสือไม่ทัน ยังเรียนไม่ครบหลักสูตร เป็นต้น)
51.8
ไม่แน่ใจ
31.8
 
             3. ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมเกี่ยวกับการจัดสอบความถนัดทั่วไป(GAT) และการทดสอบ
                 ความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) พบว่า
                          ส่วนใหญ่เห็นว่าเรื่องที่ดำเนินการได้เหมาะสมดีแล้วได้แก่ การกำหนดช่วงเวลาในการสอบ
                 การเปิดโอกาสให้สอบได้ตั้งแต่ชั้น ม.5 การใช้ช่องทางสมัครสอบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
                 การกำหนดสถานที่สอบ และการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวเกี่ยวกับการสอบ
                          ส่วนที่ไม่เหมาะสมคือเรื่องเนื้อหาของข้อสอบ และค่าสมัครสอบที่แพงเกินไป
                 โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


ประเด็น
เหมาะสม
(ร้อยละ)
ไม่เหมาะสม
(ร้อยละ)
การกำหนดช่วงเวลาในการสอบ
(จัดสอบปีละ 3 ครั้ง ในเดือน มี.ค.
ก.ค. และ ต.ค.) โดยสามารถเลือก
คะแนนครั้งที่ดีที่สุดมาใช้
73.1
                           26.9
โดยให้เหตุผลว่า ช่วงเวลาสอบติดกันเกินไป
อ่านหนังสือไม่ทัน ยังเรียนไม่ครบหลักสูตร
จำนวนครั้งในการจัดสอบมากเกินไปสร้างความ
เครียดและกดดัน
การเปิดโอกาสให้สอบได้ตั้งแต่ชั้น ม.5
71.0
                           29.0
โดยให้เหตุผลว่า ยังเตรียมตัวไม่พร้อม และ
เนื้อหาที่ใช้ในการสอบเป็นของ ม.6
เนื้อหาของข้อสอบ
41.9
                           58.1
โดยให้เหตุผลว่า ยากและสับสน เนื้อหาบางเรื่อง
ยังไม่เคยเรียน
ช่องทางการสมัคร (ผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ต)
71.2
                           28.8
โดยให้เหตุผลว่า บางคนไม่มีคอมพิวเตอร์และ
อินเทอร์เนตใช้เว็บไซต์ล่มบ่อย และทำให้เด็ก
ต่างจังหวัดเสียเปรียบ
ค่าสมัครสอบ (วิชาละ 200 บาท)
30.1
                           69.9
โดยให้เหตุผลว่า ค่าสมัครสอบแพงเกินไป
การกำหนดสถานที่สำหรับเป็น
สนามสอบ
67.2
                           32.8
โดยให้เหตุผลว่า สนามสอบไกล เดินทาง
ไม่สะดวก ร้อนส่งผลให้ทำข้อสอบได้ไม่เต็มที่
การประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวเกี่ยวกับ
การสอบ
52.4
                           47.6
โดยให้เหตุผลว่าไม่ค่อยได้ยินข่าว ช่องทาง
ในการนำเสนอข่าวน้อยทำให้รู้ข่าวช้า ไม่ทั่วถึง
 
             4. ความมั่นใจว่าจะสามารถทำข้อสอบ GAT และ PAT ได้โดยไม่ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม

 
ร้อยละ
มั่นใจ
       (โดยแบ่งเป็น มั่นใจมากร้อยละ 2.9 และค่อนข้างมั่นใจร้อยละ 8.5)
11.4
ไม่มั่นใจ
       (โดยแบ่งเป็นไม่มั่นใจเลยร้อยละ 38.3 และไม่ค่อยมั่นใจร้อยละ 50.3)
88.6
 
             5.เรื่องที่นักเรียนเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขในการสอบ GAT และ PAT มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
ข้อสอบยากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับที่เรียน ยังเรียนไม่ครบหลักสูตร
26.3
ข้อสอบ GAT เข้าใจยากต้องใช้เวลาทำความเข้าใจนานไม่เหมาะกับการวัดผล
ในช่วงเวลาจำกัด และไม่มีเนื้อหาให้อ่านเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้า
23.2
ค่าสมัครสอบ แพงเกินไป ตัดโอกาสคนที่มีฐานะยากจน
11.2
ช่วงเวลาในการจัดสอบไม่ควรใกล้กับช่วงที่โรงเรียนจัดสอบตามปกติ ทำให้
อ่านหนังสือไม่ทัน
8.1
สนามสอบไกล เดินทางไม่สะดวก และอยากสอบที่โรงเรียนตัวเองมากกว่า
8.0
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 สังกัดรัฐบาลและเอกชน ในกรุงเทพหานครและ
ปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
                      1. ความเพียงพอในการได้รับข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบัน
                          อุดมศึกษาด้วยระบบกลาง หรือ แอดมิสชั่นส์
                      2. ความเห็นต่อหลักเกณฑ์การสอบแอดมิสชั่นส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
                      3. ความเหมาะสมในการจัดสอบความถนัดทั่วไป(GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการและ
                          วิชาชีพ (PAT) ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในประเด็นต่างๆ
                       4. ความมั่นใจว่าจะสามารถทำข้อสอบ GAT และ PAT ได้โดยไม่ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม
                       5. เรื่องที่เห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขในการสอบ GAT และ PAT มากที่สุด 5 อันดับแรก
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดรัฐบาล และเอกชน
ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 46 แห่ง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)
จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,549 คน เป็นเพศชายร้อยละ 43.6 และเพศหญิงร้อยละ 56.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม
แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 กรกฎาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
676
43.6
             หญิง
873
56.4
รวม
1,549
100.0
สังกัดโรงเรียน:
 
 
             รัฐบาล
1,088
70.2
             เอกชน
461
29.8
รวม
1,549
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776