หัวข้อ   “ เสียงสะท้อนจากประชาชนเรื่องค่าครองชีพในปัจจุบัน ”
 
ประชาชนถึงร้อยละ 53.2 ระบุมีรายรับไม่พอกับค่าใช้จ่าย และร้อยละ 61.3
ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาค่าครองชีพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง “เสียง
สะท้อนจากประชาชนเรื่องค่าครองชีพในปัจจุบัน
” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,203 คน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 76.1
ระบุว่าราคาสินค้าในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการครองชีพของตัวเองและครอบครัว

ขณะที่ร้อยละ 23.9 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ โดยร้อยละ 53.2 ระบุว่า มีรายรับไม่
เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
และต้องแก้ปัญหาด้วยการนำเงินออมออกมาใช้ร้อยละ 22.3
ต้องกู้เงินหรือหยิบยืมเงินจากคนอื่นร้อยละ 16.4 ที่เหลือร้อยละ 14.5 แก้ปัญหาด้วยการ
พยายามหารายได้เสริมและเพิ่มชั่วโมงทำงาน (OT)
 
                 สำหรับวิธีรับมือกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น อันดับแรกคือ ประหยัด
ให้มากขึ้นร้อยละ 35.5
รองลงมาคือ ซื้อของเท่าที่จำเป็นร้อยละ 23.2 และใช้จ่ายให้
น้อยลงโดยลดปริมาณหรือลดจำนวนในการซื้อลงจากปกติ ร้อยละ 16.2
 
                 ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสินค้าเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน คือราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ
36.9
รองลงมาคือ รัฐบาลไม่มีการกำหนดนโยบายและควบคุมราคาสินค้าที่ชัดเจนร้อยละ 14.5 และต้นทุนสินค้าสูงขึ้น
ร้อยละ 14.0
 
                 ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 50.1 ระบุว่ารัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เอาใจใส่กับการแก้ปัญหา
ค่าครองชีพในปัจจุบัน
ขณะที่ร้อยละ 49.9 ระบุว่าไม่เอาใจใส่ เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหา
ค่าครองชีพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ร้อยละ 61.3 ระบุว่า “ไม่เชื่อมั่น”
มีเพียงร้อยละ 38.7 ที่ระบุว่า “เชื่อมั่น”
 
                 สำหรับเรื่องที่ประชาชนต้องการเสนอแนะรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพมากที่สุด คือ ให้
ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงไปกว่านี้ร้อยละ 29.3
รองลงมาคือให้นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่มาดูปัญหาด้วย
ตนเอง ใส่ใจดูแลเรื่องปากท้องของประชาชนให้มากกว่านี้ ร้อยละ 17.3 และเพิ่มเงินเดือนและค่าแรงขั้นต่ำโดยเร็วให้ทั่วถึง
กันทั้งราชการและภาคเอกชน ร้อยละ 15.8
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อการครองชีพของตัวเองและครอบครัวที่เกิดจาก
                 ราคา สินค้าในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
ได้รับผลกระทบ
( โดยระบุว่า ของแพงเกินไป สินค้าขึ้นราคาแต่รายได้เท่าเดิม ได้ของ
   เท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินมากขึ้น ฯลฯ )
76.1
ไม่ได้รับผลกระทบ
23.9
 
 
             2. ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรายรับและค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่าย
46.8
มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
โดยระบุว่าแก้ปัญหาด้วยการ
  • นำเงินออมออกมาใช้
ร้อยละ 22.3
  • กู้ หรือ หยิบยืม
ร้อยละ 16.4
  • อื่นๆ อาทิ พยายามหารายได้เสริม
    เพิ่มชั่วโมงทำงาน ฯลฯ
ร้อยละ 14.5
53.2
 
 
             3. วิธีรับมือกับราคาสินค้า ที่ปรับตัวสูงขึ้น ของประชาชน 5 อันดับแรก คือ  (เป็นคำถามปลายเปิด
                 ให้ผู้ตอบเป็นผู้ระบุเอง)

 
ร้อยละ
ประหยัดให้มากขึ้น
35.5
ซื้อของเท่าที่จำเป็น ซื้ออย่างมีเหตุผล
23.2
ใช้จ่ายน้อยลงโดยลดปริมาณหรือลดจำนวนในการซื้อลงจากปกติ
16.2
เลือกซื้อสินค้าประเภทเดียวกันหรือสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ ในราคาที่ถูกกว่า
5.1
ต้องทำงานหาเงินเพิ่ม หารายได้เสริม
4.4
 
 
             4. สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน คือ

 
ร้อยละ
ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น(น้ำมันเชื้อเพลิง, แก๊ส)
36.9
รัฐบาลไม่มีการกำหนดนโยบาย/ ควบคุมราคาสินค้าที่ชัดเจน
14.5
ต้นทุนสินค้ามีราคาสูงขึ้น
14.0
การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนป.ตรี 15,000 บาท
12.5
การบริหารงานอย่างผิดพลาดของรัฐบาล
6.7
การกักตุนสินค้า เพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาล
6.6
เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย
5.8
อื่นๆ อาทิ การผูกขาดตลาด วิวัฒนาการด้านการผลิตสินค้า ฯลฯ
3.0
 
 
             5. เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการบริหารจัดการเรื่องค่าครองชีพระหว่าง รัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์
                 ชิณวัตร กับรัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


 
ร้อยละ
สามารถบริหาร/จัดการค่าครองชีพได้ดีพอๆกัน
28.3
รัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ทำได้ดีกว่า
27.5
สามารถบริหาร/จัดการค่าครองชีพไม่ดีทั้ง 2 รัฐบาล
26.0
รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ทำได้ดีกว่า
18.2
 
 
             6. ความคิดเห็นต่อความเอาใจใส่กับการแก้ปัญหาค่าครองชีพ ของรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 
ร้อยละ
เอาใจใส่
( โดยระบุว่า เอาใจใส่ค่อนข้างมาก ร้อยละ 43.0 และเอาใจใส่มากที่สุด
  ร้อยละ 7.1 )
50.1
ไม่เอาใจใส่
( โดยระบุว่า เอาใจใส่ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 39.8 และไม่เอาใจใส่เลย
  ร้อยละ 10.1 )
49.9
 
 
             7. ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นในปัจจุบัน คือ

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
( โดยระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 30.8 และเชื่อมั่นมากที่สุด
   ร้อยละ 7.9 )
38.7
ไม่เชื่อมั่น
( โดยระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย ร้อยละ 41.5 และไม่เชื่อมั่นเลย
   ร้อยละ 19.8 )
61.3
 
 
             8. เรื่องที่ประชาชนต้องการเสนอแนะรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ มากที่สุด 5 อันดับแรก
                 คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
ให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงไปกว่านี้ และควบคุม
ราคา ให้เหมาะสมยุติธรรมกับประชาชน
29.3
ให้นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่มาดูปัญหาด้วยตนเอง ใส่ใจดูแลเรื่องปากท้อง
ของประชาชน ให้มากกว่านี้
17.3
เพิ่มเงินเดือนและค่าแรงขั้นต่ำโดยเร็วให้ทั่วถึงกันทั้งราชการและภาคเอกชน
15.8
ควบคุมราคาเชื้อเพลิง และพลังงาน ให้ถูกลงกว่านี้
14.8
ปรับราคาสินค้าต่างๆ ให้ถูกลง
11.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในประเด็นเกี่ยวกับ
ผลกระทบจากราคาสินค้าต่อค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบัน วิธีการปรับตัวในช่วงที่ราคาสินค้ามีทิศทางสูงขึ้น ตลอดจน
ความเอาใจใส่และความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาค่าครองชีพในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของ
ประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และ
ชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คันนายาว ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางคอแหลม บางซื่อ
บางบอน บางพลัด บางรัก บึ่งกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนครภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ลาดพร้าว สวนหลวง
สาทร และปริมณฑลได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,203 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.5 และเพศหญิงร้อยละ 50.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบ
เองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  20 - 22 มีนาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 มีนาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
596
49.5
             หญิง
607
50.5
รวม
1,203
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
298
24.8
             26 – 35 ปี
318
26.4
             36 – 45 ปี
287
23.9
             46 ปีขึ้นไป
300
24.9
รวม
1,203
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
812
67.5
             ปริญญาตรี
354
29.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
37
3.1
รวม
1,203
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสากิจ
113
9.4
             พนักงาน ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
325
27.0
             ค้าขาย ประกอบอาชีพส่วนตัว
344
28.6
             รับจ้างทั่วไป
194
16.1
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
78
6.5
             อื่นๆ เช่น นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
149
12.4
รวม
1,203
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776