analyticstracking
หัวข้อ   “ กินเจ...ยุคไทยแลนด์ 4.0
                  เทศกาลกินเจปีนี้ ผู้ที่กินเจส่วนใหญ่ร้อยละ 80.6 ให้เหตุผลว่ากินเจเพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์
        โดยร้อยละ 75.5 ระบุว่า จะใช้วิธีหาซื้ออาหารเจจากร้านที่ปรุงสำเร็จตามตลาด/ร้านอาหารที่ปักธงเจ ทั้งนี้
        กิจกรรมที่ผู้ที่กินเจส่วนใหญ่ร้อยละ 62.0 จะปฏิบัติในช่วงเทศกาลกิจเจ คือ ทำบุญทำทาน
                  ส่วนมุมมองเกี่ยวกับเทศกาลกินเจในยุคไทยแลนด์ 4.0 ส่วนใหญ่ระบุว่าหาซื้อได้สะดวกมากขึ้น
        มีทั้งสั่งonline/ในร้านสะดวกซื้อและเหมาะสมกับเทรนด์ (trend) การดูแลสุขภาพ
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เนื่องด้วยในวันที่ 9-17 ตุลาคมนี้ เป็นช่วงเทศกาลกินเจ กรุงเทพโพลล์
โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
เรื่อง “กินเจ...ยุคไทยแลนด์ 4.0” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป
ทั้งผู้ที่กินเจและไม่กินเจ จำนวน 1,200 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
 
                  เหตุผลของผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.6 ระบุว่า กินเจเพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์ รองลงมาร้อยละ 73.3 ระบุว่า กินเพื่อสุขภาพและ
ร้อยละ 66.9 ระบุว่า เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาทุกปี ส่วนเหตุผลของผู้ที่ไม่กินเจ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.9 ระบุว่าปกติไม่กินอยู่แล้ว/ไม่ชอบ/ไม่อร่อย
รองลงมา
ร้อยละ 52.7 ระบุว่า ในครอบครัวไม่มีใครกิน และร้อยละ 37.8 ระบุว่าหาซื้อยาก ไม่สะดวก
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ ว่ามีวิธีจัดหา/ซื้ออาหารเจ
อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.5 ระบุว่า หาซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จตามตลาด/ร้าน
อาหารที่ปักธงเจ
รองลงมาร้อยละ 45.6 ระบุว่า ทำอาหารเจกินเองที่บ้าน และร้อยละ
23.2 ระบุว่า จะซื้ออาหารเจแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ
 
                 สำหรับกิจกรรมที่ผู้กินเจส่วนใหญ่จะปฏิบัติ ในช่วงเทศกาลกินเจร้อยละ 62.0 คือ ทำบุญ ทำทาน
รองลงมาร้อยละ 40.3 คือ สวดมนต์ รักษาศีล 5 และร้อยละ 28.7 จะไปไหว้เจ้าตามศาลเจ้าต่างๆ
 
                  สำหรับมุมมองเกี่ยวกับเทศกาลกินเจในยุคไทยแลนด์ 4.0 ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.6 ระบุว่าหาซื้อได้
สะดวกมากขึ้นมีทั้งสั่งonline/ในร้านสะดวกซื้อ
รองลงมาร้อยละ 52.6 ระบุว่าเหมาะสมกับเทรนด์ (trend) การดูแล
สุขภาพ และร้อยละ 42.1 ระบุว่า หลายหน่วยงานมีการจัดกิจกรรม/อีเว้นส่งเสริมการกินเจมากขึ้น
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. เหตุผลที่จะกินเจและไม่กินเจในปัจจุบัน
                  - เหตุผลของผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์
80.6
กินเพื่อสุขภาพ
73.3
เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาทุกปี
66.9
กินให้เข้ากับเทศกาล
45.1
คนในครอบครัวกิน
30.5
อยากลองกินเจดูบ้าง/กินครั้งแรก
3.3
กินเพื่อแก้บน
1.6
อื่นๆ อาทิ ขายอาหารเจทุกปี
3.3

                  - เหตุผลของผู้ที่จะไม่กินเจในปีนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ปกติไม่กินอยู่แล้ว/ไม่ชอบ/ไม่อร่อย
75.9
ครอบครัวไม่มีใครกินเจ
52.7
หาซื้อยาก/ไม่สะดวก
37.8
อาหารเจมีแป้งและน้ำมันเยอะ
16.3
กลัวไม่มีแรง/หิว/ไม่อยู่ท้อง
12.8
ราคาสูงกว่าอาหารทั่วไป
10.3
อื่นๆ อาทิ ต้องให้นมบุตร มีปัญหาสุขภาพอาชีพและการทำงานไม่เอื้ออำนวย
      ไม่มีเชื้อจีน กลัวสารอาหารไม่ครบ ฯลฯ
14.1
 
 
             2. วิธีจัดหา/ซื้ออาหารเจสำหรับผู้ที่กินเจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
ซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จตามตลาด/ร้านอาหารที่ปักธงเจ
75.5
ทำกินเองที่บ้าน
45.6
ซื้ออาหารเจแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ
23.2
ซื้อจากห้างสรรพสินค้า
16.1
สั่งแบบ online/ delivery
1.2
อื่นๆ ไปกินที่โรงเจ โรงทาน
9.3
 
 
             3. กิจกรรมที่ท่านจะทำ/ปฏิบัติ ในช่วงเทศกาลกินเจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
ทำบุญทำทาน
62.0
สวดมนต์ รักษาศีล 5
40.3
ไปไหว้เจ้า/เจ้าแม่กวนอิมที่ศาลเจ้าต่างๆ
28.7
ไปร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ (เช่น เยาวราช ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา)
12.0
ไปชม/ไปร่วมพิธีการทรงเจ้าการลุยไฟ
5.0
กินเจอย่างเดียว
39.2
 
 
             4.มุมมองเกี่ยวกับเทศกาลกินเจในยุคไทยแลนด์4.0 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
หาซื้อสะดวกมากขึ้นมีทั้งสั่งonline /ในร้านสะดวกซื้อ
64.6
เหมาะสมกับเทรนด์ (trend) การดูแลสุขภาพ
52.6
หลายหน่วยงานมีการจัดกิจกรรม/อีเว้นส่งเสริมการกินเจมากขึ้น
42.1
คิดว่าราคาอาหารเจสูงขึ้นจากปีก่อนๆ
32.7
มีความไม่มั่นใจในส่วนผสมที่ใช้ปรุงอาหารตามร้านต่างๆกลัวมีเนื้อสัตว์เจือปน
20.6
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อทราบเหตุผลของผู้ที่กินเจและไม่กินเจในช่วงเทศกาลกินเจที่จะถึงนี้ วิธีซื้ออาหารเจในปัจจุบัน
ตลอดจนมุมมองของการการจัดหา/ซื้ออาหารเจในยุคไทยแลนด์ 4.0 และกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลกินเจ
เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนนั้นนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 1-2 ตุลาคม 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 6 ตุลาคม 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
570
47.5
             หญิง
630
52.5
รวม
1,200
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
67
5.6
             26 – 35 ปี
145
12.1
             36 – 45 ปี
306
25.5
             46 ปีขึ้นไป
682
56.8
รวม
1,200
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
749
62.4
             ปริญญาตรี
361
30.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
90
7.5
รวม
1,200
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
144
12.0
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
282
23.5
             ค้าขาย/ ประกอบอาชีพส่วนตัว
422
35.2
             รับจ้างทั่วไป
70
5.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
244
20.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
24
2.0
             อื่นๆ เช่น ว่างงาน อิสระ
14
1.2
รวม
1,200
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776