หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ   “ความเชื่อมั่นของเยาวชนไทยต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน”
                  เยาวชนคืออนาคตของชาติ เป็นผู้ที่สังคมหวังจะสร้างให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพเพื่อนำพาประเทศไปสู่การ
พัฒนาและเจริญก้าวหน้าในอนาคต แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ในปัจจุบันทำให้
หลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงการหล่อหลอมแบบแผนทางความคิด
และการกระทำอันเป็นรากฐานที่สำคัญต่ออนาคตของเยาวชนไทย  เนื่องในโอกาส วันที่ 20 กันยายน ที่จะถึงนี้ เป็น
“วันเยาวชนแห่งชาติ”   ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง
ความเชื่อมั่นของเยาวชนไทยต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน” เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและมุมมองของเยาวชนให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องได้รับทราบ  โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนไทยอายุ 15 – 24 ปี จากทุกภาคของประเทศ รวมทั้งสิ้น 1,143 คน
เป็นเพศชายร้อยละ 48.9 และเพศหญิงร้อยละ 51.1 เมื่อวันที่ 9 -15 กันยายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. การประเมินความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ  10  ด้านที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเยาวชน
                 พบว่าเยาวชนไทยมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินชีวิตของตนเองในระดับปานกลาง  โดยมี
                 คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

                             ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่เยาวชนมีความเชื่อมั่นสูงที่สุดคือ
                 การได้รับความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอจากครอบครัว
  ส่วนด้านที่เยาวชนมีความเชื่อมั่น
                 ต่ำที่สุดคือ การมีนักการเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้

                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 
คะแนนความเชื่อมั่น
(จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ได้รับความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอจาก
ครอบครัว
7.62
มีวัฒนธรรมประจำชาติที่น่าภาคภูมิใจและ
น่ายึดถือปฏิบัติ
7.06
ได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ
6.78
มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
6.46
ฐานะการเงินของครอบครัวมีความมั่นคง
5.78
มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสังคม
5.48
คนในสังคมมีความเอื้อเฟื้อต่อกัน
5.18
มีสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ดี ไม่ได้รับผลกระทบ
จากปัญหามลพิษ
4.60
อยู่ในสังคมที่มีความยุติธรรม ยึดหลักกฎหมาย
โดยไม่เลือกปฏิบัติ
4.57
มีนักการเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถนำพาประเทศ
ให้เจริญก้าวหน้าได้
4.33
 
 
             2. สิ่งที่คิดว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางการมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพของเยาวชนไทยมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเยาวชนเอง (ไม่ตั้งใจเรียน เที่ยวเตร่
คบเพื่อนไม่ดี ติดอบายมุข)
44.6
การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว (พ่อแม่ไม่มีเวลา ครอบครัวแตกแยก)
17.7
ระบบการศึกษาไทย (เนื้อหาหลักสูตร รูปแบบการสอน การวัดผล
และการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย)
13.3
ระบบการเมืองไทย (คุณภาพนักการเมือง ระบบการเลือกตั้ง
การซื้อเสียง และรัฐธรรมนูญ)
12.3
พื้นฐานความเชื่อและค่านิยมบางอย่างของคนไทย (เชื่อโชคลาง
ขาดวินัย ตัดสินคนที่เปลือกนอก)
11.0
อื่นๆ อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม คุณภาพของสื่อ
และการปิดกั้นทางความคิดของผู้ใหญ่ เป็นต้น
1.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการดำเนินชีวิตของตนเองในด้านต่างๆ
ที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนสิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพของ
เยาวชนไทย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างเยาวชนไทยอายุตั้งแต่ 15 – 24 ปี ที่อาศัยอยู่แต่ละภาคของประเทศ ด้วยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยการเลือกจังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค ได้แก่
กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เพชรบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เชียงราย เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และภูเก็ต  จากนั้นจึงสุ่มถนน
และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,143 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 48.9 และ
เพศหญิงร้อยละ 51.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล
และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 9 – 15 กันยายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 17 กันยายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
559
48.9
             หญิง
584
51.1
รวม
1,143
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 17 ปี
384
33.6
             18 – 20 ปี
388
33.9
             21 – 24 ปี
371
32.5
รวม
1,143
100.0
การศึกษา:
 
 
             มัธยมศึกษา / ปวช.
485
42.4
             ปวส. / อนุปริญญา
118
10.3
             ปริญญาตรี
446
39.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
13
1.1
             ไม่ได้ศึกษาแล้ว
81
7.1
รวม
1,143
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776