analyticstracking
หัวข้อ   “ วิกฤตการณ์ ตามหาหน้ากากอนามัย
                ประชาชนร้อยละ 42.7 ระบุยังหาซื้อหน้ากากอนามัยไม่ได้เลย และร้อยละ 23.2 ระบุว่าหาซื้อได้ยาก
        ถึงยากที่สุด โดยร้อยละ 58.0 เห็นว่าวิธีจัดการปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน โดยภาครัฐที่ทำอยู่นั้น
        อาจเกิดการกักตุนหน้ากากอนามัย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทุนเก็งกำไร
                ทั้งนี้หากขาดแคลนหน้ากากอนามัยประชาชนกังวลว่าจะกระทบต่อทางการแพทย์ สาธารณสุข
        การรักษาพยาบาล สูงที่สุด โดยประชาชนร้อยละ 56.4 ระบุว่ารัฐบาลควรเปลี่ยนให้ผู้มีความรู้ความสามารถ
        มาจัดการเรื่องนี้แทน และร้อยละ52.6 ระบุว่าลงโทษให้หนักกับผู้กักตุนหน้ากากอนามัย
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “วิกฤตการณ์ ตามหาหน้ากากอนามัย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน
จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,199 คน พบว่า
 
                  ประชาชนร้อยละ 42.7 ระบุว่าปัจจุบันหาซื้อหน้ากากอนามัยไม่
ได้เลย
รองลงมาร้อยละ 23.2 ระบุว่า หาซื้อได้ยากถึงยากที่สุด ต้องตระเวนหาหลายร้าน
หลายจุด และร้อยละ 14.8 ระบุว่าพอหาซื้อได้บ้าง ต้องซื้อ ณ จุด/ร้าน ที่รัฐประกาศขาย
 
                  ส่วนความเห็นต่อการจัดการปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน โดย
ภาครัฐ นั้น ประชาชนร้อยละ 58.0 เห็นว่า อาจเกิดการกักตุนหน้ากากอนามัย เพื่อ
เอื้อประโยชน์ให้นายทุนเก็งกำไร
รองลงมาร้อยละ 53.8 เห็นว่า ขาดการกระจายสินค้า
ไปยังร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งต่างๆ ทั่วประเทศ และร้อยละ 32.3 เห็นว่า ระบบการจัดการ
อาจกระทบต่อการสาธารณสุข / การรักษาทางการแพทย์
 
                 ทั้งนี้เมื่อให้วัดระดับความกังวลถึงผลกระทบต่างๆ หากขาดแคลนหน้ากากอนามัย จากเต็ม 5 พบว่า ประชาชน
กังวลว่าจะกระทบต่อการแพทย์ สาธารณสุข การรักษาพยาบาล สูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 ซึ่งอยู่ใน
ระดับ “มาก”
รองลงมากังวลว่าจะส่งผลกระทบให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 มากขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
3.83 ซึ่งอยู่ในระดับ “มาก” และ จะส่งผลกระทบให้หน้ากากอนามัยมีราคาสูง/หาซื้อไม่ได้/ผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึงโดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ซึ่งอยู่ในระดับ “มาก”
 
                 สำหรับสิ่งที่รัฐบาลควรแสดงบทบาทต่อแผนการจัดการหน้ากากอนามัย พบว่าประชาชนร้อยละ 56.4
ระบุว่ารัฐบาลควรปรับเปลี่ยนให้ผู้มีความรู้ความสามารถมาบริหารจัดการแทน
รองลงมาร้อยละ 52.6 ระบุว่าให้ลงโทษ
ผู้กักตุนหน้ากากอนามัยด้วยโทษสถานหนัก และร้อยละ 45.4 ระบุว่านายกรัฐมนตรีควรลงมาดูและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
ไม่ควรเชื่อเพียงการรายงาน
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ปัจจุบันสามารถหาซื้อหน้ากากอนามัยได้หรือไม่ อย่างไร
                 

 
ร้อยละ
หาซื้อไม่ได้เลย
42.7
หาซื้อได้ยาก-ยากที่สุด ต้องตระเวนหาหลายร้าน หลายจุด
23.2
หาซื้อได้บ้าง ต้องซื้อ ณ จุด/ร้าน ที่รัฐประกาศขาย
14.8
หาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายยาใกล้บ้าน ร้านค้าทั่วไป และซื้อผ่านออนไลน์
19.3
 
 
             2. ความเห็นต่อการจัดการ ปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน โดยภาครัฐ (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อาจเกิดการกักตุนหน้ากากอนามัย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทุนเก็งกำไร
58.0
ขาดการกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งต่างๆ ทั่วประเทศ
53.8
ระบบการจัดการ กระจายสินค้ากระทบต่อการสาธารณสุข / การรักษาทางการแพทย์
32.3
เป็นการผูกขาดการจัดจำหน่าย
23.0
มีการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ
13.7
รัฐควบคุมโรงงาน การผลิตได้อย่างรอบคอบเป็นระบบ
9.3
 
 
             3. ระดับความกังวลถึงผลกระทบต่างๆ ต่อการขาดแคลนหน้ากากอนามัย

ผลกระทบ
ระดับความกังวล (เต็ม 5 )
การแพทย์ สาธารณสุข การรักษาพยาบาล
3.87
มาก
เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 /การแพร่ระบาดมากขึ้น
3.83
มาก
หน้ากากอนามัยมีราคาสูง/หาซื้อไม่ได้/ผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึง
3.80
มาก
การกระจายสินค้าไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ทั่วถึง
3.77
มาก
ประชาชนหวาด วิตก เกิดความเครียด เพราะไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน
3.74
มาก
 
 
             4. สิ่งที่รัฐบาลควรแสดงบทบาทต่อแผนการจัดการหน้ากากอนามัย (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
รัฐบาลควรปรับเปลี่ยนให้ผู้มีความรู้ความสามารถมาบริหารจัดการ แก้ไขปัญหาหน้ากากอนามัยอย่างมีประสิทธิภาพแทน
56.4
ลงโทษผู้กักตุนหน้ากากอนามัยด้วยโทษสถานหนัก เพราะมีส่วนทำให้ประชาชนที่หาซื้อไม่ได้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
52.6
นายกรัฐมนตรีควรลงมาดูและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ควรเชื่อเพียงรายงานว่าหน้ากากอนามัยมีเพียงพอ
45.4
กดดันให้รัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมแสดงความรับผิดชอบ
28.9
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับเรื่องหน้ากากอนามัยที่ใช้ป้องการการติดเชื้อ COVID-19
ในประเด็นการหาซื้อ บทบาทและการบริหารจัดการของรัฐบาลในเรื่องหน้ากากอนามัย ตลอดจนความกังวลถึงผลกระทบต่างๆ
ที่อาจเกิดขึ้นหากขาดแคลนหน้ากากอนามัยเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 10 - 11 มีนาคม 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 14 มีนาคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
582
48.5
             หญิง
617
51.5
รวม
1,199
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
95
7.9
             31 – 40 ปี
208
17.3
             41 – 50 ปี
328
27.4
             51 – 60 ปี
326
27.2
             61 ปีขึ้นไป
242
20.2
รวม
1,199
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
670
55.9
             ปริญญาตรี
410
34.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
119
9.9
รวม
1,199
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
180
15.0
             ลูกจ้างเอกชน
318
26.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
397
33.2
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
54
4.5
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
228
19.0
             นักเรียน/ นักศึกษา
10
0.8
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
10
0.8
รวม
1,199
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898