หัวข้อ   “ ประเมินผลงาน 1 ปี รัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยในเดือนสิงหาคมนี้ รัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะบริหาร
งานครบ 1 ปี ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ประเมินผลงาน 1 ปี รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน
1,177 คน พบว่า
 
                 ประชาชนให้คะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 5.31 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น
จากผลการประเมินเมื่อตอนที่ทำงานครบ 6 เดือน 0.02 คะแนน
โดยได้คะแนน
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด (6.10 คะแนน)  แต่
ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด (4.75 คะแนน)
 
                 ส่วนคะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล ประชาชนให้
4.84 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลง จากการประเมินเมื่อตอน
ที่รัฐบาลทำงานครบ 6 เดือน 0.10 คะแนน โดยได้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด (5.32
คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด (4.47 คะแนน) โดยรัฐมนตรีที่มี
ผลงานเด่นชัดเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนมากที่สุดคือ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง (รองนายกรัฐมนตรี ดูแลสังคม
และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
ร้อยละ 22.3 รองลงมาคือ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ (รองนายกรัฐมนตรี และ
รมว.กระทรวงมหาดไทย) ร้อยละ 5.1 และนายธีระ วงศ์สมุทร (รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ร้อยละ 3.3  ขณะที่
ร้อยละ 29.8 เห็นว่าไม่มีรัฐมนตรีคนใดเลยที่มีผลงานเด่นชัด
 
                 สำหรับผลงานและโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ การปราบปรามยาเสพติด
(ร้อยละ 27.9)
  การบริหารจัดการน้ำ ขุดลอกคูคลอง และการเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ร้อยละ 15.4)  การกำหนด
ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท (ร้อยละ 13.7) ตามลำดับ
 
                  ด้านคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน
และพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 5.28 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.37 คะแนน ในขณะที่พรรค
ประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้าน ได้ 3.55 คะแนน
และพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ 3.39 คะแนน จากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน
 
                  ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ ร้อยละ 70.4 ต้องการให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเดินหน้าทำงานต่อไป
รองลงมา ร้อยละ 9.8 ต้องการให้ปรับคณะรัฐมนตรี  และร้อยละ 5.2 ต้องการให้นายกฯ ลาออก
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
                 พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 5.31 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน


 
ครบ 6 เดือน
(คะแนนที่ได้)
ครบ 1 ปี
(คะแนนที่ได้)
เพิ่มขึ้น/
ลดลง
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้
ปัญหาของประเทศ
6.06
6.10
+ 0.04
ความซื่อสัตย์สุจริต
5.48
5.51
+ 0.03
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือ
โครงการใหม่ๆ
5.24
5.28
+ 0.04
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของ
ประเทศชาติ
5.27
5.15
- 0.12
ความสามารถในการบริหารจัดการตาม
อำนาจหน้าที่ ที่มี
5.00
5.05
+ 0.05
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ
4.64
4.75
+ 0.11
คะแนนเฉลี่ย
5.29
5.31
+ 0.02

               หมายเหตุ   - การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                                แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             2. คะแนนความพึงพอใจ ผลงาน 1 ปี ของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่าได้คะแนน
                 เฉลี่ย 4.84 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน


 
ครบ 6 เดือน
(คะแนนที่ได้)
ครบ 1 ปี
(คะแนนที่ได้)
เพิ่มขึ้น/
ลดลง
ด้านการต่างประเทศ
5.16
5.32
+ 0.16
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
4.94
4.88
- 0.06
ด้านความมั่นคงของประเทศ
4.95
4.80
- 0.15
ด้านเศรษฐกิจ
4.82
4.73
- 0.09
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับ
ใช้กฎหมาย
4.81
4.47
- 0.34
คะแนนเฉลี่ย
4.94
4.84
- 0.10
 
 
             3. รัฐมนตรีที่มีผลงานเด่นชัดเป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง (รองนายกรัฐมนตรี ดูแลสังคมและกำกับดูแล
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
22.3
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ (รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงมหาดไทย)
5.1
นายธีระ วงศ์สมุทร (รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
3.3
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง (รองนายกฯ และรมว.กระทรวงการคลัง)
2.9
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช (รมว.กระทรวงศึกษาธิการ)่
2.6
ไม่มีเลย
29.8
 
 
             4. ผลงานหรือโครงการของรัฐบาลในรอบ 1 ปี ที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
การปราบปรามยาเสพติด
27.9
การบริหารจัดการน้ำ ขุดลอกคูคลอง และการเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม
15.4
การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท
13.7
การรับจำนำข้าวเปลือกและการประกันพืชผลทางการเกษตร
7.3
การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท สำหรับวุฒิปริญญาตรี
6.6
 
 
             5. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำ
                 ฝ่ายค้านและ พรรคร่วมฝ่ายค้าน จากคะแนนเต็ม 10

 
ครบ 6 เดือน
(คะแนนที่ได้)
ครบ 1 ปี
(คะแนนที่ได้)
เพิ่มขึ้น/
ลดลง
พรรคแกนนำรัฐบาล
( พรรคเพื่อไทย )
5.42
5.28
- 0.14
พรรคร่วมรัฐบาล
( พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล
  พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
  พรรคมหาชน )
4.39
4.37
- 0.02
พรรคแกนนำฝ่ายค้าน
( พรรคประชาธิปัตย์ )
3.88
3.55
- 0.33
พรรคร่วมฝ่ายค้าน
( พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย
  พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ )
3.80
3.39
- 0.41

               หมายเหตุ   - การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                                แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             6. สิ่งที่ต้องการให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำมากที่สุดในเวลานี้ คือ

 
ร้อยละ
เดินหน้าทำงานต่อไป
70.4
ปรับคณะรัฐมนตรี
9.8
ลาออก
5.2
ยุบสภา
4.9
อื่นๆ อาทิ ให้ยุติธรรม เป็นกลาง ทำงานเป็นตัวของตัวเอง นึกถึงประโยชน์ของ
ประชาชนเป็นที่ตั้ง ฯลฯ
9.7
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับการประเมินผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อทำงานมาครบ 1ปี ตลอดจนผลงานหรือโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบ รวมถึง
ให้คะแนนการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีและการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ทางการเมือง เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ด้วยการ
สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,177 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 49.6  และเพศหญิงร้อยละ 50.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และ
คำถามปลายเปิด (Open Form) ให้ผู้ตอบระบุเองโดยอิสระ จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  23 - 27 กรกฎาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 6 สิงหาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
584
49.6
             หญิง
593
50.4
รวม
1,177
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
235
20.0
             26 – 35 ปี
346
29.4
             36 – 45 ปี
304
25.8
             46 ปีขึ้นไป
292
24.8
รวม
1,177
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
699
59.4
             ปริญญาตรี
403
34.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
75
6.4
รวม
1,177
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / รัฐวิสากิจ
191
16.2
             พนักงานบริษัทเอกชน
257
21.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
310
26.3
             รับจ้างทั่วไป
182
15.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
59
5.0
             เกษตรกร
39
3.3
             นักศึกษา
97
8.2
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
42
3.7
รวม
1,177
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776