analyticstracking
หัวข้อ   “ ลอยกระทงปลอดภัย ใส่ใจสายน้ำ
                  เทศกาลลอยกระทง ปีนี้ “ความปลอดภัย” ที่ประชาชนอยากเห็น มากที่สุดคือ การงดดื่มสุรา
   และของมึนเมาทุกชนิดเพื่อลดผลกระทบจากการดื่มสุรา เช่นอุบัติเหตุ และการทะเลาะวิวาท รองลงมาคือ
   การใช้กระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่ย่อยสลายง่าย ปลอดภัยต่อสายน้ำ สิ่งแวดล้อม
                   ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ไม่เห็นด้วย กับแนวคิด #งดลอยกระทง หรือ เก็บขยะ
   ในแม่น้ำลำคลอง แทนการลอยกระทง เพราะเป็นประเพณีของไทยที่ทำมาแต่เดิมควรอนุรักษ์
                  โดยประชาชนร้อยละ 43.2 ระบุว่าจะใช้วิธีลอยกระทงร่วมกัน ครอบครัวละ 1 กระทง และเลือก
   ใช้กระทงที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ ที่ย่อยสลายง่าย
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 นี้ตรงกับวันลอยกระทง กรุงเทพโพลล์
โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ลอยกระทง
ปลอดภัย ใส่ใจสายน้ำ”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน
1,213 คน พบว่า
 
                 ในงานเทศกาลลอยกระทง 2562 นี้ “ความปลอดภัย” ที่ประชาชน
อยากเห็น มากที่สุดร้อยละ 31.7 คือ การงดดื่มสุรา และของมึนเมาทุกชนิดเพื่อ
ลดผลกระทบจากการดื่มสุรา อาทิ อุบัติเหตุ
รองลงมา ร้อยละ 23.8 คือ การใช้กระทง
ที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่ย่อยสลายง่าย ปลอดภัยต่อสายน้ำ สิ่งแวดล้อม และ ร้อยละ 20.0 คือ
การงดเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ โคมลอย โคมไฟ ในที่ชุมชนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเพลิงไหม้
 
                  สำหรับความเห็น ต่อแนวคิด #งดลอยกระทง หรือ เก็บขยะในแม่น้ำ
ลำคลอง แทนการลอยกระทงนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9
ไม่เห็นด้วย โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 51.3 ให้เหตุผลว่า เป็นประเพณีของไทยที่
ทำมาแต่เดิมควรอนุรักษ์ไว้
รองลงมาร้อยละ 7.1 ให้เหตุผลว่า เป็นเอกลักษณ์ไทยที่
ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดีงาม และร้อยละ 3.3 ให้เหตุผลว่า งานลอยกระทง 1 ปี มีเพียง
หนเดียว ขณะที่ประชาชนร้อยละ 36.1 เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยในจำนวนนี้
ร้อยละ 20.3 ให้เหตุผลว่า จะได้ไม่เป็นการเพิ่มขยะในแม่น้ำลำคลอง
รองลงมา
ร้อยละ 13.6 ให้เหตุผลว่า การทำให้แม่น้ำ ลำคลอง สะอาด เป็นการตอบแทนคุณ
พระแม่คงคา และร้อยละ 2.0 ให้เหตุผลว่า ปัจจุบันสามารถลอยกระทงออนไลน์ผ่านเว็บ
/app.ได้
 
                 เมื่อถามว่า “ในปีนี้จะออกไปเที่ยวงานลอยกระทงหรือไม่” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 43.2 ระบุว่า
จะออกไปเที่ยวงานโดยลอยกระทงร่วมกัน (ครอบครัวละ 1 กระทง)
รองลงมาร้อยละ 12.3 ระบุว่า จะออกไปเที่ยวงาน
โดยจะลอยกระทงคนละใบ และร้อยละ 7.1 ระบุว่า จะออกไปเที่ยวงานแต่ในปีนี้จะไม่ลอยกระทง ขณะที่ประชาชนร้อยละ
37.4 ระบุว่าจะไม่ออกไปเที่ยวงานลอยกระทง
โดยให้เหตุผลว่า คนเยอะ วุ่นวาย ติดงาน/ไม่ตรงวันหยุด และไม่ได้ให้ความ
สำคัญกับการลอยกระทง
 
                 ทั้งนี้ เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะลอยกระทง ว่าจะเลือกซื้อหรือใช้กระทงแบบใด พบว่าส่วนใหญ่
ร้อยละ 49.4 ระบุว่า จะประดิษฐ์กระทงเองโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ
รองลงมาร้อยละ 47.0 ระบุว่า จะซื้อกระทง
ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น และร้อยละ 2.2 ระบุว่า จะซื้อกระทงที่เน้น
ความสวยงามมาก่อน
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. “ความปลอดภัย” ที่ประชาชนอยากเห็น ในงานเทศกาลลอยกระทง 2562 นี้ มากที่สุด
                 
                 
 
ร้อยละ
งดดื่มสุรา และของมึนเมาทุกชนิดเพื่อลดผลกระทบจากการดื่มสุรา
อาทิ อุบัติเหตุ
31.7
ใช้กระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่ย่อยสลายง่าย ปลอดภัยต่อสายน้ำ สิ่งแวดล้อม
23.8
งดเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ โคมลอย โคมไฟ ในที่ชุมชนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเพลิงไหม้
20.0
จัดงานรื่นเริงสนุกสนานอย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัยไม่ทะเลาะวิวาท ไม่ทำผิดศีลธรรม
16.7
ผู้คนแต่งกายไปเที่ยวงานสวมเครื่องแต่งกายรัดกุม ปลอดภัยไม่ใส่ชุดล่อแหลม
7.4
อื่น ๆ อาทิ อุบัติเหตุจากการพลัดตกน้ำของเด็กๆ ฯลฯ
0.4
 
 
             2. ความเห็น ต่อแนวคิด #งดลอยกระทง หรือ เก็บขยะในแม่น้ำลำคลอง แทนการลอยกระทง

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า
เป็นประเพณีของไทยที่ทำมาแต่เดิมควรอนุรักษ์ไว้ ร้อยละ 51.3
  เอกลักษณ์ไทยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดีงาม ร้อยละ 7.1
  งานลอยกระทง 1 ปี มีเพียงหนเดียว ร้อยละ 3.3
  เป็นกิจกรรมที่ให้คนในครอบครัวได้ทำร่วมกัน ร้อยละ 2.2
63.9
ไม่ได้คาดหวัง
โดยให้เหตุผลว่า
จะได้ไม่เป็นการเพิ่มขยะในแม่น้ำลำคลอง ร้อยละ 20.3
  การทำให้แม่น้ำ ลำคลอง สะอาด เป็นการตอบแทนคุณ
พระแม่คงคา
ร้อยละ 13.6

  ปัจจุบันสามารถลอยกระทงออนไลน์ผ่านเว็บ/app.ได้ ร้อยละ 2.0
  อื่น ๆ อาทิ ลดโลกร้อน ป้องกันอุบัติเหตุทุกด้าน ฯลฯ ร้อยละ 0.2
36.1
 
 
             3. เมื่อถามว่า “ในปีนี้จะออกไปเที่ยวงานลอยกระทงหรือไม่”

 
ร้อยละ
ออกไปเที่ยวงานโดยลอยกระทงร่วมกัน
(ครอบครัวละ 1 กระทง /กลุ่มละ 1 กระทง/คู่ละ1 กระทง)
43.2
ออกไปเที่ยวงานโดยจะลอยกระทงคนละใบ
12.3
ออกไปเที่ยวงานแต่ในปีนี้จะไม่ลอยกระทง
7.1
ไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า
คนเยอะ วุ่นวาย ร้อยละ 17.9
  ติดงาน/ไม่ตรงวันหยุด ร้อยละ 11.9
  ไม่ได้ให้ความสำคัญ ร้อยละ 5.6
  ลอยกระทงออนไลน์แทน ร้อยละ 1.1
  อื่นๆ อาทิ สุขภาพไม่ดี แม่น้ำน้ำแห้ง กลัวไม่ปลอดภัย ฯลฯ ร้อยละ 0.9
37.4
 
 
             4. กระทงที่จะลอยในปีนี้จะเลือกซื้อหรือใช้กระทงแบบใด (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะลอยกระทง)
                 

 
ร้อยละ
ประดิษฐ์กระทงเองโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ
49.4
ซื้อกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
47.0
ซื้อกระทงที่เน้นความสวยงามมาก่อน
2.2
กระทงอะไรก็ได้ที่หาซื้อได้สะดวก
1.1
เน้นกระทงที่ราคาถูก
0.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทงในปีนี้ ในประเด็นต่างๆ อาทิ
การออกไปลอยกระทง การเลือกวัสดุที่ใช้ทำกระทง การดูแลความปลอดภัย ตลอดจนความเห็นต่อแนวคิดการงดลอยกระทง
เพื่อลดขยะในแม่น้ำลำคลอง เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 6 - 7 พฤศจิกายน 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 พฤศจิกายน 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
578
47.7
             หญิง
635
52.3
รวม
1,213
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
127
10.5
             31 – 40 ปี
221
18.2
             41 – 50 ปี
309
25.5
             51 – 60 ปี
312
25.7
             61 ปีขึ้นไป
244
20.1
รวม
1,213
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
737
60.7
             ปริญญาตรี
367
30.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
109
9.0
รวม
1,213
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
157
12.9
             ลูกจ้างเอกชน
311
25.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
376
31.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
58
4.8
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
257
21.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
31
2.6
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
22
1.8
รวม
1,213
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776